Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
หลักศรัทธา

มะอาดในอัลกุรอาน

2017/03/09

มะอาดในอัลกุรอาน

มะอาดในอัลกุรอาน
การใคร่ครวญเรื่อง “มะอาด” เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากการรับรู้เรื่องมะอาด เป็นความจำเป็น ทว่าเป็นวาญิบเสียด้วยซ้ำไป สำหรับมวลมุสลิม
สำหรับสิ่งที่เราจะกล่าวต่อไปนี้ จะพยายามกล่าวเฉพาะสิ่งที่มาจากอัลุรอานเท่านั้น และกรณีจำเป็นจะหยิบยกฮะดีษนบี (ซ็อลฯ) และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ขึ้นมาประกอบการอธิบาย แต่จะพยายามหลีกเลี่ยงคำอธิบายในแง่ปรัชญา
สิ่งจำเป็นต้องรับทราบคือ “มะอาด” คือชะตากรรมของมนุษย์ ภายหลังจากความตาย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับการทำความเข้าใจ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องอาศัยโองการในการทำความเข้าใจ

?มะอาด (วันแห่งการฟื้นคืนชีพ) หมายถึงอะไร
มะอาด หมายถึงการฟื้นคืนชีพ หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว เพื่อมารับการพิพากษาในสิ่งที่ตนได้กระทำไว้บนโลก
มะอาดเป็นหนึ่งในหลักการศรัทธาที่สำคัญ ของศาสนาอิสลาม และถือเป็นความจำเป็นของศาสนา โดยสัญชาติญาณแล้ว มนุษย์ทุกคนสามารถจำแนกความดี ออกจากความชั่วได้ทุกคน ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ใช่ผู้ประพฤติดีก็ตาม แต่ก็รู้ว่าการทำความดีเป็นสิ่งจำเป็น ถึงแม้ว่าการทำดีนั้น จะส่งผลเสียต่อตนเองก็ตาม ส่วนการทำชั่วโดยจิตใต้สำนึกแล้ว รู้ว่าต้องหลีกเลี่ยงและไม่สงสัยเลยว่า ความดีกับความเลว หรือการทำความดีกับทำความชั่ว มีความแตกต่างกันตรงผลตอบแทน และเพราะผลตอนแทนนั้นเอง ที่ทำให้ทั้งสองการกระทำแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่สงสัยอีกเช่นกันว่า จำเป็นต้องมีวันหนึ่งเป็นวันแห่งการตอบแทน ผลของการทำความดีและความชั่ว เพราะคนทำความดีมากมาย ที่วันและเวลาของเขาผ่านไปอย่างยากลำบาก และในบางครั้งแสนจะขมขื่นเสียด้วยซ้ำ ส่วนคนที่ก่อกรรมทำเข็ญไว้ ซึ่งประชาชนกร่นดากันทั้งเมืองว่ามันตายเสียได้เมื่อไหร่แหละดี แผ่นดินจะได้สูงขึ้นกับมีชีวิตอย่างสุขสบายบนความทุกข์ของผู้อื่น ฉะนั้น ถ้าไม่มีวันแห่งการตอบแทนจะมีความยุติธรรมได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากไม่มีวันอื่นอีกแล้วนอกจากวันบนโลกนี้เท่านั้น ที่จะคอยตรวจสอบการกระทำ เพื่อตอบแทนหรือลงโทษไปตามความเหมาะสม และความคิดที่ว่า (ความดีต้องปฏิบัติและความชั่วต้องหลีกเลี่ยง) แม้ว่ามันจะมีไม่มากนัก แต่ในที่สุดแล้ว สัญชาติญาณของมนุษย์ก็จะห้ามปรามเขาไม่ให้ทำความชั่วอย่างแน่นอน
การทำความชั่วนั้น ไม่ว่าใครก็จะเป็นผู้กระทำก็ตาม จะเป็นคนพิการหรือคนที่สมบูรณ์แข็งแรง ล้วนเท่าเทียมกันทั้งสิ้น เพราะถือว่าเป็นการแพร่พันธ์ความชั่ว และยิ่งความชั่วในสังคมเติบโตมากเท่าใด ประชาชนก็จะพบกับความลำบากมากเท่านั้น เพราะระบบของสังคมสูญเสียไป คนในสังคมจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบ
สำหรับมุสลิมแล้วไม่เคยสงสัยต่อความเชื่อเหล่านี้ เพราะอิสลามสอนอยู่เสมอว่า มนุษย์ต้องฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เขาได้ตายไปแล้ว เพื่อทำการตรวจสอบการกระทำของเขาที่ได้กระทำไว้บนโลกมนุษย์ ถ้าหากเป็นความดีพระองค์จะตอบแทนผลรางวัลแก่เขา แต่ถ้าเป็นความชั่วเขาก็จะถูกลงโทษตามความเหมาะสมของกรรมที่ก่อเอาไว้ ซึ่งวันที่พิจารณาการกระทำองมนุษย์นี้เรียกว่า วันแห่งการฟื้นคืนชีพ หรือ มะอาด นั่นเอง

