คำถามที่ต่างๆ ที่จะถูกถาม ณ สถานีทั้งเจ็ด
คำถามที่ต่างๆ ที่จะถูกถาม ณ สถานีทั้งเจ็ด
1) สถานีแรก จะถามถึง วิลายะฮฺและความรักที่มีต่ออิมามอะลี บุตรของอบูฏอลิบ (อ.) และความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยต์ ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)
ถ้าหากบนโลกนี้ พวกเขารักษาสิทธิของท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ไว้อย่างดี เท่ากับเขาได้สั่งสมเสบียงสำหรับภาระกิจนี้ และนำไปพร้อมกับพวกเขา ซึ่งพวกเขาจะข้ามผ่านสะพานไปอย่างรวดเร็ว ประหนึ่งประกายไฟฟ้า ขณะที่บุคคลใดก็ตามไม่รักบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ในโลกนี้พวกเขา ไม่รักษาสิทธิของอะฮฺลุลบัยตฺ หรือด่าทอ หรือทำร้าย ระรานและสังหารพวกเขา แน่นอน กลุ่มชนพวกนี้จะได้รับโทษทัณฑ์ในไฟนรก แม้ว่าพวกเขาจะประกอบความดีงามเท่ากับการงานของ ซิดดีกถึง 70 คนก็ตาม
ซิดดีก หมายถึงบุคคลที่ยืนยันหรือรับรองคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูลของพระองค์ว่าเป็นความจริง จิตใจของพวกเขาไม่มีความสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น (มัจญฺมะอุล บะยาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน เล่ม 3 หน้า 111 พิมพ์ที่นาซิร คุซโร เตหะราน ปี 1372)
อีกรายงานหนึ่งท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า
قال رسول الله (ص) : ياعلي لَوْ انَّ عبداً عَبَدَ اللهَ مِثلِ ماقامَ نُوحٌ في قومه و كان له مثلُ اُحُدٍ ذهبا فانفقه في سبيل الله ومُدَّ في عمره حتي حَجَّ الْف عامِ علي قَدَمَيْه ثمَّ قُتِلَ بين الصَّفا والمروة مظلوما ثم لم يوالك يا علي لم يشم رائحةً الجنة ولم يدخلْها
ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย บ่าวของอัลลอฮฺคนใดก็ตาม ที่ประกอบอิบาดะฮฺ เท่าอายุขัยของศาสดานูห์ ที่อยู่ท่ามกลางหมู่ชนของท่าน (950) และมีทองคำมากประหนึ่งภูเขาอุฮุด พร้อมกับบริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ หากเขามีอายุยืนยาวนานจนสามารถเดินเท้าไปประกอบพิธีฮัจญ์ ได้ถึง 1000 ครั้ง และเขาถูกทำชะฮีดอย่างอธรรมที่สุด ในสถานที่ๆ ดีที่สุด ระหว่างเนินเขาเซาะฟา กับมัรวะฮฺ แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับ วิลายะฮฺของเจ้า เขาก็จะไม่ได้กลิ่นอายของสรวงสวรรค์ และจะไม่ถูกนำเข้าไปในนั้นเป็นอันขาด” (มะนากิบ โครัซมี หน้า 28, กัชฟุลฆอมมะฮฺ เล่ม 1 หน้า 30, บิฮารุลอันวาร เล่ม 27 หน้า 194)
2) สถานีที่สอง ถามถึงนมาซ
กล่าวคือ เขาจะถูกถามว่า เจ้ามีความเชื่อเรื่องนมาซ และปฏิบัตินมาซหรือไม่? เจ้านมาซด้วยความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจหรือไม่ หรือเจ้าปฏิบัตินมาซแบบเสียไม่ได้ หรือเพื่อการโอ้อวด เพื่อแสดงให้คนอื่นเห็นเท่านั้น
قال رسول الله (ص) : من لم تَنْهَهُ صلوتُهُ عن الفحشاء والمنكر لم يزدَدَ بها من الله الا بُعْدا
บุคคลใดก็ตาม นมาซของเขามิได้ทำให้เขาห่างไกลจากความชั่ว และความลามกอานาจาร เขาก็จะห่างไกลจากอัลลอฮฺ
3) สถานีที่สาม ถามถึง ซะกาต
กล่าวคือ เขาจะถูกถามว่า เจ้าจ่ายทานบังคับที่เป็นทรัพย์สิน แก่คนยากจนแล้วหรือยัง แน่นอน ในความคิดของผู้คนมักคิดว่า นั่นคือทรัพย์สินของเรา แล้วทำไมต้องแบ่งปันให้คนยากจนด้วย? ซึ่งในความเป็นจริงเขาลืมไป เพราะอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า “มิมมาเราะซักนากุม” จงบริจาคจากสิ่งที่เราประทานเป็นปัจจัยแก่พวกเจ้า มนุษย์ไม่ได้เอาทรัพย์สินของตนบริจาคแต่อย่างใด แต่เป็นทรัพย์ที่อัลลอฮฺ ทรงประทานให้เป็นเครื่องยังชีพ
