ฮุก (ตำตัดสิน คำประกาศ) ของฮากิมในการประกาศวันแรกของเดือน
ฮุก (ตำตัดสิน คำประกาศ) ของฮากิมในการประกาศวันแรกของเดือน
43. มีคำกล่าวว่า มุจญฺตะฮิดต้องฮุกุ่มเรื่องการเห็นดวงจันทร์ เพื่อทุกคนจะได้ปฏิบัติตาม จุดประสงค์หมายถึงอะไร? และครอบคุมเหนือใครบ้าง
คำตอบ จุดประสงค์คือ การประกาศทัศนะของตน เกี่ยวกับวันแรกของเดือน แต่เรื่องการเห็นดวงจันทร์ ฮุกุ่มไม่ได้อยู่กับมัรญิอฺ วัตถุประสงค์ของฮากิม หมายถึงมุจญฺตะฮิดญามิอุชชะรออิฏ (มุจญฺตะฮิดญามิอุชชะรออิฏ นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษทั้งด้านศาสนจักร และอาณาจักร) ซึ่งอันดับแรกเป็นหน้าที่ของ วิลยะตุลฟะกีฮฺ
การปฏิบัติตามวิลายะตุลฟะกีฮฺเรื่องการเห็นดวงจันทร์
44. ถ้าวะลียุลอัมริมุสลิมีนประกาศว่า พรุ่งนี้เป็นวันอีด และวิทยุโทรทัศน์ก็ประกาศว่า หลายเมืองเห็นดวงจันทร์ ดังนั้น ถือว่าเป็นวันอีดสำหรับประชาชนทุกคนในประเทศหรือไม่? หรือเฉพาะบางเมืองที่เห็นดวงจันทร์ และเมืองต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในเส้นขอบฟ้าเดียวกันเท่าน้นเป็นวันอีด?
คำตอบ ฮุกมฺของฮากิม ครอบคุมทั้งประเทศ ฮุกมฺของฮากิมเป็นชัรอียฺ เป็นที่เชื่อถือสำหรับคนทั้งประเทศ
45.ดังที่ทราบกันดีว่า ฟุกะฮาที่ยิ่งใหญ่ส่วนมาก พิสูจน์วันแรกของเดือนเชาวาลด้วย 5 วิธี ซึ่งอธิบายไว้ในหนังสือ ริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล แต่การพิสูจน์ของฮากิมชัรอฺ มิได้เหมือนกับพวกเขา ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้ศรัทธาส่วนใหญ่ พิสูจน์วันแรกของเดือนเชาวาล และละศีลอดด้วยการสอบถามจากมัรญิอฺของตนได้อย่างไร?
คำตอบ ตราบที่ฮากิมชัรอฺ ยังไม่ได้ประกาศการเห็นดวงจันทร์ เพียงแค่เขาเห็นดวงจันทร์ ไม่เพียงพอสำหรับการให้คนอื่นปฏิบัติตามได้ เว้นเสียแต่ว่ามีความมั่นใจว่าเห็นดวงจันทร์จริง
แจ้งการเห็นดวงจันทร์ให้ฮากิมชัรอฺ
46. ถ้าบุคคลหนึ่งเห็นดวงจันทร์ และทราบดีว่าการเห็นดวงจันทร์ สำหรับฮากิมชัรอฺ ไม่อาจเป็นไปได้ เป็นหน้าที่ของเขาหรือไม่ ที่ต้องแจ้งการเห็นดวงจันทร์กับฮากิม?
คำตอบ ไม่เป็นวาญิบที่เขาต้องแจ้ง เว้นเสียแต่ว่าการไม่แจ้ง จะก่อให้เกิดความเสียหาย
ฮากิมกับผู้ปฏิบัติตามมีเส้นขอบฟ้าต่างกัน
47. ฮุกมฺซึ่งฮากิมได้ประกาศเป็นวันแรกของเดือน สำหรับบุคคลซึ่ง ที่อยู่อาศัยของเขากับมุจญฺตะฮิดท่านนั้น มีเส้นขอบฟ้าต่างกันมาก จำเป็นต้องปฏิบิติตามหรือไม่?
