Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
หลักศรัทธา

ความต้องการของมนุษย์มีสองแบบ

2017/06/25

ความต้องการของมนุษย์มีสองแบบ

ความต้องการของมนุษย์มีสองแบบ : เพื่อความกระจ่างในบทวิพากษ์ของเรา จำเป็นต้องย้ำว่า ความต้องการของมนุษย์มี 2 ลักษณะ กล่าวคือ

1. ความต้องการแบบธรรมดา หรือความต้องกการที่เป็นไปตามธรรมชาติ เนื่องจากความหิวกระหาย แม้จะเป็นความหิวกระหายที่รุนแรง แต่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ สามารถควบคุมได้ เช่น ความกระหายในตำแหน่ง ความต้องการในทรัพย์สิน ความต้องการทางเพศ ความลุ่มหลงโลก และฯลฯ ถ้าอยู่ในระดับอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ สามารถควบคุมให้อยู่ในความสมดุลได้ด้วยตัวการตามที่กล่าวมา

2. ความต้องการขั้นวิกฤติ ในบางครั้งความต้องการของมนุษย์เลยเถิด เลยขอบเขตอันเป็นธรรมชาติ ถึงขั้นวิกฤติ ในสภาพนี้ ไม่มีตัวการใดตามที่กล่าวมาจะสามารถควบคุมให้มันหยุดได้

 

อักลฺ (สติปัญญา) ในทัศนะอิสลาม

อิสลามถือว่าตัวการ (อักลฺ) ที่แนะนำไปมีผลอย่างยิ่ง ซึ่งอัลกุรอานได้กล่าวถึง สติปัญญาไว้หลายรูปแบบด้วยกัน เช่นกล่าวว่า

فَبَشِّرْ عِبَادِ الَّذِينَ يَسْتَمِعُونَ الْقَوْلَ فَيَتَّبِعُونَ أَحْسَنَهُ أُولَئِكَ الَّذِينَ هَدَاهُمُ اللَّهُ وَأُولَئِكَ هُمْ أُولُو الْأَلْبَابِ

จงแจ้งข่าวดีแก่ปวงบ่าวของข้า บรรดาผู้ที่สดับตรับฟังคำพูด แล้วปฏิบัติตามที่ดีที่สุด ชนเหล่านี้คือ บรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงชี้นำทางพวกเขา พวกเขาคือ ปวงผู้ที่มีสติปัญญาใคร่ครวญ ” (อัลกุรอาน อัซซุมัร 17-18)

โองการยืนยนว่าสำหรับปวงบ่าวที่ชาญฉลาดคือ ผู้ที่ได้รับความผาสุกเป็นรางวัลตอบแทน

 

ความรู้ในทัศนะอิสลาม

เกี่ยวกับความรู้ อิสลามได้แสดงทัศนะ และให้ความสำคัญไว้อย่างมากมาย ชนิดที่สามารถกล่าวได้ว่า ไม่มีศาสนาใดจะให้ความสำคัญกับความรู้เหมือนอิสลาม เนื่องจากอิสลามถือว่าการขัดเกลา และการพัฒนาความเป็นมนุษย์ขึ้นอยู่กับ ความรู้ และการศึกษา ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงให้ความสำคัญ และให้คุณค่าแก่ความรู้ไว้อย่างยิ่ง อัลกุรอาน กล่าวว่า :

یَرْفَعِ اللَّهُ الَّذِینَ آمَنُواْ مِنكُمْ وَالَّذِینَ أُوتُواْ الْعِلْمَ دَرَجَاتٍ وَاللَّهُ بِمَا تَعْمَلُونَ خَبِیرٌ

อัลลอฮฺจะทรงเทอดเกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ได้รับความรู้นั้นขึ้นหลายชั้น และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ” (มุญาดะละฮฺ 11)

อิสลามกล่าวว่า ความประเสริฐ และการดีกว่าของมนุษย์คนหนึ่งนั้น มิได้อยู่ที่ตำแหน่งหน้าที่การงาน ลาภยศสรรเสริญ หรือทรัพย์สิน ทว่าความประเสริฐและความดีกว่าของมนุษย์คนหนึ่ง อยู่ที่ว่าเขาได้นำเอาความโง่เขลา และความไม่รู้ไว้ใต้ฝ่าเท้าของตน แต่ความรู้คือ สาเหตุของการดีกว่า ส่วนผู้รู้คือผู้มีฐานันดรอันสูงส่ง ณ พระเจ้า เป็นหน้าที่ของประชาชนทั่วไปที่ต้องให้ความเคารพ และให้เกียรติเขา บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า «العلم دليل المعرفة» ความรู้คือเหตุผลของการรู้จัก ความรู้คือผู้ชี้นำไปสู่การรู้จักพระผู้อภิบาลของตน ในความหมายความรู้คือวิถีแห่งการชี้นำทาง

