Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
หลักศรัทธา

สาเหตุของการปฏิเสธมะอาด

2017/03/30

สาเหตุของการปฏิเสธมะอาด

สาเหตุของการปฏิเสธมะอาด
“ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง มนุษย์คิดหรือว่า เราจะไม่รวบรวม กระดูกของเขากระนั้นหรือ แน่นอนทีเดียวเราสามารถที่จะท าให้ปลายนิ้วมือของเขาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ แต่ว่า
มนุษย์นั้นประสงค์ที่จะท าความชั่ว เขาถามว่า เมื่อใดเถ่าวันแห่งการฟื้นคืนชีพ (จะเกิดขึ้น)” อัลรอาน บทกยิามะฮ 1-6
สาเหตุส าคัญของการปฏิเสธมะอาด วันฟื้นคืนชีพ เพื่อการสอบสวนก็คือ มนุษย์ต้องการทำทุกสิ่งตามใจ
ปรารถนา และท าทุกสิ่งที่ตนชอบ ซึ่งไม่ต้องการให้มีอุปสรรคขวางกั้นการงานของตน อัลกุรอานโองการแรกๆ ขอบทกิยามะฮฺ ได้ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อที่มีต่อมะอาด และการสอบสวนคือ ตัวการสำคัญสำหรับการควบคุมสัญชาตญาณทางกามารมณ์ และความปรารถนาของอำนาจฝ่ายต่ำ
อัลกุรอานบทมุฏ็อฟฟิฟีน ก็เช่นเดียวกันชี้ให้เห็นว่า เมื่อใดที่มนุษย์มีการรำลึกถึงวันกิยามะฮฺ พลังควบคุมในตัวเขาจะตื่นขึ้นทันที ดังนั้น ถ้าเขามีความเชื่อในเรื่องนี้ แน่นอนว่า มะอาดจะกลายเป็นตัวการสำคัญ หรือตัวการหลัก ในการควบคุมควบคุมสัญชาติญาณทางกามารมณ์ทันที
“ความหายนะจงประสบแก่บรรดาผู้โกงการตวงชั่ง บรรดาผู้ซึ่งเมื่อตวงเอาจากคนอื่น จะตวงเอาจนเต็ม แต่ เมื่อตวงหรือชั่งให้คนอื่น ก็จะท าให้พร่อง พวกเขามิได้คิดใคร่ครวญบ้างหรือว่า พวกเขาจะถูกให้ฟื้นคืนชีพ ในวันอัน ยิ่งใหญ่” (กุรอาน บทมุฏอ็ฟฟิฟีน) แน่นอน โองการมิได้จ ากัดแค่พ่อค้าเท่านั้น ทว่าครอบคุมประชาชนทุกหมู่ชน ตลอดเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่รับ ชอบการงานของประชาชน การยักยอกเวลาทำงานทำงานไม่เต็มที่กับหน้าที่ บรรดาข้าราชการและมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ที่ไม่ปฏิบัติไปตามหน้าที่ของอัตราเงินเดือน ล้วนรวมอยู่ในโองการนี้ทั้งสิ้น เป็นที่ประจักษ์ว่าเมื่อถึงเวลาต้องอำลาจากโลกไป การถอดถอนดวงวิญญาณช่างเป็นเรื่องยากเย็น ซึ่งขั้นตอนแรกของชีวิตในปรโลกคือ การมีศรัทธา ไม่ดื้อรั้นต่อวันมะอาด ขอยกตัวอย่างสำหรับความยากลำบากในการถอดดวงวิญญาณ