คำตอบ ฮุกมฺซึ่งฮากิมได้ประกาศสำหรับประเทศ ที่มีการเห็นดวงจันทร์ในประเทศเขา กับความเป็นไปได้ที่จะเห็นในประเทศอื่น ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่ต้องปฏิบัติตาม
เนียตศีลอด
วิธีเนียตศีลอด
48. การถือศีลอดก็เหมือนกับอิบาดะฮฺอื่นๆ ที่ต้องเนียตด้วย หมายถึงการที่บุคคลหนึ่ง หลีกเลี่ยงการกิน การดื่ม และสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล เพื่อปฏิบัติตามคำบัญชาของ อัลลอฮฺ (ซบ.) แค่เขาตัดสินใจแน่วแน่เพียงเท่านี้ ถือว่าเป็นการเพียงพอ โดยไม่จำเป็นต้องพูดออกมา
เนียตทุกวันหรือเนียตควบคุมทั้งเดือน
49. ศีลอดเดือนรอมฎอน จำเป็นต้องเนียตทุกวัน หรือเนียตเพียงครั้งเดียวในวันแรกของเดือน ก็เพียงพอ?
คำตอบ ถ้าในคืนแรกของเดือนรอมฎอน เนียตว่า จะถือศีลอดตลอดทั้งเดือน ถือว่าเป็นการเพียงพอ แต่ดีกว่า (อิฮฺติยาฏมุสตะฮับ คำสั่งที่ไม่ใช่คำวินิจฉัยของนักปราชญ์ทางศาสนา ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติ) ทุกคืนของเดือนรอมฎอน ให้เนียตว่าจะถือศีลอดวันพรุ่งนี้
วาญิบของศีลอดอยู่ที่เนียต
50. มารดาของข้าพเจ้าเนียตว่า จะถือศีลอดคลอดทั้งเดือน แต่หลังจาก 7 วันผ่านไป ไม่สบาย อยากทราบว่าหน้าที่ของท่านคืออะไร?
คำตอบ เนียตเพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้สิ่งใดเป็นพันธะแก่เขาได้ ด้วยเหตุนี้ ตามคำพูดที่กล่าวมา ศีลอดไม่วาญิบสำหรับเขา
เนียตเอรติกาซี (เนียตเอรติกาซี หมายถึงการคิดอยู่ในใจ) เพียงพอแล้วสำหรับศีลอด
51. บุคคลหนึ่งเนียตถือศีลอดในตอนกลางคืน และได้นอนหลับไป จนกระทั่งอะซานซุบฮฺผ่านไป เมื่อตื่นขึ้นมาลืมไปว่าได้เนียตถือศีลอด หลังจากดื่มน้ำแล้ว เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า เมื่อคืนเนียตถือศีลอดไว้ กรณีนี้ถือว่ศีลอดถูกต้องหรือไม่?
คำตอบ การกระทำโดยไม่ตั้งใจ หรือลืม ไม่ก่อความเสียหายอันใด แก่ความถูกต้องของศีลอด ถ้าเนียตก่อนหน้านี้ – แม้ว่าจะเป็นเนียตเอรติกาซี –ก็ตาม ถือว่าเป็นการเพียงพอ
ช่วงเวลาเนียตถือศีลอด
ช่วงเวลาการเนียติถือศีลอดวาญิบต่างๆ
52. ช่วงเวลาการเนียตถือศีลอดวาญิบต่างๆ โดยทั่วไปแล้วเป็นช่วงไหน?