 

มโนธรรมจริยธรรมในทัศนะอิสลาม

อัลกุรอาน กล่าวถึง มโนธรรมจริยธรรม ไว้เคียงข้าง วันกิยามะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเรียก “นัฟซุลเลาวามะฮฺ” ว่า สามัญสำนึกจริยธรรม หรือ มโนธรรมจริยธรรม อัลกุรอานกล่าวว่า

لَا أُقْسِمُ بِيَوْمِ الْقِيَامَةِ وَلَا أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ

 " ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง " (กิยามะฮฺ 1-2)

การนำเอานัฟซุลเลาวามะฮฺ ไว้เคียงข้างกับวันกิยามะฮฺ ถือเป็นความละเอียดอ่อนประการหนึ่งที่ซ่อนอยู่ เนื่องจากในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ อำนาจ ความมั่งคั่ง การติดสินบน และการบังคับจะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป

لَا تَجْزِي نَفْسٌ عَن نَّفْسٍ شَيْئًا وَلَا يُقْبَلُ مِنْهَا شَفَاعَةٌ وَلَا يُؤْخَذُ مِنْهَا عَدْلٌ وَلَا هُمْ يُنصَرُونَ

จงเกรงกลัวต่อวันหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใดรับผิดแทนกันได้ การขอความอนุเคราะห์จากเขาจะไม่ได้รับการยอมรับ การชดเชยจากเขาก็จะไม่ถูกรับ พวกเขาจะไม่ถูกช่วยเหลือ ” (บะเกาะเราะฮฺ 48)

พิษภัยที่กระหน่ำไปที่ มโนธรรมจริยธรรม หรือที่อัลกุรอานเรียกว่า นัฟซุลเลาวามะฮฺ ในลักษณะที่ว่า ถ้าเป็นการบังคับ หรือใช้เล่ห์กลแล้ว จิตนี้จะไม่มีวันสงบลงได้ ด้วยเหตุนี้ นัฟซุลเลาวามะฮฺ หรือ มโนธรรมจริยธรรม จึงเป็นเสมือนผู้พิทักษ์ปกป้องที่ดีที่สุด และมีประสิทธิผล ในลักษณะที่ว่า ก่อนที่มนุษย์จะถลำไปทำความผิด จิตนี้จะคอยตักเตือน และสำทับให้เห็นถึงการลงโทษที่เกิดกับตนทั้งในโลกนี้และปรโลกหน้า หรือแม้แต่ในช่วงที่เขากำลังทำความผิดอยู่นั้น จิตดวงนี้ก็จะคอยย้ำเตือนเขา เพื่อให้ยุติการทำบาปนั้น และหลังจากที่เขาได้ทำบาปแล้ว จิตดวงนี้จะประณามเขา ด้วยเหตุนี้เองอัลกุรอานจึงเรียกจิตดวงนี้ว่า นัฟซุลเลาวามะฮฺ ซึ่งอาจเรียกว่า มโนธรรมจริยธรรม หรือจิตสำนึกด้านจริยธรรมก็ได้ มโนธรรมจริยธรรม ยังมีมิติอื่นอีก กล่าวคือ ก่อนที่มนุษย์จะประกอบความดีงาม จิตดวงนี้จะให้หลักประกันแก่เขา และหลังจากกระทำแล้ว จิตดวงนี้จะส่งเสริมและให้กำลังใจ ด้วยเหตุนี้ จิตดวงนี้จึงมีหน้าที่คอยสนับสนุน และสร้างบรรยากาศให้มนุษย์กระทำความดี จากตรงนี้จะทำให้มองเห็นความสำคัญ ของตัวการตัวนี้ได้อย่างชัดเจน อัลกุรอานจึงกล้าสาบานกับจิตดวงนี้ว่า

لَا أُقْسِمُ بِيَوْمِ الْقِيَامَةِ وَلَا أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ

 " ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง " (กิยามะฮฺ 1-2)

เหตุผลของการให้ความสำคัญต่อตัวการดังกล่าวอยู่ในเรื่อง “ญิฮาดอักบัร” หรือการสงครามที่ยิ่งใหญ่

 

ตัวการฝึกอบรมในทัศนะอิสลาม

ปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในศาสนาอิสลาม อัลกุรอานกล่าวว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنْفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ

โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้า และครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์ และก้อนหิน ” (ตะฮฺรีม 4)

อัลกุรอานโองการนี้ ต้องการบอกว่า ด้วยการอบรมของพระเจ้า มนุษย์สามารถปกป้องตนเอง และครอบครัวให้รอดพ้นจากไฟนรกได้ อัลกุรอาน อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า :

قُلْ إِنَّ الْخَاسِرِينَ الَّذِينَ خَسِرُوا أَنفُسَهُمْ وَأَهْلِيهِمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ۗ أَلَا ذَٰلِكَ هُوَ الْخُسْرَانُ الْمُبِينُ

“ [ถ้าดื้อรั้น] สิ่งที่เจ้าปรารถนาเคารพแทนพระองค์ [ซึ่งมิได้ให้คุณแก่เจ้า] จงกล่าวเถิดว่า บรรดาผู้ขาดทุนคือ ผู้ที่ทำให้ตนและครอบครัวของพวกตนขาดทุน ในวันฟื้นคืนชีพพึงรู้เถิดว่า นั่นคือ การขาดทุนอย่างชัดแจ้ง ” (อัซซุมัร 15)

หมายถึงวันกิยามัตจะมีชนกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มชนที่ขาดทุนอย่างยิ่ง ซึ่งทุกอย่างจะถูกเปิดเผยออกมา กลุ่มชนเหล่านี้ได้แก่ คนที่อยู่ในโลกไม่ได้ดูแลตัวเอง ภรรยาของเขา และบรรดาบุตรธิดา ไม่ได้อบรมด้านการศึกษา และไม่ได้ให้การปรับปรุงแก้ไขในทางที่ดีแก่ครอบครัว หรือให้การอบรมไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ อัลกุรอานที่หยิบยกสามารถทำให้มองเห็นภาพความจริงชัดเจนขึ้น

1. อิสลามและกฎเกณฑ์ ไม่ได้เป็นความลับเลยที่ว่าอิสลามมีกฎหมาย และมีระเบียบที่ต่อเนื่องเกี่ยวข้องกัน ซึ่งกฏเกณฑ์เหล่านี้มีความจำเป็นในทุกที่ และทุกสถานการณ์ ตัวอย่าง ประเด็นเรื่องสิทธิ สังคม การเมือง เศรษฐศาสตร์ ครอบครัว การศึกษา การอิบาดะฮฺ และอื่นๆ ซึ่งอัลกุรอานย้ำเตือนเสมอว่า เป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องใส่ใจในกฏเกณฑ์ให้มาก และอย่าละเมิดกฏเกณฑ์เหล่านี้เด็ดขาด เนื่องจากถ้าได้ละเมิดจะถือว่า เราเป็นหนึ่งในผู้อธรรม

تِلْكَ حُدُودُ اللّهِ فَلاَ تَعْتَدُوهَا وَمَن يَتَعَدَّ حُدُودَ اللّهِ فَأُوْلَئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ 

เหล่านี้คือกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺ จงอย่าละเมิด ถ้าผู้ใดละเมิดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺ พวกเขาคือผู้อธรรม ” (บะเกาะเราะฮฺ 229)

แน่นอน อัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงชี้นำทางบรรดาผู้อธรรมเด็ดขาด พวกเขาจะถูกกีดกันออกไปจากความเมตตา และการชี้นำทางของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ ปัจจัยตัวนี้ (กฏเกณฑ์) จึงได้รับการสนับสนุนในอิสลาม

2. อิสลามและกฎระเบียบแห่งชาติ กฎระเบียบแห่งชาติ หรือที่เรียกว่าการกำชับความดี และการห้ามปรามความชั่ว ซึ่งการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วนี้ ถือว่าเป็นหนึ่งในหลักการอิสลาม (ฟุรูอุดดีน)

