Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
คำวินิจฉัยอายะตุลลออฺ อัลอุซมา ซัยยิดอะลี คอเมเนอี

อะฮฺกามทางการแพทย์สำหรับศีลอด

2017/06/24

อะฮฺกามทางการแพทย์สำหรับศีลอด

อะฮฺกามทางการแพทย์สำหรับศีลอด
การห้ามของแพทย์
เกณฑ์ความน่าเชื่อถือ ในการห้ามของแพทย์สำหรับศีลอด
173. ถ้าหากแพทย์ห้ามไม่ให้บุคคลหนึ่งถือศีลอด ขณะที่แพทย์บางคนไม่มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาชัรอียฺ เป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามคำพูดของแพทย์หรือไม่?
คำตอบ ถ้าหากผู้ปฏิบัติตามมีความมั่นใจในคำพูดของแพทย์ ที่ว่าศีลอดเป็นอันตรายสำหรับตน หรือจากคำพูดของแพทย์ หรือจากแหล่งภูมปัญญาอื่น ซึ่งทำให้เขามีความกลัวที่อาจเกิดจากอันตรายนั้น ไม่เป็นวาญิบต้องถือศีลอด ทว่าไม่อนุญาตให้ถือศีลอดด้วยซ้ำ
การห้ามของแพทย์ไม่หน้าเชื่อถือ
174. แพทย์บางคนไม่เข้าใจปัญหาชัรอียฺ จึงได้ห้ามผู้ป่วยไม่ให้ถือศีลอด ด้วยเหตุผลที่ว่าอาจเกิดอันตรายได้ คำพูดของแพทย์ถือว่าเป็นฮุจญัต (เหตุผล) หรือไม่?
คำตอบ ถ้าหากแพทย์คนนั้นไม่หน้าเชื่อถือ คำพูดของเขาไม่อาจมั่นใจได้ และมิได้เป็นสาเหตุสร้างความหวาดกลัว แพทย์คนนั้นเชื่อถือไม่ได้ แต่นอกเหนือจากนี้แล้ว จะต้องไม่ถือศีลอด
การถือศีลอดทั้งที่แพทย์ห้าม
175. จักษุแพทย์ได้ห้ามข้าพเจ้าไม่ให้ถือศีลอด และพูดว่า เนื่องจากอาการเจ็บตาจะต้องไม่ถือศีลอดเด็ดขาด แต่ข้าพเจ้ามิได้ใส่ใจต่อคำพูดของแพทย์ จึงได้เริ่มถือศีลอด ซึ่งกลายเป็นสาเหตุทำให้เป็นปัญหาสำหรับข้าพเจ้าในช่วงกลางเดือนรอมฎอน ในลักษณะที่ว่าบางวันในช่วงตอนกลางวันข้าพเจ้ารู้สึกไม่เจ็บปวดอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดความลังเลใจระหว่างไม่ถือศีลอด หรือจะอดทนต่อความเจ็บปวดนั้น แล้วถือศีลอดต่อไปจนพระอาทิตย์ตกดิน คำถามมีอยู่ว่า จริงๆ แล้วการถือศีลอดสำหรับข้าพเจ้า เป็นวาญิบหรือไม่? และในวันที่ถือศีลอด ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าจะมีกำลังถือศีลอดต่อไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดินหรือไม่ ดังนั้น ข้าพเจ้าควรจะถือศีลอดต่อไปหรือไม่? และข้าพเจ้าจะต้องเนียตศีลอดอย่างไร?
คำตอบ ถ้าคำพูดของแพทย์ได้สร้างความั่นใจแก่ท่านว่า ศีลอดจะเป็นอันตรายต่อตา หรือกลัวว่าอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ การถือศีลอดไม่เป็นวาญิบสำหรับท่าน ทว่าไม่อนุญาตให้ถือศีลอดด้วยซ้ำ และถ้ากลัวว่าจะเป็นอันตราย การเนียตถือศีลอดถือว่าไม่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่กลัวในอันตรายที่จะเกิดขึ้น การเนียตถือศีลอด ถือว่าไม่เป็นไร แต่ความถูกต้องของศีลอดขึ้นอยู่กับว่า อันตรายมิได้เกิดขึ้นกับท่านจริง
176. ปีที่แล้วข้าพเจ้าได้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดไต แพทย์ได้ห้ามข้าพเจ้าไม่ให้ถือศีลอดตลอดชีวิต แต่ปัจจุบันนี้ข้าพเจ้าไม่รู้สึกว่ามีปัญหา และไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด ข้าพเจ้ารับประทานอาหาร และดื่มน้ำตามปกติ โดยไม่รู้สึกถึงร่องรอยของอาการป่วยไข้ ดังนั้น หน้าที่ของข้าพเจ้าคืออะไร?