ตัวอย่างแรก
บันทึกอยู่ในหนังสือ ลิกออุลลอฮฺ ซึ่งผู้ตายได้เล่าสภาพขณะที่จะถูกถอดดวงวิญญาณ ให้ท่านซัลมานฟังว่า “โอ้ ซัลมาลเอ๋ย ถ้าตัดร่างฉันด้วยกรรไกรให้เป็นชิ้นๆ หรือทุกกระดูกฉันในแตกระเอียด มันยังง่ายยิ่งกว่าสำหรับฉัน ขณะที่ฉันจะถูกดวงวิญญาณ ทั้งที่ฉันเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติความดีงามมาโดยตลอด เขาได้พูดกับซัลมานว่า ขณะที่ ฉันกำลังจะจากโลกไปนั้น ทันใดนั้นฉันเห็นว่ามีบุคคลหนึ่งที่มีร่างกายสูงใหญ่แช็งแกร่ง ปรากฏกายขึ้นระหว่าง ท้องฟ้ากับพื้นดิน เขาจ้องมองฉันด้วยสายตาขมึงตึง ทันใดที่เขาชี้มาที่ตา ปาก และหูของฉันแล้วบอกว่าจงบอด ใบ้ และหนวก ทันใดนั้นมันก็บอด ใบ้ และหนวกทันที ทั้งที่มลาอิกะตุลเมาต์ ให้รางวัลแก่ฉัน เนื่องจากฉันเป็นผู้ประพฤติดี เมื่อบุคคลนั้นได้เข้ามาใกล้ฉัน เพื่อถอดวิญญาณออกจากทุกส่วนของร่างกาย ช่วงเวลานั้นมันช่างทรมานเป็นที่สุด ประหนึ่งว่าฉันได้ตกจากฟากฟ้าสู่พื้นดิน สุดท้ายแล้วเขาได้ลงมือถอดดวงวิญญาณมาจนถึงทรวงอก แล้วเขาก็ กระชากดวงวิญญาณออกทันที ตรงช่วงนี้มันแสนจะทรมาน ถ้าหากสิ่งนี้ได้เกิดกับภูเขาแล้วละก็ ภูเขาจะกลายเป็น น้ำทันที”

ตัวอย่างที่สอง
เชคมุฟีด ได้บันทึกรายงานที่มาจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า “ครั้นเมื่ออัลลอฮฺ ทรงประสงค์ที่จะถอดดวง วิญญาณของผู้ประพฤติชั่ว พระองค์ทรงมีบัญชาแก่มลาอิกะตุลเมาต์ว่า เจ้าและเจ้าหน้าที่ของเจ้าจงไปยังผู้ตั้งตน เป็นศัตรูกับพระเจ้าของเขา แล้วจงถอดดวงวิญญาณของคนชั่วมา แล้วนำไปโยนไว้ในไฟนรก เวลานั้นมลาอิกะตุล เมาต์จะมาด้วยใบหน้าที่โกรธกริ้ว หน้ากลัว และดำมืด และเข้ามาหาเขาด้วยความหน้ากลัวยิ่ง ขณะที่เขายังมีลม หายใจอยู่นั้น เขาจะถูกลงโทษอย่างหนักหน่วง ด้วยโทษทัณฑ์ที่มลาอิกะฮฺอีกจำนวน 500 องค์ ได้นำมาพร้อมกับมลาอิกะตุลเมาต์ และมลาอิกะฮฺ “สะฮักฏออีล” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าลงโทษทัณฑ์ เขาได้เตรียมหยดของไฟนรกมาด้วย เมื่อเขา เข้าไปใกล้คนชั่วนั้น เขาจะกรอกหยดไฟนรกเข้าไปในปาก สมองของเขาจะเดือดพล่านทันที แล้วจะร้องโอดครวญ พร้อมกับอ้อนวอนว่า โปรดพาฉันกลับไปยังโลกเถิด แต่เขาจะได้ยินคำตอบว่า ไม่มีทางเด็ดขาด เจ้าจะไม่มีวันได้ กลับไปยังโลกมนุษย์อีก หลังจากนั้น “มลาอิกะตุลเมาต์” ซึ่งมีเหล็กเสียบอยู่ในมือ เขาจะเอาเหล็กนั้นเสียบเข้าไปในร่างของคนนั้น แล้วเริ่มถอดดวงวิญญาณ จากส่วนเท้าขึ้นไป เมื่อวิญญาณวิ่งไปถึงหัวเข่า มลาอิกะฮฺ มุวักกิล จะจับ เขาไม่ให้ดิ้น แล้วจะสั่งให้มลาอิกะฮฺอีกองค์หนึ่งลงโทษเขา การถอดดวงวิญญาณเป็นไปอย่างยากลำบาก ดวง วิญญาณเขาจะถูกถอดออกทางศีรษะ ครั้นเมื่อดวงวิญญาณมาถึงลำคอ เขาจะถูกเฆี่ยนตี และมลาอิกะฮฺจะอ่านอัลกุ รอานโองการนี้ให้เขาฟัง
“จงเอาชีวิตของพวกเจ้าออกมา วันนี้พวกเจ้าจะถูกตอบแทน ด้วยการลงโทษอันอัปยศยิ่ง เนื่องจากพวกเจ้า กล่าวร้ายอัลลอฮฺ โดยปราศจากความจริง พวกเจ้าหยิ่งยโส ต่อบรรดาโองการของพระองค์” หลังจากดวงวิญญาณถูกถอดถอนแล้ว ร่างกายของเขาจะถูกทุบจนกระดูดแตกละเอียด ตั้งแต่ปลายนิ้วเท้า จนถึงแก้วตาดำแล้วมันจะส่งกลิ่นเหม็น สร้างความรำคาญแก่ชาวฟ้าเป็นอย่างยิ่ง และเหล่าชาวฟ้าจะพากัน สาปแช่งเขาหลังจากที่อัลลอฮฺ ได้สาปแช่งเขา