كُنتُمْ خَيْرَ أُمَّةٍ أُخْرِجَتْ لِلنَّاسِ تَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَتَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَتُؤْمِنُونَ بِاللّهِ 

พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่ประเสริฐยิ่ง ที่ถูกอุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ พวกเจ้ากำชับการดีและห้ามปราม การชั่ว พวกเจ้าศรัทธาในอัลลอฮฺ ” (อาลิอิมรอน 110)

กล่าวคือ สังคมอิสลามโดยแท้คือ สังคมที่รณรงค์เรื่องการกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว เนื่องจากสังคมใดปราศจากหลักการนี้ สังคมนั้นก็ไม่อาจดำรงและตั้งมั่นอยู่บนความดีงามได้ อัลกุรอาน อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า

وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاءُ بَعْضٍ ۚ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ

บรรดาชายผู้ศรัทธา และบรรดาหญิงผู้ศรัทธา บางคนเป็นผู้ช่วยเหลือกันและกัน พวกเขากำชับในการดีงาม และห้ามปรามในการชั่วร้าย ” (เตาบะฮฺ 71)

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า อัลกุรอานสองโองการนี้ได้กำชับให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการกำชับความดี และการห้ามปรามความชั่ว ว่าเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นหน้าที่ทั้งชายหญิง ไม่มีการจำกัดเพศทั้งวัยวุฒิ และคุณวุฒิ

 

ขอบเขตที่จำกัดสำหรับการกระทำหกประการ

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า “นัฟซุลอัมมาเราะฮฺ” ดวงจิตที่ฟุ้งซ่านนี้ ถ้าเป็นการฟุ้งซ่านชนิดธรรมดาที่เป็นไปตามธรรมชาติ สามารถควบคุมได้ด้วยสติปัญญา ความรู้ มโนธรรมจริยธรรม การอมรมสั่งสอน กฏเกณฑ์ และการกำชับความดีห้ามปรามความชั่ว ซึ่งกล่าวไปแล้วเช่นกันว่า อิสลามได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้งหกประการนี้อย่างมาก ถึงขนาดที่ว่า ในแต่ละประเด็นนักปราชญ์อิสลามได้เขียนตำราหลากหลายขึ้นเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ปัจจัยทั้งหกประการนี้ สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ ในภาวะที่เป็นปกติทั่วไป มิใช่ภาวะวิกฤติ ฉะนั้น เมื่อภาวะภายในมีการต่อต้านที่รุนแรง ตัณหา และพลังเดรัจฉานที่อยู่ในตัวดื้อรั้นขึ้นมา ปัจจัยแต่ละประเภทตามที่กล่าวมา จะไม่สามารถควบคุมจิตฟุ้งซ่านได้เลย แม้ว่าปัจจัยทั้งหกจะร่วมมือกัน ก็ไม่อาจควบคุม และจัดการกับพลังบ้าคลั่งของซาตานมารร้ายที่มาจากดวงจิตที่ฟุ้งซ่าน (นัฟซุลอัมมาเราะฮฺ) ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยตัวอื่น ให้มาจัดการกับจิตฟุ้งซ่าน ดื้อรั้น และละเมิดตัวนี้ เนื่องจากการจัดการกับมนุษย์ที่ตกอยู่ในอำนาจของโมหะ และราคะ เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก ในสภาพดังกล่าวนี้มนุษย์สามารถสังหารได้แม้แต่บุตรของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ในสภาพที่วิกฤติเช่นนี้ ปัจจัยทั้งหกประเภทไม่สามารถจัดการได้

 