คำตอบ ถ้าหากท่านไม่กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการถือศีลอด ประกอบกับไม่มีเหตุผลทางชัรอียฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบต้องถือศีลอดเดือนรอมฎอน
ไม่ได้ถือศีลอดเพราะคำสั่งแพทย์ ต่อมารู้ว่าผิดพลาด
177. ถ้าหากแพทย์พูดกับคนไข้ว่า ศีลอดเป็นอันตรายสำหรับท่าน และเขาก็ไม่ได้ถือศีลอด แต่ต่อมาหลายปีหลังจากนั้นเพิ่งเข้าใจว่า ศีลอดไม่เป็นอันตราย เนื่องจากแพทย์วินิจฉัยโรคผิดพลาด กะฎอและกะฟาเราะฮฺศีลอดเป็นวาญิบสำหรับเขาหรือไม่?
คำตอบ ถ้าหากเขาเชื่อมั่นในคำพูดของแพทย์ผู้เชื่ยวชาญ ที่เชื่อถือได้ หรือมั่นใจจากแหล่งภูมิปัญญาอื่น ซึ่งทำให้กลัวว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้นจริง จึงไม่ได้ถือศีลอด ฉะนั้น เฉพาะการกะฎอศีลอดเท่านั้น เป็นวาญิบสำหรับเขา
กลัวอันตราย
เกณฑ์การวินิจฉัยว่าศีลอดอันตราย
178. มารดาของข้าพเจ้าป่วยเป็นโรคอย่างรุนแรง ส่วนบิดาต้องเผชิญกับร่างกายอ่อนแอ ขณะที่ทั้งสองถือศีลอดด้วย บางครั้งเป็นที่แน่นอนว่า ศีลอดคือสาเหตุที่ทำให้อาการของทั้งสองทรุดหนักลง แต่จนถึงขณะนี้ยังหาเหตุผลได้ไม่เพียงพอ ซึ่งอย่างน้อยเวลามีอาการทรุดหนักไม่ต้องถือศีลอด ด้วยเหตุนี้ ขอความกรุณาฯพณฯทานให้คำแนะนำพวกเรา เกี่ยวกับศีลอดของพวกเขาด้วย
คำตอบ ผลสะท้อนของศีลอดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการป่วยไข้ หรือทำให้อาการทรุดหนักลง หรือทำให้ไม่มีกำลังพอที่จะถือศีลอด ผู้ที่ถือศีลอดเท่านั้นที่จะรู้ตัวดีกว่าคนอื่น ดังนั้น ถ้ารู้ว่าศีลอดเป็นอันตราย หรือกลัวในอันตรายที่จะเกิดขึ้น ขณะที่ยืนยันว่าจะถือศีลอด การถือศีลอดสำหรับเขา ถือว่าเป็นฮะรอม
ละศีลอดเพราะกลัวในอันตราย
179. ถ้าบุคคลหนึ่งมีข้ออ้างทางชัรอียฺที่แข็งแรง ซึ่งประมาณห้าสิบเปอร์เซ็น ที่ศีลอดไม่เป็นวาญิบสำหรับเขา ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ได้ถือศีลอด แต่ต่อมารู้ว่าศีลอดเป็นวาญิบสำหรับตน ดังนั้น ทั้งการกะฎอและการกะฟาเราะฮฺมีกฎเป็นอย่างไร?
คำตอบ ถ้าตั้งใจไม่ถือศีลอดเดือนรอมฎอน เพียงแค่คิดว่าศีลอดไม่เป็นวาญิบสำหรับตน ดังนั้น ตามคำถามที่ถามมานอกจากต้องกะฎอแล้ว เป็นวาญิบต้องกะฟาราะฮฺด้วย แต่ถ้าไม่ได้ถือศีลอดเพราะกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งความกลัวของเขาเป็นสิ่งมีเหตุผล ไม่เป็นวาญิบต้องกะฟาเราะฮฺ แต่เป็นวาญิบต้องกะฎอ
ศีลอดของผู้ป่วยเป็นโรคเฉพาะ
ศีลอดของผู้ป่วยเป็นโรคไต
180. ข้าพจ้าป่วยเป็นโรคนิ่วที่ไต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอย่าถือศีลอด แต่ข้าพเจ้าทำใจไม่ได้ที่จะไม่ถือศีลอด ขณะเดียวกันอาการป่วยที่เป็นอยู่ สามารถขจัดได้ด้วยการดื่มน้ำ 3 แก้วในคราวเดียวกัน หรือแบ่งดื่ม 3 ครั้ง ฉะนั้น สภาพเช่นนี้ข้าพเจ้าสามารถถือศีลอดได้หรือไม่?