มะอาดในอัลกุรอาน
อัลกุรอานหลายร้อยโองการได้กล่าวแนะนำให้มนุษย์รู้จักวันแห่งการฟื้นคืนชีพ (มะอาด) และปฏิเสธความสงสัยที่อาจจะมีกับมันอย่างสิ้นเชิง ความกระจ่างชัดในเรื่องนี้ อัลกุรอานได้กล่าวถึงการสร้างของพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อสรรพสิ่งทั้งหลายว่า พระองค์ได้สร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาอย่างไร เพื่อมนุษย์จะได้ไม่สงสัยว่าพระองค์จะทำให้เขาฟื้นคืนชีพได้อย่างไร อัลกุรอานกล่าวว่า "

أَوَلَمْ يَرَ الْإِنسَانُ أَنَّا خَلَقْنَاهُ مِن نُّطْفَةٍ فَإِذَا هُوَ خَصِيمٌ مُّبِينٌ وَضَرَبَ لَنَا مَثَلًا وَنَسِيَ خَلْقَهُ قَالَ مَنْ يُحْيِي الْعِظَامَ وَهِيَ رَمِيمٌ قُلْ يُحْيِيهَا الَّذِي أَنشَأَهَا أَوَّلَ مَرَّةٍ وَهُوَ بِكُلِّ خَلْقٍ عَلِيمٌ 

และมนุษย์ไม่เห็นหรือว่า แท้จริงเราได้สร้างเขาขึ้นมาจากอสุจิ แต่เขากลับโต้เถียงอย่างชัดเจน เขาลืมกำเนิดที่แท้จริงของพวกเขา และได้ยกอุทาหรณ์แก่เราว่า ใครกันจะเป็นผู้ชุบชีวิตคือ ผู้ที่สร้างมันมาตั้งแต่แรกจากที่ไม่มีเลย และพระองค์ย่อมรอบรู้เสมอกับทุกๆสิ่งที่บันดาลมา"
ในบางครั้ง อัลกุรอานได้แนะนำให้มนุษย์ดูพื้นดินที่แห้งแล้ง และแตกระแหงว่า มันกลับชุ่มชื่นขึ้นมามีชีวิตชีวาอีกครั้งได้อย่างไร อัลกุรอานกล่าวว่า "และบางสัญลักษณ์ของพระองค์ คือการที่เจ้ามองเห็นแผ่นดินที่มีแต่ความแห้งแล้งกันดาร ต่อเมื่อเราได้หลั่งน้ำฝนลงมา มันก็ได้เปลี่ยนสภาพเป็นพื้นดินที่เขียวขจีและมีความอุดมสมบูรณ์ และพระผู้ทรงชุบชีวิตแก่พื้นดินนั่นแหละที่เป็นผู้ชุบชีวิตแก่ผู้ตาย แท้จริงพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง"(ซูเราะฮ ฮามีม อัลสัจดะฮ์ : 79)
อัลกุรอานได้สอนให้มนุษย์เป็นผู้คิดในสิ่งที่พระองค์เสนอมา เพื่อมนุษย์จะได้เปิดใจและยอมรับในสัจธรรมนั้น อัลกุรอานกล่าวว่า