ขณะที่คนตระหนี่ถี่เหนียวจะได้รับการประณามไว้อย่างรุนแรง ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า
قال رسول الله (ص) : ثلاثً مُهْلِكاتٌ وثلاثُ مُنْجِباتُ فالمهلِكاتُ شُحُّ مُطاعُ وهَوَيً مُتَّبِعُ واِعْجابُ الْمَرئِ بنفسهِ
ولثلاثُ المنجِباتُ خَشْيهُ الله في السرّ والعلانيهِ والقَصد في الغنا والفقر والعدلُ في الغَضَب والرّضا
ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “มีอยู่ 3 สิ่งที่จะทำให้มนุษย์ พินาศ และมีอยู่ 3 สิ่งที่จะช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น
3 สิ่ง ที่ทำให้พินาศได้ แก่ความใจแคบในการเชื่อฟัง บูชาอำนาจฝ่ายต่ำ และหลงตนเอง
3 สิ่ง ที่ช่วยให้รอดพ้นได้แก่ ความเกรงกลัวอัลลอฮฺ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง รู้จักประมาณตนขณะร่ำรวยและยากจน และมีความยุติธรรมทั้งในยามโกรธ และพอใจ
قال رسول الله (ص) : كفي بالرجل اثما ان يكون بَذِيّا فاحشا بخيلا
ถือเป็นความผิด (บาป) ของบุรุษกล่าวคือ พูดจาหยาบคาย ด่าทอ และตระหนี่ถี่เหนียว
قال رسول الله (ص) : ألااُخبرُك بأهل النار كلُّ جَعْظَريٍّ جَواظٍ مستكبرٍ جَماعٍ منوعٍ
จะให้ฉันบอกพวกเธอไหมว่าชาวนรกเป็นใคร? ผู้ที่หลงตนเอง ผู้ที่เห็นแก่ตัว ผู้ที่หยิ่งจองหอง และผู้ที่ตระหนี่ถี่เหนียว
“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ผู้ที่ตระหนี่ถี่เหนียวจะไม่ได้เข้าสวรรค์”
“ผู้ที่หลอกลวง และผู้ที่ตระหนี่ถี่เหนียวจะไม่ได้เข้าสวรรค์”
قال رسول الله (ص) : لاتجتمع خصلتان في المؤمن : البُخل والكذب / البخل وسوء الخلقِ
“คุณสมบัติ 2 ประการนี้จะไม่รวมอยู่ในตัวผู้ศรัทธาเด็ดขาด ตระหนี่ถี่เหนียว และโกหก / ตระหนี่ถี่เหนียว และมารยาททราม
4) สถานีที่สี่ ถามถึงศีลอด
ผู้ที่ถือศีลอดจะถูกถามว่า เจ้าถือศีลอดหรือไม่? ถือศีลอดอย่างไร ศีลอดของเจ้าเพียงแค่ได้หิวกระหาย แค่นั้นหรือ หรือว่าอวัยวะทุกส่วนของเจ้าถือศีลอดร่วมไปด้วย จนกระทั่งได้ความสมบูรณ์ของศีลอดที่ว่า หวังว่าพวกเจ้าจะยำเกรง ดังที่กุรอานกล่าวว่า یَأَیُّهَا الَّذِینَ ءَامَنُواْ کُتِبَ عَلَیْکُمُ الصِّیَامُ کَمَا کُتِبَ عَلىَ الَّذِینَ مِن قَبْلِکُمْ لَعَلَّکُمْ تَتَّقُون โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ยการถือศีลอดได้ถูกกำหนดขึ้นแก่พวกเจ้าแล้ว ดังที่ได้เคยกำหนดมาแล้วแก่ชนก่อนหน้าพวกเจ้า หวังว่าพวกเจ้าจะเป็นผู้ยำเกรง” (บะเกาะเราะฮฺ 183)
قال رسول الله (ص) : الصيام جُنةٌ مالم يخْرقُها بكذبِ او غيتةٍ
ศีลอดคือ โล่ห์อันแข็งแรง ตราบที่ยังไม่ถูกทำลายด้วยการโกหก และการนินทา
قال رسول الله (ص) : الصيامٍ نصف الصبر وعلی کل شیء زکاة وزکاة الحسد الصیام
ศีลอดคือ ครึ่งหนึ่งของความอดทน และทุกสิ่งนั้นมีซะกาต ซึ่งซะกาตของร่างกายคือ ศีลอด
5) สถานีที่ห้า ถามถึงฮัจญ์
พวกเขาจะถูกถามว่า พวกเจ้ามีศักยภาพพอทั้งด้านการเงิน และสุขภาพร่างกาย ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์หรือไม่ ดังที่อัลลอฮฺ ทรงเมตตาพวกเจ้า และถามไถ่จากพวกเจ้าเสมอว่า พวกเจ้าไปซิยาเราะฮฺบ้านของพระองค์หรือยัง?
