Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
คำวินิจฉัยอายะตุลลออฺ อัลอุซมา ซัยยิดอะลี คอเมเนอี

วิธีพิสูจน์วันแรกของเดือน

2017/06/24

วิธีพิสูจน์วันแรกของเดือน

วิธีพิสูจน์วันแรกของเดือน
วิธีพิสูจน์วันแรกของเดือน
14. วันแรกและวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน พิสูจน์ได้ด้วยการเห็นดวงจันทร์ หรือปฏิบัติตามปฏิทิน แม้ว่าเดือนชะอฺบานจะไม่ครบ 30 วันกระนั้นหรือ?
คำตอบ วันแรกและวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน พิสูจน์ได้ด้วยการเห็นดวงจันทร์ของตนเอง หรือด้วยคำยืนยันของผู้อาดิล 2 คน หรือทุกวิธีที่สามารถเชื่อมั่นได้ หรือเดือนมี 30 วัน หรือฮากิมชัรอฺ (ฮากิมชัรอฺ นักปราชญ์ทางศาสนาผู้ออกกฏตามเงื่อนไขของอิสลาม) บอกว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือน
15. บริเวณที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ ไม่ได้เห็นดวงจันทร์ แต่เดือนชะอฺบานมี 30 วัน วันศุกร์จึงประกาศให้เป็นวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ขณะที่วันแรกของเดือนชะอฺบาน มิได้มีการพิสูจน์ให้รู้ชัดเจน ดังนั้น ขอความกรุณาช่วยกำหนดหน้าที่ของข้าพเจ้า และของมิตรสหายคนอื่น ในการปฏิบัติอะมัลในค่ำคืนก็อดร์ การอ่านดุอาอฺประจำวัน อะมัลเฉพาะพิเศษสำหรับบางคืน และบางวัน
คำตอบ เมื่อเดือนชะอฺบานผ่านไป 30 วัน พิสูจน์ได้ว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน แม้ว่าจะไม่เห็นดวงจันทร์วันแรกของเดือนรอมฎอนก็ตาม แต่มีเงื่อนไขว่าวันแรกของเดือนชะอฺบาน ต้องพิสูจน์ถูกต้องตามชัรอียฺ มิเช่นนั้นการผ่านไป 30 วัน มิอาจเชื่อถือได้ ส่วนค่ำคืนอันจำเริญของค่ำก็อดร์ มีอยู่คืนเดียวอย่างต่อเนื่อง การได้รับประโยชน์จากความประเสริฐ ของค่ำคืนก็อดร์ ความประเสริฐของดุอาอฺเฉพาะคืน มีช่วงเวลาอันเฉพาะจากเดือนอันจำเริญ ถ้าหากช่วงเวลาเฉพาะพิเศษนี้ ไม่ชัดเจนสำหรับตน ให้อิฮฺติยาฏกระทำอะมัลซ้ำได้ เพื่อจะได้รบความประเสริฐนั้น
รู้ว่าเห็นดวงจันทร์เดือนรอมฎอนตอนกลางวัน
16. ถ้าหากก่อนเที่ยงประกาศว่า เป็นวันที่ 1 เดือนรอมฎอน ศีลอดวันนั้นจะเป็นอย่างไร?
คำตอบ ถ้าหากยังไม่ได้ทำสิ่งที่ทำให้ศีลอดบาฏิล อิหฺติยาฏวาญิบ ต้องเนียตถือศีลอด และให้ถือศีลอด และหลังจากนั้นให้กะฎอศีลอดวันนั้นด้วย แต่ถ้ากระทำบางสิ่งบางอย่างที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล ศีลอดบาฏิล แต่เพื่อให้เกียรติเดือนรอมฎอน ต้องหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล จนถึงอะซานมัฆริบ และหลังจากเดือนรอมฏอนผ่านไป ต้องกะฏอศีลอดของวันนั้น
ศีลอดที่มิได้พิสูจน์วันแรกของเดือน
17. ถ้ากำหนดวันที่ 1 เดือนรอมฎอน และวันอีดฟิฏรฺ โดยไม่เห็นดวงจันทร์วันแรกของเดือน เนื่องจากมีเมฆหนาแน่นในท้องฟ้า หรือมีสาเหตุอื่น ประกอบกับเดือนชะอฺบาน และเดือนรอมฏอนก็ไม่ครบ 30 วัน ดังนั้น สำหรับพวกเราที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น อนุญาตให้ปฏิบัติตามอิหร่าน หรือปฏิบัติตามปฏิทินได้หรือไม่? หน้าที่เราต้องทำอย่างไร?
คำตอบ ถ้าวันแรกของเดือนไม่ได้พิสูจน์ ด้วยการเห็นดวงจันทร์ในเมืองนั้น หรือเมืองใกล้เคียงที่อยู่ในเส้นขอบฟ้าเดียวกัน หรือไม่มีผู้อาดิล 2 คนยืนยัน และฮากิมชัรอฺก็ไม่ได้ประกาศ ดังนั้น ต้องอิหฺติยาฏ เพื่อพิสูจน์วันแรกของเดือน
มัรญิอฺตักลีดขัดแย้งกันในการพิสูจน์วันอีดฟิฏรฺ
18. ถ้าหากในหมู่มัรญิอฺตักลีด มีความเห็นขัดแย้งกันในการพิสูจน์วันอีดฟิฏรฺ ผู้ปฏิบัติตามจะทำอย่างไร? หรือให้ผู้ปฏิบัติตามทุกคน ปฏิบัติตามทัศนะมัรญิอฺที่ตนตักลีด?
คำตอบ การพิสูจน์วันแรกของเดือน ไม่อาจตักลีดตามได้ ดังนั้น ถ้าตนเชื่อมั่นคำพูด และคำประกาศเห็นดวงจันทร์ ของมัรญิอฺตักลีด ต้องละศีลอดในวันนั้น แต่ถ้าสงสัย จำเป้นต้องถือศีลอดในวันนั้น