คำตอบ เนียตเพื่อถือศีลอดเดือนรอมฎอน หรือศีลอดนะซัร (ศีลอดนะซัร หมายถึงการบนบานว่าจะถือศีลอด เพื่อให้การงานหรือความตั้งใจบางอย่างสำเร็จลุล่วง เช่น นะซัรว่า ถ้านาย ก. หายป่วจะถือศีลอด 3 วัน) แน่นอน เริ่มตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงอะซานซุบฮฺ แต่ถ้าเป็นศีลอดวาญิบ ที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน (เช่น ศีลอดกะฎอ หรือนะซัรทั่วไป) เริ่มตั้งแต่หั่วค่ำ จนถึงอะซานซุฮรฺของอีกวัน
ช่วงเวลาการเนียติถือศีลอดมุสตะฮับ
53. ศีลอดมุสตะฮับ ไม่ว่าจะนึกได้ในช่วงใดของวันว่าจะถือศีลอด เขาสามารถเนียตถือศีลได้ ศีลอดถูกต้อง แต่มีเงื่อนไขว่า ถึงตอนนั้น ยังไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล
ล่าช้าในการเนียตถือศีลอด
54. การเริ่มต้นถือศีลอด ให้เริ่มตั้งแต่แสงสีเงินแรก และเนียตศีลอด ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนั้น อย่าปล่อยให้ล่าช้า และดีกว่าให้เนียตถือศีลอดก่อนแสงสีเงินจับขอบฟ้า
55. บุคคลซึ่งเมื่อถึงอะซานซุบฮฺ ตั้งใจไม่เนียตถือศีลอดเดือนรอมฎอน แต่มาเนียตถือศีลอดในตอนกลางวัน ศีลอดบาฏิล และต้องหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล จนถึงอะซานมัฆริบ และหลังจากเดือนรอมฎอนผ่านไป ต้องกะฎอศีลอดวันนั้นด้วย
56. บุคคลที่ไม่เนียตถือศีลอดเดือนรอมฎอน เนื่องจากลืม หรือไม่ทราบ และมานึกได้ในตอนกลางวัน ถ้าได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฎิลแล้ว ศีลอดวันนั้นบาฏิล และต้องหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล จนถึงอะซานมัฆริบ, แต่ถ้าเวลาที่นึกได้ว่าต้องศีลอด และจนถึงขณะนั้น ยังไม่ได้กระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล ถ้านึกได้หลังซุฮรฺ ศีลอดบาฏิล แต่ถ้านึกได้ก่อนซุฮรฺ อิฮฺติยาฏวาญิบ (อิฮฺติยาฏวาญิบ คำสั่งที่ตรงกับข้อระมัดระวัง ที่นักปราชญ์ทางศาสนาไม่ได้ออกคำวินิจฉัย ผู้ที่ตักลีดตามท่านสามารถปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของนักปราชญ์ท่านอื่นได้) ให้เนียตถือศีลอด และต้องถือศีลอด และต้องกะฎอศีลอดวันนั้นในภายหลัง
57. ถ้าศีลอดวาญิบอื่น ที่นอกเหนือจากเดือนรอมฎอน เช่น ศีลอดกะฟาเราะฮฺ หรือศีลอดกะฎอ ไม่ได้เนียตถือศีลอดจนใกล้ถึงซุฮรฺ และจนถึงเวลานั้น ถ้ายังไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล สามารถเนียตศีลอดได้ ศีลอดถูกต้อง
58. ถ้าผู้รับจ้างถือศีลอด ตั้งใจหรือลืม ปล่อยเนียตให้ผ่านไป จนเกือบจะถึงอะซานซุฮรฺ ศีลอดของเขา – ถ้ายังไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล – ถูกต้องหรือไม่?
คำตอบ กรณีของการรับจ้าง ประเด็นที่จ้างต้องเป็นไปตามการจ้าง ทำนองเดียวกัน ต้องปฏิบัติสิ่งที่เป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้ศรัทธา ถ้ามิได้เป็นไปทำนองนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง และผู้รับจ้างไม่มีสิทธิในค่าจ้างนั้น
เนียตถือศีลอดมุสตะฮับ
เนียตศีลอดมุสตะฮับ ขณะมีศีลอดกะฎอ
59. ผู้ที่มีศีลอดกะฎอวาญิบเดือนรอมฎอนติดค้างอยู่ ไม่สามารถถือศีลอดมุสตะฮับได้ แต่ถ้าลืมและถือศีลอดมุสตะฮับ ถ้านึกได้ตอนกลางวัน ศีลอดมุสตะฮับบาฏิล และถ้านึกได้ก่อนซุฮรฺ สามารถเนียตศีลอดกะฎอเดือนรอมฎอนได้ ศีลอดถูกต้อง
60. ผู้ที่มีศีลอดวาญิบติดค้างอยู่ และตั้งใจที่จะถือศีลอด แต่เนื่องจากมีเหตุจำเป็น ทำให้ไม่สามารถถือศีลอดได้ เช่น หลังจากพระอาทิตย์ขึ้น จำเป็นต้องเดินทางไกล และได้ออกเดินทาง และกลับบ้านอีกครั้งหลังซุฮรฺ ซึ่งระหว่างทางมิได้กระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล แต่ช่วงเวลาของการเนียตศีลอดวาญิบหมดแล้ว และวันนั้นก็เป็นวันถือศีลอดมุสตะฮับด้วย ดังนั้น สามารถเนียตถือศีลอดมุสตะฮับได้หรือไม่?