وَمَا خَلَقْنَا السَّمَاءَ وَالْأَرْضَ وَمَا بَيْنَهُمَا بَاطِلًا ذَلِكَ ظَنُّ الَّذِينَ كَفَرُوا فَوَيْلٌ لِّلَّذِينَ كَفَرُوا مِنَ النَّارِ أَمْ نَجْعَلُ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ كَالْمُفْسِدِينَ فِي الْأَرْضِ أَمْ نَجْعَلُ الْمُتَّقِينَ كَالْفُجَّارِ 

"เราไม่ได้สร้างท้องฟ้าและแผ่นดินและรวมทั้งสรรพสิ่งที่อยู่ระหว่างมันทั้งสองขึ้นมาอย่างไร้จุดหมาย นั่นเป็นการคาดเดาของพวกปฏิเสธทั้งหลาย ดังนั้น ความหายนะจากการลงโทษในไฟนรกจงประสบแก่พวกปฏิเสธทั้งปวง หรือว่าเราจะทำให้ผู้ศรัทธาและประพฤติความดีงามเหมือนกับความดีงามเหมือนกับผู้ประพฤติชั่วและสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน หรือว่าจะทำให้ผู้ยำเกรงเหมือนกับบรรดาผู้ชั่วช้า"
สมมติว่า พระองค์ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่างไร้จุดหมายให้มีชีวิตอยู่สักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็ทำให้ตายและทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจุดหมายอันใด การทำเช่นนี้จะมีประโยชน์อะไรและสมควรแล้วหรือที่พระผู้อภิบาลจะทรงกระทำเช่นนี้ แน่นอนสิ่งที่ไร้สาระย่อมไม่ออกมาจากพระองค์ เพราะพระองค์ทรงไว้ซึ่งความดีงามและยุติธรรมเสมอ
ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ย่อมยืนยันให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีวันแห่งการพิจารณาการกระทำของมนุษย์ เพราะบนโลกนี้อย่างเดียว มนุษย์ไม่อาจรับผลตอบแทนที่สมบูรณ์ได้ และถ้าไม่มีวันนั้นหรือไม่มีอีกโลกหนึ่งเพื่อตอบแทนหรือลงโทษโดยที่คนดีกับคนชั่วไม่แตกต่างกันแล้ว ถามว่าความยุติธรรมอยู่ตรงไหน และมนุษย์จะเรียกร้องความยุติธรรมได้จากใคร และยิ่งไปกว่านั้นถือว่าการทำความดีไม่มีประโยชน์อะไรเลย

จากวันตายจนถึงวันฟื้นคืนชีพ
อิสลามได้สอนว่า มนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่ประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ ร่างกายของมนุษย์เป็นเสมือนสสารทั่วๆไปที่มีการดับสิ้น มีการเน่าเปื่อยผุพังไปตามกาลเวลา ร่างกายมนุษย์มีการเจริญเติบโตโดยอาศัยสถานที่และเวลา เป็นอินทรีย์ญาณที่รับรู้ความร้อน ความหนาวเย็นความเจ็บปวดและแก่ชรา และวันหนึ่งเมื่อถึงกาลเวลาโดยอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว มันต้องดับสลายและสึกกร่อน เนื่องจากร่างกายเป็นเสมือนวัตถุที่ต้องอาศัยเวลาและสถานที่นั่นเอง
ขณะที่วิญญาณซึ่งเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของมนุษย์ มันไม่ใช่วัตถุหรือสสารและไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นเช่นนั้น วิญญาณถูกประกอบขึ้นจากความรู้ ชีวิต และอำนาจ และคุณลักษณะของวิญญาณคือ มีความรู้สึก ความคิด ความต้องการ เมตตา อคติ ความสุข เศร้า ความหวัง และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ดังที่กล่าวไปแล้วว่าวิญญาณไม่ใช่ทั้งวัตถุหรือสสาร ดังนั้น วิญญาณจึงไม่มีรูปพรรณสัณฐานและไม่ต้องการกาลเวลา และสถานที่วิญญาณมีกลไกที่ทำหน้าที่แทนมัน เช่น สมอง จิตใจ และอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอวัยวะเหล่านี้จะรับรำสั่งมาจากวิญญาณและปฏิบัติไปตามนั้น ด้วยเหตุนี้ อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายจึงไม่มีโอกาสเป็นผู้ออกคำสั่ง อัลลอฮฺ (ซ.บ) ตรัสว่า