เพราะสาเหตุใดมนุษย์จึงดื่อรั้นต่อกฏเกณฑ์ของพระเจ้า
ถ้าหากใคร่ครวญสักนิดเกี่ยวกับรายงานฮะดีษต่างๆ อาจท าให้มนุษย์ยั้งคิดได้บ้าง หรืออาจหยุดยั้งอารมณ์
และอำนาจฝ่ายต่ำได้บ้างในบางโอกาส เนื่องจากถ้าคิดถึงเหตุการณ์ หรือความผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ คงไม่มีมนุษย์คน ใดทำตามอำนาจฝ่ายต่ำของตน แต่ถ้าพูดเช่นนี้อาจมีคำถามเกิดขึ้นได้คือ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้วที่เกิดการอธรรมอยู่ ในปัจจุบันมันเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบ ของความสงสัยนี้ชัดเจน เนื่องจากมนุษย์ไม่เชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ (มะอาด) ตรงนี้จึงเห็นความ แตกต่างกันระหว่าง ยะกีนกับอิลมฺ อิลมฺคือ ความรู้หรือการหยั่งรู้ในบางเรื่องราว ส่วน ยะกีนคือ ความเชื่อมั่นไม่ สงสัย หรือความั่นใจต่อสิ่งหนึ่ง