ความจำกัดของความรู้

ทุกวันนี้โลกใบนี้เป็นโลกที่ปราศจากความรู้กระนั้นหรือ? ถ้าไม่แล้วเพราะอะไรมนุษย์ถึงสังหารกันเอง ทำไมประเทศมหาอำนาจถึงระราน ทิ้งระเบิด ยิงจรวดเข้าใส่ประเทศที่ไม่มีทางต่อสู้เล่า? การค้นพบระเบิดปรมณูมิใช่ขบวนการความรู้ดอกหรือ? ต่อเมื่อความรู้มีการพัฒนา มีความก้าวหน้า แล้วทำไมคุณค่าความเป็นมนุษย์จึงจืดจางหายไป ร่องรอยของความก้าวหน้าทางความรู้คือ ปรมณู ระเบิด และจรวดกระนั้นหรือ ซึ่งครั้งหนึ่งประเทศที่มีความก้าวหน้าทางความรู้ ได้ทิ้งระเบิดปรมณูลงที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ สังหารประชาชนที่ไม่มีทางต่อสู้ให้ล้มตายไป เป็นจำนวนมาก สงครามเวียตนาม และปัจจุบันคือการฆ่าสังหารประชาชนที่ไม่มีทางต่อสู้ในปาเลสไตน์ และเยเมน เหล่านี้คือมรดกทางความรู้กระนั้นหรือ ตรงนี้จำเป็นต้องประกาศกับพวกอภิมหาอำนาจว่า แม้ว่าระเบิดปรมณูจะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน และความรู้ทุกวันนี้ จะสามารถค้นพบนวตกรรมใหม่ๆ สามารถค้นพบอะตอม และอื่นๆ อีกมากมาย กระนั้นมันก็ไม่สามารถทำให้ดวงจิตที่ฟุ้งซ่านนี้สงบลงได้ ไม่สามารถถอดถอนความหยิ่งจองหอง และความอหังการของจิตที่ฟุ้งซ่านได้

 

ข้อ จำกัด ของการศึกษาและกฎหมาย

วันนี้ "การศึกษา" ถือเป็นของลักษณะของโลกศิวิไลซ์ หรือโลกที่ไร้พรมแดน ถึงขนาดที่ว่าได้มีการร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองสัตว์ให้มีชีวิตรอดปลอดภัย ขณะเดียวกันในโลกใบนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ แต่กับมนุษย์ด้วยกันกับถูกอธรรม ถูกฆ่าสังหารอย่างไร้มนุษยธรรม ดังจะเห็นว่า ประชาชนชาวอิรัก ซีเรีย เยเมน อัฟกานิสถาน ปาเลสไตน์ และผู้อ่อนแออีกมากมายบนโลกนี้ กลับไม่ได้รับการคุ้มครอง ถูกเอาเปรียบ ถูกสังหาร เครื่องบินรบลำแล้วรำเล่า จรวดและระเบิดลูกแล้วลูกเล่า ถูกกระหน่ำทิ้งเพื่อฆ่าสังหารพวกเขาอย่างไร้ความปรานี บรรดาอภิมหาอำนาจ ต่างสังหารประชาชนที่ไม่มีทางต่อสู้อย่างเลือดเย็น แต่ไม่มีนักกฏหมาย หรือกฏหมายใดออกมาต่อต้านหรือคุ้มครอง หรือเรียกร้องสิทธิให้แก่พวกเขา แน่นอนจะพบว่ามีทั้ง "กฎหมาย" และ "การศึกษา" แต่ไม่มีตัวการใดที่จะหยุดยั้งการปล้นสะดมและความโหดร้ายได้ เนื่องจากทั้ง "กฎหมาย" และ "การศึกษา" ก็เช่นเดียวกับปัจจัยอื่น ๆ สามารถปฏิบัติได้ในขอบเขต จำกัด และเนื่องจากความดื้อรั้นที่เกินสัญชาตญาณจึงทำให้ผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้จางหายไป

 

มะอาด ปัจจัยพื้นฐานในการควบคุมมนุษย์

ความไร้ศักยภาพของปัจจัยที่กล่าวถึง และข้อจำกัดขอบเขตของตัวการเหล่านั้น สามารถค้นหาได้จากความเลยเถิดของสัญชาติญาณ หรือความลุ่มหลงที่มีต่อโลก เนื่องจากต้นกำเนิดของบาปทั้งปวงมาจาก "ความลุ่มหลงโลก" เมื่อมีความต้องการหรือมีตัญหามากเกินไป ทุกความโหดร้ายและความใจดำ จึงสามารถเกิดได้ตลอดเวลา ปัจจัยเดียวที่มีประสิทธิภาพและสามารถเอาชนะมัน ขณะที่ไม่มีปัจจัยใดเลยที่กล่าวมาข้างต้นจะเอาชนะมันได้ ปัจจัยนั้นคือ "ความเชื่อในการฟื้นคืนชีพ" หรือมะอาดนั่นเอง ความเชื่อมั่นในนรก อาลัมบัรซัต สวรรค์ นรก และการสอบสวนคือปัจจัยหลักที่สามารถควบคุม และชี้นำมนุษย์ได้