คำตอบ กรณีที่มีศีลอดกะฎอวาญิบเดือนรอมฎอนติดค้างอยู่ จะเนียตศีลอดมุสตะฮับ แม้ว่าช่วงเวลาเนียตศีลอดวาญิบ หมดไปแล้วก็ตาม ศีลอดไม่ถูกต้อง
เนียตศีลอดมุสตะฮับแทนที่ศีลอดกะฎอ
61. ผู้ที่ไม่รู้ว่ามีศีลอดกะฎอค้างอยู่กี่วัน แต่สมมติว่าตนมีศีลอดกะฎอ และถือศีลอดมุสตะฮับ ต่อมามั่นใจว่าไม่มีศีลอดกะฎอติดค้าง ฉะนั้น ศีลอดของเขาจะถือว่าเป็นศีลอดกะฎอหรือไม่?
คำตอบ ศีลอดที่ถือโดยเนียตเป็นศีลอดมุสตะฮับ เพื่อแทนที่ศีลอดวาญิบที่ติดค้างอยู่ ไม่อาจทดแทนกันได้
62. กรณีที่บิดาเสียชีวิต และมีศีลอดกะฎอติดค้างอยู่ บุตรชายคนโต (วาญิบสำหรับบุตรชายคนโตที่ต้องกะฎอศีลอดและนมาซ แทนบิดาที่เสียชีวิตไปแล้ว และมีศีลอดหรือนมาซกะฎอติดค้างอยู่ รายละเอียดอธิบายตอนศีลอดกะฎอ) สามารถถือศีลอด มุสตะฮับได้หรือไม่?
คำตอบ ไม่เป็นปัญหา
การเพิ่มเนียตอย่างอื่นในศีลอดมุสตะฮับ
63. เพื่อผลบุญข้าพเจ้าได้เนียตถือศีลอดมุสตะฮับ และในช่วงเวลานั้นเอง ก็ตัดสินใจว่าจะลดน้ำหนักสักสองสามกิโลกรัม ซึ่งสิ่งนี้เป็นแรงจูงใจให้มีกำลังใจถือศีลอดมากขึ้น ดังนั้น เนียตของข้าพเจ้าถูกต้อง และจริงใจเพื่ออัลลอฮฺหรือไม่?
คำตอบ ถ้าสมมติว่าการตัดสินที่หลัง เป็นเนียตหรือความตั้งใจที่ตามมา ซึ่งความตั้งใจแรกคือ การถือศีลอด ถือว่าไม่เป็นไร ถ้านอกเหนือจากนี้ ศีลอดบาฏิล ทำนองเดียวกัน ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ถ้ามีความตั้งใจแบบผสมผสาน ศีลอดบาฎิล
ปัญหาต่างๆ
นอนหลับจนถึงเวลาสะฮัร
64. ถ้าเนียตตั้งแต่ตอนหัวค่ำว่า พรุ่งนี้จะถือศีลอด และได้นอนหลับไป จนกระทั่งอะซานซุบฮฺผ่านไปก็ยังไม่ตื่น หรือยุ่งอยู่กับงานจนลืมไปว่าถึงเวลาซุบฮฺแล้ว หลังจากนั้นเพิ่งนึกได้ ศีลอดของเขาถูกต้องหรือไม่?
65. ตอนกลางคืน ตั้งใจว่าจะถือศีลอด แต่ตอนเช้าไม่ได้ตื่น มาตื่นอีกครั้งใกล้พระอาทิตย์ขึ้น ศีลอดของเขาถูกต้องหรือไม่?
คำตอบ ศีลอดถูกต้อง
เนียตศีลอดต่างๆ พร้อมกัน
66. ถ้ามีศีลอดวาญิบนะซัร และศีลอดกะฎอรอมฎอนค้างอยู่ ซึ่งตรงกับวันประสูติท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) พอดี ดังนั้น เพื่อความถูกต้องของศีลอด ที่กำหนดไว้แล้ว เนียตจำเป็นหรือไม่?