การแบ่งความรู้
1.ความรู้ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับภูมิปัญญา เช่น การคิดด้วยเหตุผล และนำเสนอข้อพิสูจน์ การพิสูจน์ และการ โต้แย้ง ซึ่งการวิพากษ์เกี่ยวกับมะอาดนี้ จำเป็นต้องอาศัยประโยชน์จากความรู้ด้านนี้ แต่อย่างไรก็ตามการมีความรู้ เรื่องมะอาด หรือการพิสูจน์มะอาดด้วยสติปัญญา แม้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นแต่สำหรับมนุษย์การที่จะขับตัวเองไปสู่อัลลอ ฮฺ (ซบ.) สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ยังประโยชน์เท่าที่ควร ในความหมายคือ “ความรู้” เพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุม มนุษย์ให้ดีได้เสมอไป
2. ความรู้ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับจิตวิญญาณ ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า “มะอฺริฟัต” ความรู้ในส่วนที่สองต่างไป จากส่วนแรกโดยสิ้นเชิง เนื่องจากความรู้ในอันแรก หากไม่ศึกษาค้นคว้าจะไม่มีวันได้รับมาเด็ดขาด ขณะที่ความรู้ใน ส่วนที่สองนี้ คือการลิ้มรส หรือความอิ่มเอิบของจิตวิญญาณ ซึ่งมนุษย์จะได้รับความรู้นี้ได้ มีเพียงหนทางเดียวคือ การปฏิบัติตน ความรู้ที่สองนี้คือ การเปล่งประกายของนูรรัศมี ที่เกิดจากการปฏิบัติ และการขัดเกลาทำให้เกิด ความประจักษ์แจ้งในใจ หรือเรียกอีกอย่างว่า “การยะกีน” ดังนั้น ถ้าถามว่าการยะกีนคืออะไร? คำตอบคือ การ มองเห็นความจริงด้วยตาใจ มิใช่ตาเนื้อ
1- การยะกีนในคากล่าวของท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.)
ดุอาอฺ อบูฮัมซะฮฺ ษะมานี ประโยคหนึ่งกล่าวว่า

اللهم اني اسئلك ايمانا تباشر به قلبي و يقينا صادقا حتي اعلم انه لن يصيبي الا و رضني من العيش بما قسمت لي يا ارحم اراحمين

“โอ้ อัลลอฮฺ ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ ได้โปรดประทานอีมาน ให้อยู่ในใจของข้าพระองค์ตลอดไป โปรดทำให้ ความเชื่อมั่น (ยะกีน) สมบูรณ์ เพื่อข้าฯจะได้รับรู้ว่า ไม่มีภัยพิบัติใดเกิดขึ้นได้ นอกจากสิ่งที่พระองค์กำหนดไว้ ข้าฯ มีความปราโมทย์ต่อสภาพชีวิตที่พระองค์ทรงกำหนด โอ้ พระผู้ทรงเป็นเลิศในหมู่ผู้เมตตาทั้งปวง” (มะฟาตีฮุลญินาน)
ท่านอิมามซัจญาด (อ.) วิงวอนขออีมานต่ออัลลอฮฺ ให้อีมานกลายเป็นความเชื่อมั่นของจิตใจ มิใช่เป็นเพียง
ความเชื่อทางปัญญาเพียงอย่างเดียว เนื่องจากความเชื่อมั่นของจิตใจเท่านั้น ที่จะก่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อน และเป็นประโยชน์กับมนุษย์ มิใช่ความล่วงรู้ในเรื่องมะอาดอย่างเดียว

การหลงลืมความตาย
การลืมเลือนคืนแรกในหลุมฝังศพ วันกิยามัต และการชุมนุมในวันฟื้นคืนชีพ ทำาให้มนุษย์สาละวนอยู่กับเรื่องชีวิตส่วนตัว แต่พอนึกขึ้นได้อีกครั้ง เขาก็ถูกนำร่างไปฝังในหลุมฝังศพแล้ว อัลกุรอานกล่าวว่า
“[เกียรติยศของ] การมีทรัพย์มากท าให้พวกเจ้าเพลิดเพลิน จนกระทั่งพวกเจ้ามาเยือนหลุมฝังศพ มิใช่เช่นนั้น พวกเจ้าจะรู้ในไม่ช้านี้ มิใช่เช่นนั้นอีก พวกเจ้าจะรู้ในไม่ช้านี้ มิใช่เช่นนั้น ถ้าพวกเจ้ารู้อย่างถ่องแท้ [รู้ตัวเอง] [และ] พวกเจ้าจะได้เห็นไฟนรกแน่นอน พวกเจ้าจะได้เห็นมันอย่างประจักษ์ตาแน่นอน ในวันนั้น ทุกคนจะถูกถามถึงความ โปรดปราน [ทางโลก]” บทตะกาซุร
ถ้าหากมนุษย์ไม่ลืมเลือน และมีความเชื่อต่อวันฟื้นคืนชีพ เหตุการณ์ในวันนั้น หลุมฝังศพ และอาลัมบัรซัต แม้ว่าจะเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของความเชื่อมัน (ยะกีน) ก็ตาม ความเชื่อเพียงเล็กน้อยนี้จะไม่ปล่อยให้กาลเวลา และภารกิจของเขาตกไปอยู่ในมือของอำนาจฝ่ายต่ำอย่างแน่นอน และในวันนั้นเมื่อเขาถูกถามถึงความโปรดปราน อันอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ความโปรดปรานจากวิลายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ความปลอดภัย และสติปัญญา เขาจะ ได้ไม่อับอายต่ออัลลอฮฺ