ثُمَّ خَلَقْنَا النُّطْفَةَ عَلَقَةً فَخَلَقْنَا الْعَلَقَةَ مُضْغَةً فَخَلَقْنَا الْمُضْغَةَ عِظَامًا فَكَسَوْنَا الْعِظَامَ لَحْمًا ثُمَّ أَنشَأْنَاهُ خَلْقًا آخَرَ فَتَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ 

"แน่นอนเราได้บันดาลมนุษย์มาจากธาตุเดิมคือดิน หลังจากนั้นเราได้บันดาลเขาให้เป็นน้ำอสุจิ และพำนักเขาไว้ในสถานที่มั่นคงปลอดภัย (มดลูก) หลังจากนั้นเราได้บันดาลอสุจิให้เป็นก้อนเลือด แล้วบันดาลก้อนเลือดให้เป็นก้อนเนื้อ และบันดาลก้อนเนื้อให้เป็นกระดูก และเราได้ห่อหุ้มกระดูกนั้นด้วยเนื้ออีกทีหนึ่ง (สร้างเป็นรูปพรรณสัณฐาน) หลังจากนั้นเราจะบังเกิดสิ่งอื่นที่ไม่เคยมีมาก่อนแก่เขา

มนุษย์มีชีวิตใน 2 มิติ
มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วย 2 มิติ กล่าวคือ มิติของจิตวิญญาณ (รูฮฺ) และมิติของสังขาร (ร่างกาย)
ความต้องการทางวัตถุปัจจัยคือ ความต้องการของร่างกายและสังขาร ส่วนความต้องการด้านศีลธรรมคือ ความต้องการของจิตวิญญาณ ทั้งสองมิตินี้ซ่อนอยู่ในมนุษย์เสมอ โดยเฉพาะมิติของจิตวิญญาณ เป็นเรื่องที่ยาลำบากต่อการทำความเข้าใจ ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) จึงได้เรียกว่า “ญิฮาดอักบัร” ฮะดีษกล่าวว่า

اِن الله تعالي خلق الملائكه و ركب فيهم العقل و خلق البهائم و ركب فيها الشهوه و خلق بني ادم و ركب فيهم العقل و الشهوه، فمن غلب عقله علي شهوه فهو اعلي من الملائكه و من غلب شهوته علي عقله فهو ادني من البهائم. 

ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงสร้างมวลมลาอิกะฮฺ และทรงมอบสติปัญญาแก่มลาอิกะฮฺ อัลลอฮฺ ทรงสร้างสรรพสัตว์ และทรงมอบความต้องการแก่สรรพสัตว์ และอัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์ ทรงมอบสติปัญญา และตวามต้องการแก่มนุษย์ ดังนั้น บุคคลใดเอาสติปัญญาครอบคลุมความต้องการ เขาจะสูงส่งกว่ามลาอิกะฮฺ และผู้ใดนำเอาความต้องการครอบคลุมสติปัญญา เขาจะต่ำต้อยยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน (อะดีษบทนี้มีคำพูดต่างกันเล็กน้อย วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 11 หน้า 164)
การมีอยู่ของมวลมลาอิกะฮฺประหนึ่งนูรรัศมีที่ปราศจาก ความต้องการทางอำนาจฝ่ายต่ำ พวกเขามีชีวิตอยู่บนความรักในพระเจ้า ต่างไปจากบรรดาสรรพสัตว์ ที่ไม่มีสติปัญญา ไม่มีความรู้ และไม่มีการรู้จัก สรรพสัตว์จึงพยายามมีชีวิตอยู่เพื่อกินและดื่ม และสนองตอบความต้องชองตน แต่สำหรับมนุษย์ ด้วยความเมตตาของพระเจ้า เขาได้อุบัติขึ้นบนโลกนี้ ด้วยพลังทั้งสองที่มีอยู่ในตัว พลังด้านบวกหรือสติปัญญา กับพลังด้านลบหรือความต้องการ ด้วยเหตุนี้ ถ้ามนุษย์นำเอาสติปัญญาครอบคลุมเหนือความต้องการ เขาจะมีค่าสูงส่งกว่าบรรดามลาอิกะฮฺ แต่ถ้าเขาปฏิบัติตามความต้องการของตนเอง เขาจะมีความต่ำต้อยยิ่งว่าสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้น ตราบที่เขายังมีชีวิตอยู่พลังทั้งสองนี้จะต่อสู้กัน ซึ่งเรียกว่า “ญิฮาด อักบัร”ฉะนั้น การทำญิฮาดอักบัรนี้ ถ้ามนุษย์มีชัยชนะเหนืออำนาจฝ่ายต่ำ และทำให้อำนาจฝ่ายต่ำตกอยู่ในการครอบครองของตน แน่นอน ณ อัลลอฮฺ เขาจะได้รับตำแหน่งอันสูงส่งยิ่ง และจะได้นั่งร่วมกับท่านเราะซูล (ซ็อลฯ)
อัลกุรอานกล่าวว่า