คำตอบ การป้องกันโรคนิ่งที่ไต จะต้องดื่มน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นตลอดทั้งวัน ดังนั้น ศีลอดไม่เป็นวาญิบสำหรับท่าน ทว่าไม่อนุญาตให้ถืออีกต่างหาก ทว่าตามคำถามที่ถามมานั้น การดื่มน้ำเป็นสาเหตุทำให้ศีลอบาฏิล
ศีลอดของผู้เป็นโรคเบาหวาน
181. สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้น จำเป็นต้องฉีดยาอินซูลีนวันละ 1-2 ครั้ง และระหว่างมื้ออาหารจะต้องไม่ปล่อยให้ล่าช้าเกินเวลา เนื่องจากจะเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ อันเป็นสาเหตุทำให้ชัก หรือสงบหมดสติได้ ด้วยเหตุนี้ บางครั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำว่า วันหนึ่งต้องรับประทานอาหาร 4 มื้อ ขอให้ฯพณฯท่านช่วยอธิบายทัศนะของท่าน เกี่ยวกับศีลอดของผู้ป่วยประเภทนี้
คำตอบ ถ้าหากรู้ว่าการหลีกเลี่ยงการกิน การดื่มจากอะซานซุบฮฺ จนถึงอะซานมัฆริบจะทำให้เกิดอันตรายแก่พวกเขา หรือกลัวว่าอาจมีอันตรายเกิดขึ้น ไม่เป็นวาญิบต้องถือศีลอด ทว่าไม่อนุญาตให้ถือศีลอด
การกินยาขณะที่ถือศีลอด
182. อนุญาตให้กินยาความดันขณะถือศีลอดได้หรือไม่?
คำตอบ ถ้าจำเป็นต้องกินยาเพื่อรักษาความดันในเดือนรอมฎอน ไม่เป็นไร แต่การกินยาเป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล
183. ถ้าสมมติว่าข้าพเจ้าและประชาชนบางคนมีความเชื่อเช่นนี้ว่า การกินยาเพื่อการรักษาโรค ไม่ถือว่าเป็นการกินหรือการดื่ม อนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้หรือไม่ และจะมีผลเสียต่อศีลอดหรือไม่?
คำตอบ การกินยาเป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล
การกินยาฉุกเฉินขณะที่ถือศีลอด
184. ถ้าบุคคลหนึ่งป่วยเป็นโรค และต้องกินยาวันละ 3 ครั้ง ตามคำสั่งแพทย์ เขาสามารถถือศีลอดได้หรือไม่?
คำตอบ ไม่สามารถถือศีลอดได้
เครื่องช่วยหายใจ
185. การหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิลหรือไม่?
คำตอบ การหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ ไม่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล
การใช้สเปรย์หอบเหนื่อย
186. ยาประเภทหนึ่งทางการแพทย์ ใช้สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบเหนื่อยอย่างรุนแรง ซึ่งประกอบด้วยโถใบหนึ่ง ภายในจะบรรจุของเหลวไว้แน่น เมื่อเพิ่มแรงดันยาที่เหลวนั้น ก็จะกลายเป็นก๊าซผ่นผ่านปากเข้าไปในปอดของผู้ป่วย เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโล่งอก และบางครั้งผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้สเปย์นั้นวันละหลายครั้ง ดังนั้น เมื่อมีความจำเป็นในการใช้ยา อนุญาตให้ถือศีลอดได้หรือไม่? แต่ถ้าเพื่อไม่ใช้สเปย์ก็ไม่สามารถถือศีลอดได้ หรือจะสร้างความลำบากแก่เขาอย่างมาก
คำตอบ การใช้เครื่องมือตามกล่าวมา ถ้าหากใช้เพื่อขยายหลดอลมโดยไม่ใช้ยา หรือใช้ยาซึ่งยานั้นจะกลายเป็นก๊าซผ่นผ่านปากเข้าไปในปอดของผู้ป่วย ถือว่าไม่สร้างความเสียหายแก่ศีลอด
187. ข้าพเจ้าป่วยเป็นโรคปอด ซึ่งไม่สามารถขาดยาได้เด็ดขาด โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการทรุดหนัก ซึ่งยาของข้าพเจ้าจะเป็นสเปย์ และเมื่อหอบเหนื่อยหายใจไม่ออก จะใช้เครื่องช่วยหายใจ ดังนั้น ขณะที่ถือศีลอดสามารถใช้ยาได้หรือไม่?
คำตอบ การใช้สเปย์พ่น ถ้าหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งปนได้ด้วย เมื่อสิ่งนั้นเข้าไปในลำคอ ไม่อาจกล่าวได้ว่านั่นเป็นการกินหรือกลืน ไม่อาจสร้างความเสียหายแก่ศีลอดได้ แต่โดยทั่วไปแล้วไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งเพียงแค่สงสัยว่าห้ามไม่ให้ใช้ยานั้น ถือว่าไม่เพียงพอ
การฉีดยาขณะที่ถือศีลอด
188. การฉัดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ ขณะที่ถือศีลอด มีกฏเกณฑ์เป็นอย่างไร? ศีลอดบาฏิลหรือไม่?