เรื่องเล่าอันเป็นบทเรียน
ในเมืองหนึ่งเกิดภาวะแห้งแล้ง ประชาชนภายในเมืองเดือดร้อนถึงขั้นปรางตาย ซึ่งภายในเมืองนั้นมีหญิงผู้ศรัทธาพร้อมบุตรหลายคนอยู่เดียว นางก็เดือดร้อนเหมือนกับคนอื่น มีอยู่คืนหนึ่งบุตรคนหนึ่งของนางต้องทนทุกข์ทรมาน กับความหิวโหยขั้นปรางตาย นางจึงตัดสินใจไปขอความช่วยเหลือจากช่างตีเหล็กคนหนึ่ง เพื่อช่วยให้บุตรของนาง ผ่านพ้นวิกฤติอันตราย ช่างตีเหล็กขอสิ่งแลกเปลี่ยนโดยขอหลับนอนกับนาง นางโกรธจัดจึงกลับมาบ้านด้วยมือเปล่า คืนต่อมานางก็เห็นสภาพเดิมอีก และนางได้ไปหาช่างตีเหล็กอีกเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่เขาก็พูดเช่นเดิม จนวันที่สามนางไปหาเขาอีกครั้ง เขาก็พูดเช่นเดิม นางจึงตกลงแต่มีเงื่อนไขว่า เขาจะต้องพานางไปในที่ลับสายตาที่สุด ซึ่งในที่นั้นจะต้องไม่มีใคร นอกจากเขาสองคน ช่างตีเหล็กที่ในช่วงนั้นอำนาจฝ่ายต่ำได้ครอบงeจิตใจ อีมานได้ถูกถ่ายถอนออกจากจิตใจจนหมดสิ้น เขาแสดง ความกระหยิ่มยิ้มย่อง ในที่สุดช่างตีเหล็กได้พาหญิงผู้ศรัทธาคนนั้นไปในที่เปลี่ยว ห่างจากบ้านของเขามาก หญิงเริ่มกลัวและสั่นหวั่นไหว นางจึงพูดกับเขาด้วยความกลัวว่า “ทำไมท่านจึงไม่ปฏบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้” ช่างตีเหล็กตอบด้วยความมึนงงว่า แล้วในที่นี้มีใครอื่นอีกหรือ ที่นอกเหนือจากเราสองคน?
หญิงตอบว่า ใช่แล้ว นอกเหนือจากเราสองคนแล้ว ยังมีอัลลอฮฺที่เฝ้ามอง และเห็นเราตลอดเวลา นอกจากนั้น ยังมีมลาอิกะฮฺ มุวักกิล ที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺ อีก 2 องค์ ที่อยู่ข้างกายเรา คอยบันทึกการงานของเรา
“ไม่มีคำพูดใดถูกกล่าวออกมา เว้นแต่ ณ เขานั้นมี [มะลัก] ผู้พิทักษ์ ผู้เตรียมพร้อม [การบันทึก]” บทก็อฟ 18 เมื่อช่างตีเหล็กได้ยินเช่นนั้น ไฟตัณหาที่อยู่ใจจิตใจของเขาได้ดับลงทันที เขาเริ่มสำนึกผิดในสิ่งที่เขาขอจากหญิงคนนั้นจนตัวสั่น เขาวิงวอนขออภัยและขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ หญิงผู้ศรัทธาได้วิงวอนต่ออัลลอฮฺว่า ดังที่ท่านได้ดับไฟตัณหาให้ดับลง ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร้อนจากไฟทั้งปวง ทั้งโลกนี้และโลกหน้าจะถูกดับสำหรับท่าน ซึ่งในที่สุดช่างตีเหล็กเขาก็ได้รับอนิสงค์จากดุอาอฺนั้นจริง เขาสามารถจับเหล็กที่หลอมแล้วด้วยมือเปล่า โดยไม่มีความร้อนระคายเคืองมือแต่อย่างใด เหล่านี้คือผลของการรู้จัก และความเชื่อมั่นที่มีต่อพระผู้สร้าง และมะอาด ซึ่ง จะไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้สามารถควบคุมอารมณ์ของมนุษย์ได้ นอกจากความเชื่อมั่นในคำสอนศาสนา อีมาน และความ ยะกีนที่มีต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) และวันแห่งการตอบแทนผลของการกระทำ
ทำอย่างไรจึงจะเกิดความเฃื่อมั่น (ยะกีน)
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าความรู้เรื่องมะอาดนั้น มนุษย์สามารถค้นคว้าได้จากตำราด้านปรัชญา เทววิทยยา ตัฟซีร