و من يطع الله و الرسول فاولئك مع الذين انعم الله عليهم من النبيين و الصديقين و الشهداء و الصالحيتن و حسن اولئك رفيقا 

“ผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตาม อัลลอฮฺและเราะซูลแล้ว เขาจะอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงโปรดปราน พวกเขา ซึ่งได้แก่บรรดานะบี บรรดาผู้สัตย์จริง บรรดาผู้พลีชีวิตในสงคราม และบรรดาผู้ประพฤติดี พวกเขาเป็นมิตรที่ดี”
อัลลอฮฺ (ซบ.) จะตรัสกับเขาว่า

يا ايتها النفس المطمئنه ارجعي الي ربك راضيه مرضيه فادخلي في عبادي و ادخلي جنتي

“โอ้ ดวงชีวิตที่สงบมั่นเอ๋ย จงกลับมาสู่พระผู้อภิบาลของเจ้าเถิด ขณะที่เจ้ามีความพึงพอใจในพระองค์ และพระองค์ยินดีในเจ้า ฉะนั้น จงเข้ามาอยู่ในหมู่ปวงบ่าวของข้าเถิด และจงเข้ามาสู่สรวงสวรรค์ของข้าเถิด” อัลกุรอาน บทฟัจญฺรุ 27-30
ถ้าหามนุษย์มีชัยชนะในการต่อสู้กับอำนาจฝ่ายต่ำ (ญิฮาดอักบัร) เท่ากับเขาประสบความสำเร็จในเดินทางไปสู่ พระผู้เป็นเจ้า แน่นอน การโบยบินด้านจิตวิญญาณ และพระเจ้านั้น ไม่อาจอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และไม่มีผู้ใดสามารถสัมผัสถึงรสชาติอันแท้จริงของมัน เว้นเสียแต่เขาได้สัมผัสมันด้วยตัวเอง อัลกุรอาน กล่าวว่า

فلا تعلم نفس ما اخفي لهم من قره اعين جزاء بما كانو يعملون

“ไม่มีชีวิตใดรู้สิ่งที่ชื่นตา ซึ่งถูกซ่อนไว้สำหรับพวกเขา เป็นการตอบแทนที่พวกเขาประกอบไว้” อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ 17
แต่ถ้าบุคคลใดในการญิฮาดอักบัร เขาพ่ายแพ้ไม่สามารถพิชิตได้ มิหนำซ้ำยังติดกับดักของวัตถุปัจจัย กิเลสตัณหา ตำแหน่งลาภยศสรรเสริญ และอำนาจฝ่ายต่ำ เขาผู้นั้นตกต่ำยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน อัลกุรอานกล่าวว่า

اولئك كالانعام بل هم اضل

“พวกเขาประหนึ่งปศุสัตว์ ทว่าพวกเขาตกต่ำยิ่งกว่า”

ان شر الدواب عند الله الصم البكم الذين لا يعقلون

“สัตว์ที่ชั่วร้ายยิ่ง ณ อัลลอฮฺคือ ผู้ที่หูหนวก เป็นใบ้ บรรดาผู้ที่ไม่ใช้ปัญญา” อัลกุรอาน อันฟาล 22
หมายถึงผู้ที่พลังด้านสติปัญญาของเขา พ่ายแพ้ต่อพลังของอำนาจฝ่ายต่ำ