قال رسول الله (ص) : حُجُّوا تستغنوا وسافروا تصحوا
จงไปทำฮัจญฺ เพื่อเจ้าจะได้ไม่ยากจน จงเดินทางเพื่อจะได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
6) สถานีที่หก ถามถึงเรื่องญิฮาด
พวกเขาจะถูกถามเรื่องการญิฮาดว่า คราวที่ศาสนาของพระเจ้าตกอยู่ในอันตราย พวกเจ้าฟังคำสั่งของวะลีของพระองค์หรือไม่? เช่น สมัยอิมามอะลี เป็นต้น พวกเจ้าออกไปปกป้องศาสนาของพระองค์หรือไม่ หรือว่าพวกเจ้าทำตนเหมือนพวกเคาะวาริจญ์ หรือพวกเจ้าทำตัวเหมือนชาว ซิฟฟีน และนะฮฺราวอน เพราะพวกเขาฝ่าฝืนคำสั่ง จนกระทั่งว่าฐานแห่งความยุติธรรมไปตกอยู่ในน้ำมือของคนถ่อย
การญิฮาดมี 2 ประเภท กล่าวคือ ญิฮาดอักบัร (ญิฮาดมะอ์นะวี)
قال رسول الله (ص) : افضل الجهاد ان يجاهدَ الرّجلُ نفسهُ وهواهُ
การญิฮาดที่ประเสริฐสุดสำหรับบุรุษคือ การต่อสู้กับจิตใจ และอำนาจฝ่ายต่ำของตนเอง
قال رسول الله (ص) : اقرب العمل الي الله الجهاد في سبيل الله ولايقاربُهُ شيءُ
การงานที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺมากที่สุดคือ การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ และจะไม่มีสิ่งใดเหมือนญิฮาดอีกเลย
7) สถานีที่เจ็ด ถามถึงเรื่อง อะดาลัต ความยุติธรรมของพระเจ้า
การตีความคำว่า อะดาลัต คือ การไม่อยุติธรรมนั้นเป็นเพราะว่า อะดาลัต กับ ซุลม์ จะมีความหมายตรงกันข้าม หรือต่อต้านกันและกัน ดังที่กล่าวว่า “อะดาลัต” หมายถึง การมอบ หรือการวางของไว้ในที่เหมาะสมของมัน ส่วนนิยามของ “ซุลม์” คือ การมอบหรือการวางของไว้ในที่ๆ ไม่เหมาะสมสำหรับมัน
ฉะนั้น ปวงบ่าวจะถูกถามถึงเจ้าให้ความยุติธรรมแก่คนอื่น และตัวเองบ้างหรือเปล่า หรือว่าเจ้าอยุติธรรมต่อตัวเอง ถ้าเราสามารถตอบข้อซักถามได้ เราก็จะข้ามผ่านสะพานได้อย่างรวดเร็วเหมือนประกายไฟฟ้า แต่ถ้าไม่สามารถตอบข้อซักถามได้ เราก็จะถูกลงโทษและถูกทรมาน
อะนัส อิบนุมาลิก รายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ท่านกล่าวว่า “เมื่อถึงวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺ ทรงรวบรวมมนุษย์ทั้งหมดจากคนแรก จนถึงคนสุดท้ายไว้บนเนินสูง แล้วทรงบัญชาให้ทอดสะพานซิรอต ข้ามผ่านนรก จะไม่มีผู้เดินข้ามผ่านสะพานไปได้ เว้นเสียแต่ว่าเขาจะได้รับใบผ่านทาง (จดหมายรับรอง) จากท่านอิมามอะลี (อ.) ตรงนี้เองที่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “อะลี คือผู้จำแนกระหว่างชาวสวรรค์กับชาวนรก” (บิฮารุลอันวาร เล่ม 7 หย่ส 332)