ฮะดีษ และตำราอื่น ความรู้เหล่านั้นแม้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ แต่ก็ไม่ยังประโยชน์หรือมีผลอันใดกับมนุษย์ สิ่งที่บังเกิด ผลลัพธ์โดยตรงกับมนุษย์คือ ความเชื่อที่มีต่อมะอาด ความยะกีนที่มีต่อวันฟื้นคืนชีพ วันแห่งการตอบแทนผลรางวัล สวรรค์ และนรก แน่นอน ความเชื่อมั่น (ยะกีน) นี้จะไม่ได้มาด้วยการศึกษาจากชั้นเรียน แต่จะได้มาด้วย การปฏิบัติ เท่านั้น กล่าวคือ “การยะกีน” จะเกิดจากการนมาซตรงเวลา ด้วยความนอบน้อมถ่อมตน ความจริงใจและบริสุทธิ์ ใจ และการถือศีลอดที่แท้จริง ศีลอดที่จะบังเกิดผลกับจิตใจคือ ศีลอดอันเฉพาะ
หมายถึงอะไร? หมายถึงการถือศีลอด ที่ระวังรักษาไม่ให้ล่วงละเมิดทุกสิ่งที่ทำให้อัลลอฮฺไม่ปราโมทย์ หรือทำในสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงพึงพอพระทัย ดังนั้น ศีลอดของผู้ถือศีลอดเหล่านี้ หู สายตา ลิ้น จิตใจ ความคิด และจุดที่ซ่อนเร้นที่สุดที่มีอยู่ในตัวเขา ทั้งหมดได้ถือศีลอดไปพร้อมกับเขา และสูงไปกว่านั้นกล่าวคือ ขณะถือศีลอดจิตใจของเขา ไม่พร้อมที่จะพบผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ศีลอดเหล่านี้นั่นเอง ที่เป็นศีลอดที่มีวัน “อีด” เนื่องจากความจำเริญของวันอีดคือ การที่ผู้ถือศีลอดได้ถึงยังตำแหน่ง เตาฮีด การรู้จัก และความยะกีน อัลกุรอาน กล่าวว่า
“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดถูกกำหนดแล้วสำหรับพวกเจ้า ด่ังที่ถูกกำหนดสำหรับบรรดาก่อนพวก เจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว”
กล่าวคือ ถ้าหากบุคคลใดได้ถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน (รอมฏอน) โดยที่อวัยวะทุกส่วนบนร่างกายของเขา แม้ กระทั่งเนียต จิตใจ และความความคิดของเขาก็ได้ถือศีลอดด้วย แน่นอน หลังจากหนึ่งเดือนผ่านไป ความเคยชิน แห่งการหลีกเลี่ยงจะเกิดขึ้นในใจเขา อีดสำหรับศีลอดประเภทนี้ จะไม่ใช่ความรื่นเริงหรรษาเพียงอย่างเดียว แต่เขา จะได้รับการรู้จัก และความยะกีนที่มีต่อมะอาด เช่นเดียวกันการตื่นในยามดึกเพื่อนมาซเซาะลาตุลลัยน์ การอ่านดุอาอฺอิฟติตาฮฺ อบูฮัมมซะฮฺ ดุอาอฺคอมซะตะอัชเราะฮฺของอิมามซัจญาด (อ.) ดุอาอฺชะอฺบานียะฮฺ โกเมล นุดบะฮฺ และดุอาอฺอื่นๆ อมัลเหล่านี้จะทำให้ดวงจิตของเขาสว่างไสว และทำให้จิตวิญญาณพบกับ “มูกิน” ความเชื่อมั่น ถ้าหากผู้ใดพบกับสภาพเช่นนี้ ดังนั้นเขาคือ ทหารของท่านอิมามซะมาน (อ.) เนื่องจากเขาได้ห่างไกลจากบาปกรรม และแทนที่สิ่งนั้นไว้ในใจของเขาด้วย “การยะกีน” พร้อมกับรำพันโองการนี้ว่า
“จงกล่าวเถิด [ทุกกิจการงานที่ต้องการ] จงทำเถิด อัลลอฮฺเราะซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา มองเห็นการงานของพวกเจ้า ในไม่ช้านี้พวกเจ้าจะถูกนำกลับไปยัง พระผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งเร้นลับ และสิ่งเปิดเผย พระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกเจ้าตามที่พวกเจ้ากระทำ” เตาบะฮฺ 105
ฉะนั้น เพื่อให้เรารำลึกถึงอัลลอฮฺ เราะซูล อะอิมมะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามซะมาน (อ.) จำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราต้องรักษาคุณค่าของความประจักษ์นี้ไว้ในใจตลอดเวลา ซึ่งการรักษาความประจักษ์ในใจนี้ นักปราชญ์ฝ่าย จริยธรรม และนักนักจาริกจิตวิญญาณได้นำเสนอขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติไว้ดังนี้ วางเงื่อนไข ระวังรักษา ตรวจสอบ ท้วงติงตำหนิ และการติดตาม