คำตอบ ถ้ามีศีลอดหลายประเภทติดค้างอยู่ เช่น ศีลอดกะฎอ กะฟาเราะฮฺ นะซัร และศีลอดอื่นๆ อีก ดังนั้น ศีลอดที่ต้องการถือ วาญิบต้องระบุเนียตให้ชัดเจน ส่วนศีลอดมุสตะฮับ สำหรับผู้ที่มีศีลอดกะฎอเดือนรอมฏอนอยู่ ถือว่าไม่ถูกต้อง
อาการป่วยไข้ดีขึ้นตอนกลางวันเดือนรอมฎอน
67. เนียตศีลอด สำหรับผู้ป่วยที่หายในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอน เป็นอย่างไร?
คำตอบ ถ้าผู้ป่วยหายเป็นปกติในช่วงตอนกลางวัน ของเดือนรอมฎอน ไม่วาญิบต้องเนียตศีลอด และถือศีลอด แต่ถ้าหายเป็นปกติก่อนเที่ยง และจนถึงขณะนั้น ยังไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล อิฮฺติยาฏมุสตะฮับ ให้เนียตศีลอด และถือศีลอดในวันนั้น และหลังจากเดือนรอมฎอนผ่าน ต้องกะฎอศีลอดวันนั้นด้วย
เนียตศีลอดในวันที่สงสัย
68. วันที่สงสัยว่า เป็นวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบาน หรือวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน จะเนียตศีลอดอย่างไร?
คำตอบ วันที่สงสัยว่าเป็นวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบาน หรือวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน (เยามุลชัก) ไม่วาญิบต้องถือศีลอด แต่ถ้าต้องการถือศีลอด ไม่สามารถเนียตเป็นศีลอดเดือนรอมฏอนได้ ทว่าสามารถเนียตเป็นศีลอดมุสตะฮับ วันสุดท้ายของเดือนชะอฺบาน หรือศีลอดกะฏอ หรือศีลอดอื่นที่คล้ายคลีงกัน ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นเดือนรอมฎอน ศีลอดนั้นเป็นศีลอดเดือนรอมฎอน โดยปริยาย และไม่จำเป็นต้องกะฎอภายหล้ง แต่ถ้ามาทราบตอนกลางวันว่า เป็นเดือนรอมฏน ต้องเนียตถือศีลอดเดือนรอมฎอนในช่วงนั้นทันที
ศีลอดมาฟิซซิมมะฮฺ (มาฟิซซิมมะฮฺ สิ่งที่อยู่ในภาระรับผิดชอบของเรา ณ ปัจจุบัน)
69. ผู้ที่ไม่รู้ว่าตนมีศีลอดกะฎอค้างอยู่ สามารถถือศีลอดมาฟิซซิมมะฮฺ ได้หรือไม่?
คำตอบ ได้ สามารถถือศีลอดได้ด้วยเนียตดังกล่าว
70. ข้าพเจ้าถือศีลอดมาประมาณ 1 เดือน โดยเนียตว่า ถ้าหากมีศีลอดอยู่ในภาระต้องรับผิดชอบ ให้ถือว่าเป็นศีลอดกะฏอ แต่ถ้าไม่มีศีลอดอยู่ในภาระรับผิดชอบ ก็ให้เป็นไปเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ โดยสมบูรณ์ ดังนั้น 1 เดือนที่ถือศีลอดมา ให้ถือเป็นศีลอดกะฎอที่อยู่ในภาระรับผิดชอบของข้าพเจ้า ได้หรือไม่?