คำตอบ ถ้าฉีดลงบนกล้ามเนื้อ ไม่เป็นไร
การฉีดยาและให้น้ำเกลือ
189. ทัศนะของฯพณฯท่าน เกี่ยวกับการให้น้ำเกลือและการฉีดยาอื่นๆ สำหรับผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนคืออะไร?
คำตอบ อิฮฺติยาฏวาญิบ ผู้ที่ถือศีลอดต้องหลีกเลี่ยงจาก การฉีดยาเพิ่มกำลัง หรือเป็นอาหาร หรือการฉีดยาทุกประเภทที่ฉีดเข้าเส้นเลือด ทำนองเดียวกันน้ำเกลือทุกประเภท ต้องหลีกเลี่ยงด้วย แต่การฉีดยาที่เป็นยารักษาโรค ซึ่งฉีดบนกล้ามเนื้อ หรือการฉีดยาชา ไม่เป็นไร
190. การให้น้ำเกลือขณะที่ถือศีลอดเดือนรอมฎอน มีกฏเกณฑ์เป็นอย่างไร?
คำตอบ อิฮฺติยาฏวาญิบ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการให้น้ำเกลือ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือเสริมสร้างความเข้มแข็ง หรือเป็นยา และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน
การให้เลือด
191.ข้าพเจ้าป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งจำเป็นต้องให้เลือด ข้าพเจ้าถือศีลอดด้วย ศีลอดจะถูกต้องหรือไม่ หรือว่าต้องกะฎอภายหลัง?
คำตอบ การให้เลือด อิฮฺติยาฏวาญิบ เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล
เลือดออกขณะที่ถือศีลอด
192. การเอาเลือดออกจากร่างกายขณะถือศีลอดเดือนรอมฎอน จะเป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิลหรือไม่?
คำตอบ ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ศีลอดบาฏิล แต่ถ้าการเอาเลือดออกเป็นสาเหตุให้ร่างกายอ่อนแอ เช่นการทำฮิญามัต หรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงกัน สำหรับผู้ที่ถือศีลอด เป็นมักรูฮฺ
การบูรณะอุดหรือการถอนฟันสำหรับผู้ถือศีลอด
193. ภารกิจที่ทันตแพทย์ทำคือ การถอนฟัน รักษารากฟัน ฉีดยาชา และอุดฟัน จะเป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิลหรือไม่?
คำตอบ ถ้าหากไม่มีสิ่งใดเข้าไปในลำคอ ศีลอดถูกต้อง
เลือดไหลออกจากปากของผู้ที่ถือศีลอด
194. ถ้าหากมีเลือดไหลออกจากปากของผู้ที่ถือศีลอด ศีลอดบาฏิลหรือไม่?
คำตอบ ศีลอดไม่บาฏิล แต่เป็นวาญิบต้องป้องกันไม่ให้เลือดเข้าไปในลำคอ
เลือดออกที่เหงือกและไรฟัน
195. ถ้าหากมีเลือดไหลออกจากเหงือกหรือไรฟัน ขณะถือศีลอดในเดือนรอมฎอน จำเป็นต้องล้างช่องปากด้วยหรือไม่?
คำตอบ ไม่อนุญาตให้กลืนเข้าไป ถ้าถือศีลอดเดือนรอมฎอน ตั้งใจกลืนเข้าไปเท่ากับได้ละศีลอดด้วยวิธีฮะรอม แต่ไม่จำเป็นต้องล้างช่องปาก
สงสัยว่ากลืนเลือดที่ออกตามไรฟันขณะถือศีลอด
196. วันส่วนใหญ่น้ำลายของข้าพเจ้าจะผสมกับเลือดที่ออกตามไรฟัน บางครั้งไม่รู้ว่าน้ำลายที่กลืนลงไป ผสมกับเลือดที่ออกตามไรฟันหรือไม่? และศีลอดของข้าพเจ้าในลักษณะเช่นนี้จะมีกฏเป็นอย่างไร?
คำตอบ ถ้าเลือดที่ออกตามไรฟันจางลงด้วยน้ำลายในปาก ถือว่าสะอาด และถ้ากลืนลงไป ไม่เป็นไร ไม่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล ทำนองเดียวกันในกรณีที่สงสัยว่า กลืนน้ำลายที่มีเลือดผสมเข้าไปหรือไม่ ไม่เป็นไร ซึ่งไม่สร้างความเสียหายแก่ความถูกต้องของศีลอด
การใช้เครื่องดัดฟัน
197. กฏการใช้เครื่องดัดฟันขณะถือศีลอดคืออะไร?
คำตอบ ไม่เป็นไร