การวางเงื่อนไข
ผู้ศรัทธาเมื่อได้ตื่นขึ้นมาในรุ่งสาง เมื่อได้ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ และวาญิบแล้ว เขาจะต้องใคร่ครวญตัวเอง และตั้งเงื่อนไขกับจิตวิญญาณของตัวเอง หมายถึงรำลึกถึงความตาย การลงโทษ ความยากลำบากหลังความตาย การลงโทษที่จะติดตามมาในวันกิยามะฮฺ ความหน้ากลัวของไฟนรก ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้คือ ผลที่เกิดจากการทำบาปทั้งสิ้น ทำนองเดียวกันต้องวางเงื่อนไขให้กับอวัยวะบางชนิดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สายตา หู และลิ้น ว่าวันนี้ตลอดทั้งวันเราจะไม่กระทำความผิด และบาปกรรมต่างๆ เพื่อเราจะได้ย่างก้าวไปบนหนทางของพระเจ้า เพื่อให้เราได้พบกับความจำเริญผาสุกที่แท้จริงของโลก และได้รับความช่วยเหลือในวันกิยามะฮฺ

การระวังรักษา
การระวังรักษาคือ หลักการข้อสอง สำหรับผู้ศรัทธาในการจาริกจิตวิญญาณ และการขับเคลื่อนตนไปสู่อัลลอฮฺ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มั่นใจว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) คือผู้ทรงปกปักษ์รักษาการงานของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากมนุษย์มีความเชื่อมั่นว่า อัลลอฮฺ ทรงปรีชาญาณ ความรู้ของพระองค์ครอบคลุมเหนือทุกสรรพสิ่ง พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่เร้นลับ เจตนารมณ์ อีมาน และความคิดของมนุษย์ พระองค์คือผู้ทรงปกปักษ์รักษาการกระทำ และความประพฤติของมนุษย์
มีคำกล่าวว่า ชายคนหนึ่งได้ถามมวลมิตรคนหนึ่งของพระเจ้าว่า “ฉันควรทำอย่างไร จึงจะสามารถลดละสายตาไม่มองเพศตรงข้ามได้”
ตอบว่า พึงรู้ไว้เถิดก่อนที่สายตาของเราจะจับจ้องมองไปนั้น มีสายตามคู่อื่นกำลังมองเราอยู่”