หนทางแห่งชัยชนะในการญิฮาดอักบัร
การที่จะทำให้พลังแห่งสติปัญญา อยู่เหนือและสามารถควบคลุมอำนาจฝ่ายต่ำได้นั้น จำเป็นต้องต้องรู้จักตัวการที่เป็นอาสาสมัครคอยสรรเสริญจิตวิญญาณของตน
ตรงนี้บรรดานักปราชญ์ฝ่ายจริยธรรม หรือผู้ที่เดินจิตด้านใน หรือนักจาริกจิตวิญญาณ ได้แสดงทัศนะไว้มากมาย
หนทางนี้นักวิชาการฝ่ายจริยธรรม และนักเดินจิตด้านใจได้แสดงทัศนะไว้ นักปรัชญาก่อนการมาของอิสลาม แต่ละฝ่ายก็ได้แสดงทัศนะบนความเชื่อของตน นักจิตวิทยาก็ได้ค้นพบวิธีการอันเป็นทัศนะส่วนตัว อย่างไรก็ตามสามารถพูดในเชิงสรุปได้ว่า ปัจจัยหรือตัวการ แห่งชัยชนะในการญิฮาดอักบัร หรือการต่อสู้กับอำนาจฝ่ายต่ำ ในทัศนะของนักปราชญ์ มีความแตกต่างกัน
1- บางกลุ่มกล่าวว่าตัวการแห่งชัยชนะคือ สติปัญญา พวกเขาถือว่าสติปัญญาคือตัวการหลักของชัยชนะ

จุดประสงค์ของสติปัญญา (อักล์) คืออะไร
มีผู้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า สติปัญญาคืออะไร? ท่านอิมามตอบว่า «ما عبد به الرحمان و اكتسب به الجنان»สิตปัญญาคือ สิ่งที่ใช้แสดงความเคารพต่ออัลลอฮฺ และแสวงหาสรวงสวรรค์”
2- บางกลุ่มกล่าวว่าตัวการแห่งชัยชนะคือ ความรู้ พวกเขาถือว่าการญิฮาดอักบัร จำเป็นต้องอาศัยความรู้ คนกลุ่มนี้ได้แก่ อลิสโตเติล และสานุศิษย์ของเขา พวกเขายังเชื่ออีกว่า ความรู้ คือตัวการสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีการพัฒนา และยิ่งมีความรู้มากเท่าไหร่ เขาก็จะประสบชัยชนะมากเท่านั้น
3- นักวิชาอีกบางกลุ่มกล่าวว่า ตัวการสำคัญแห่งชัยชนะคือ มโนธรรมจริยธรรม หรือที่อัลกุรอานเรียกว่า “นัฟซุลเลาวามะฮฺ” พวกเขากล่าวว่าถ้าหาก จิตใต้สำนึก ของมนุษย์ตื่นอยู่เสมอ มันจะสามารถควบคุม นัฟซุลอัมมาเราะฮฺ ได้อย่างง่ายดาย
4-ส่วนนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง กล่าวว่าตัวการสำคัญคือ การอบรมสั่งสอนที่ถูกต้อง เนื่องจากมนุษย์เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนถูกต้อง ในการญิฮาดอักบัรของเขาก็จะประสบความสำเร็จ และสามารถควบคุมมิติแห่งวัตถุได้อย่างง่ายดาย
5- นักวิชาการกลุ่มที่ห้า กล่าวว่าตัวการสำคัญที่ทำให้ได้รับชัยชนะ ในการต่อสู้ครั้งนี้คือ กฏเกณฑ์
6- นัวิชาการกลุ่มที่หก กล่าวว่าตัวการสำคัญที่ทำให้ได้รับชัยชนะ ในการต่อสู้คือ การพึงระวังของประชาชน
อิสลามกล่าวถึงตัวการสำคัญไว้ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมบุคคล และสังคม แต่ตัวการเหล่านั้นไม่เพียงพอต่อกรขัดเกลาจิตวิญญาณ เพราะในช่วงหัวเลื้ยวหัวต่อจะเห็นว่า สิ่งเหล่านี้แถบจะไม่มีผลเลย
ด้วยเหตุนี้ ตัวการเหล่านี้ ถ้าอยู่ในช่วงเวลาปกติ มันสามารถช่วยเหลือให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าอยู่ในช่วงอื่นที่ไม่ปกติ มันจะไร้ความสามารถทันที