คำตอบ ถ้าเนียตว่า ขณะถือศีลอดโดยชัรอียฺแล้ว ได้ปฏิบัติในสิ่งรับผิดชอบ ซึ่งครอบคลุมทั้งศีลอดกะฎอ และศีลอดมุสตะฮับ ทั้งที่ศีลอดกะฎอก็อยู่ในภาระรับผิดชอบ ดังนั้น ให้ถือว่านั่นเป็นศีลอดกะฎอ
เปลี่ยนเนียตศีลอดรับจ้างหลังจากได้ปฏิบัติ
71. การถือศีลอดรับจ้าง ถ้าหากผู้จ้างบิดพลิ้วไม่จ่ายค่าจ้าง ผู้รับจ้างสามารถเปลี่ยนศีลอด หรือนมาซให้เป็นของคนอื่น หมายถึง เนียตว่าสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว เป็นการกะฎอให้แก่บุคลลอื่นได้หรือไม่? และโดยพื้นฐานของเนียตศีลอด เช่น ศีลอดนี้ ได้เนียตให้แก่ใคร ต้องระบุตั้งแต่แรกของการเนียตไหม? หรือว่าหลังนมาซและศีลอดเสร็จสิ้นแล้ว สามารถระบุบุคคลได้ในตอนหลัง
คำตอบ เนียตต้องระบุบุคคลตั้งแต่แรก ซึ่งหลังจากปฏิบัติแล้ว จะเปลี่ยเนียตให้คนอื่นไม่ได้ และตามสมมติของคำถาม ผู้รับจ้างได้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ที่ให้เขาเป็นตัวแทนแล้ว ดังนั้น ผู้จ้างจะต้องจ่ายหนี้ให้เขา
ความต่อเนื่องในเนียต
การกลับเนียตศีลอดตอนกลางวัน
72. ขณะที่ศีลอดเดือนรอมฎอน ข้าพเจ้าตัดสินใจว่าจะละศีลอด เนื่องจากการหยุแหย่ของชัยฏอน แต่ก่อนที่จะกระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลบาฏิล ข้าพเจ้าเปลี่ยนใจ ดังนั้น กฏของศีลอดของข้าพเจ้าจะเป็นอย่างไร? และถ้าเพื่อว่าสิ่งนี้ได้เกิดขึ้น กับศีลอดที่ไม่ใช่เดือนรอมฎอน จะมีกฎเป็นอย่างไร?
คำตอบ การถือศีลอดเดือนรอมฎอน ถ้าตอนกลางวันได้กลับเนียต และตัดสินใจว่าจะไม่ถือศีลอดอีกต่อไป ศีลอดบาฏิล แม้ว่าเขาตั้งเใจแน่วแน่ว่า จะถือศีลอดอีกครั้ง ก็ไม่มีประโยชน์อีกต่อไป และแน่นอน เขาจะต้องหลีกเลี่ยงไม่กระทำ สิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล ไปจนถึงอะซานมัฆริบ แต่ถ้าเขาเกิดลังเลใจ หมายถึงจนถึงตอนนั้น ยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะบาฏิลศีลอด หรือตัดสินใจว่าจะกระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล แต่ยังไม่ได้กระทำ ดังนั้น ทั้งสองกรณีนี้ ศีลอดของเขาจะถูกต้องหรือไม่ ยังเป็นที่สงสัยอยู่ แต่อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ถือศีลอดต่อไปให้จบวัน แล้วให้กะฎอศีลอดของวันนั้นภายหลัง ซึ่งศีลอดวาญิบอื่นๆ ที่กำหนดแล้ว เช่น ศีลอดนะซัร ที่ระบุแน่นอน หรือศีลอดอื่นที่คล้ายคลึงกัน ก็อยู่ในกฏเดียวกัน
73. ระหว่างการถือศีลอดมุสตะฮับ หรือศีลอดวาญิบที่ไม่ได้ระบุแน่นอน ข้าพเจ้าตัดสินใจว่าจะบาฏิลศีลอด แต่ก่อนที่จะกระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล ข้าพเจ้าเปลี่ยนใจ กฏของศีลอดของข้าพเจ้าจะเป็นอย่างไร?
คำตอบ ศีลอดต่างๆ ทั้งที่เป็นมุสตะฮับ และวาญิบที่ไม่ได้กำหนด หมายถึง ไม่ได้กำหนดวันที่เป็นวาญิบแน่นอน ถ้าตัดสินใจว่าจะบาฏิลศีลอด แต่ยังไม่ได้กระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล หลังจากนั้นเปลี่ยนใจเนียตถือศีลอดใหม่อีกครั้ง ถ้าก่อนอะซานซุฮรฺ ศีลอดถูกต้อง - ส่วนศีลอดมุสตะฮับ สามารถรอจนถึงอะซานมัฆริบ แล้วเปลี่ยเนียตใหม่ ศีลอดถูกต้อง