การตรวจสอบ
สำรับผู้ที่ปรารถนาสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ และเพื่อให้ได้รับนฤพานความช่วยเหลือ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เวลากลางคืนก่อนที่เขาจะหลับนอน หรือตลอดเวลา เขาต้องตรวจสอบการกระทำความประพฤติ และคำพูดของเขาเสมอว่า สิ่งที่กระทำไปนั้นดี หรือไม่ดี ถูกหรือว่าผิด ควรทำ ควรพูด หรือว่าไม่ควร
ท่านอิมามมูซากาซิม (อ.) กล่าวว่า

ليس منا لم يحاسب نفسه في كل يوم

“ถือว่าไม่ใช่พวกเรา สำหรับบุคคลที่ไม่เคยตรวจสอบตัวเอง ในทุกวัน” ตะฮฺฟุล อัลอุกูล หน้า 417

การท้วงติงตำหนิ และการติดตาม
การท้วงติงตำหนิคือ หลังจากการตรวจสอบตัวเองแล้ว เห็นว่ามีความผิดจริง ก็ควรจะตำหนิตนเองพร้อมกับรำลึกถึงเงื่อนไขที่ได้วางไว้สำหรับตนเอง จงประณามตัวเองว่าทำไมถึงหยิ่งยโส ทำไมถึงระเมิด ทำไมถึงบิดพลิ้ว สัญญา และทำไมถึงเฉยเมยต่อการลงโทษของพระเจ้า จงถามตัวเองว่าเพราะอะไร ใบหน้าของตนจึงคล้ำดำตอ่หน้าพระพักตร์ของอัลลอฮฺ เราะซูล และอะอิมมะฮฺ? เพราะเหตุใดจึงทำให้หัวใจของเรามีจุดด่างดำ? เราไม่อาจ อดทนต่อไฟนรก และแย่ยิ่งกว่านั้นความละอายใจที่มีพระเจ้า เราไม่อาจทนได้ ซึ่งการตำหนิติเตียนจิตใจตัวเอง ต้องทำไปอย่างต่อเนื่อง จนกว่าร่องรอยของความชั่วร้าย และบาปกรรมจะได้ห่างไกลไปจากเรา หรือในทางกลับกันทำให้เราห่างไกลออกจากสิ่งเหล่านั้น ส่วนการ ติดตาม นั้นจะเกิดขึ้นหลังจากการตำหนิ กล่าวคือ ตราบที่การตำหนิติเตียนจิตใจยังไม่เกิดขึ้น การตดิตาม ความผิดในแต่ละบาปกรรมก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อเรานินทาคนอื่น ก็จงสัญญากับ ตัวเองว่า เราจะหลีกเลี่ยงไม่พูดสิ่งที่ไม่จำเป็น ถ้าได้มองสิ่งฮะรอม ก็จงสัญญากับตัวเองว่า เราจะไม่มองสิ่งใดอีกนอกจากอัลกุรอาน และความดีงามอย่างอื่น ถ้ารับประทานมากจนพลุงกลาง ก็จงสัญญากับตัวเองว่า เราจะถือศีล อดเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า