การเห็นดวงจันทร์
เชื่อมั่นว่าเดือนใหม่ปรากฏ
19. ถ้าหากเชื่อมั่น หรือแน่ใจว่าเดือนใหม่ปรากฏแล้ว ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะเห็นดวงจันทร์นั้นมี ดังนั้น เป็นไปได้ไหม ถ้าจะอาศัยหรือเชื่อในสิ่งนั้น แม้ว่าจนบัดนี้จะยังไม่เห็นดวงจันทร์ก็ตาม ?
คำตอบ ถ้าเชื่อมั่นว่าเดือนใหม่ปรากฏแล้ว และเป็นไปได้ที่จะมองเห็น -กล่าวคือ การมีอยู่ของดวงจันทร์ และมีความเป็นไปได้ที่จะเห็น- ประกอบกับความรู้เรื่องดวงจันทร์ขึ้นก็ชัดเจน และร่องรอยของดวงจันทร์วันแรกได้เกิดขึ้น แม้ว่าตอนนี้ตนจะยังไม่ได้เห็นดวงจันทร์ก็ตาม
เกณฑ์มาตรฐานการเข้าเดือนใหม่
20. มาตรฐานการเข้าเดือนใหม่คืออะไร? การที่ดวงจันทร์ออกนอกการบดบัง หรือการหลุดออกจากสภาพเดือนดับ หรือต้องมองเห็นดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า โดยปราศจากอุปกรณ์ หรือมีเงื่อนไขว่าต้องเห็นดวงจันทร์เท่านั้น?
คำตอบ หลักเกณฑ์คือ ดวงจันทร์ต้องออกนอกการบดบัง มีความเป็นไปได้ที่จะมองเห็น แม้ว่าจะมองเห็นผ่านอุปกรณ์ก็ตาม
ไม่มีความรู้เรื่องการเห็นดวงจันทร์
21. ถ้ามั่นใจว่าเดือนใหม่ปรากฏแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถมองเห็นได้หรือไม่ กรณีนี้กฏเป็นอย่างไร?
คำตอบ ถือว่าไม่เพียงพอ
การเห็นดวงจันทร์
22. การเห็นดวงจันทร์ในวันแรกของทุกเดือน เป็นวาญิบกิฟายะฮฺ หรืออิฮฺติยาฏวาญิบ?
คำตอบ การเห็นดวงจันทร์ด้วยตัวของมัน ไม่เป็นวาญิบชัรอียฺ
ช่วงการเห็นดวงจันทร์
23. ดังที่ทราบกันดีว่า ดวงจันทร์ในวันสุดท้าย หรือวันแรกของเดือน จะมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก. ดวงจันทร์จะตกก่อนดวงอาทิตย์
ข. ดวงจันทร์จะตกในเวลาใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์
ค.ดวงจันทร์จะตกหลังจากดวงอาทิตย์ตก
ดังนั้น กรุณาอธิบายว่าข้อใดข้อหนึ่งจาก 3 ข้อข้างต้น มีความเป็นไปได้ต่อการกำหนดวันแรกของเดือน?
คำตอบ สมมติฐานทั้ง 3 ข้อตามกล่าวมา สำหรับการเห็นดวงจันทร์ เพื่อพิสูจน์เดือนใหม่ จากค่ำคืนหลังที่จะเห็นดวงจันทร์ ถือว่าเพียงพอ
24. บางประเทศ (เช่น สวีเดน) มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นดวงจันทร์ เดือนเชาวาล แต่ต้องหลังจากดวงอาทิตย์ตก และหลังจากเห็นเดือนใหม่ในอิหร่านสิ้นสุดลงแล้ว 2-3 วัน เนื่องจากในพื้นที่แถบนี้ ดวงจันทร์จะตกก่อนดวงอาทิตย์ ขณะที่เป็นไปได้ในพื้นที่แถบนี้ จะเห็นดวงจันทร์ ก่อนดวงอาทิตย์ตก ฉะนั้น ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเพียงพอหรือไม่ สำหรับการพิสูจน์วันแรกของเดือนเชาวาล?
คำตอบ ความมั่นใจในความเป็นไปได้ที่จะเห็นดวงจันทร์ ก่อนดวงอาทิตย์ตก เพื่อพิสูจน์เดือนใหม่ จากค่ำคืนหลังจากที่ได้เห็น ถือว่าเพียงพอ
เส้นขอบฟ้าร่วมและหลักเกณฑ์
25. การมีเส้นขอบฟ้าเดียวกัน ถือเป็นเงื่อนไขของการเห็นดวงจันทร์หรือไม่?
คำตอบ ใช่ ถือว่าเป็นเงื่อนไขเดียวกัน
26. การมีเส้นขอบฟ้าเดียวกันหมายถึงอะไร? และบริเวณที่อยู่ในเส้นขอบฟ้าเดียวกันคือ พื้นที่ส่วนใด?
คำตอบ จุดประสงค์ของ เส้นขอบฟ้าเดียวกัน คือพื้นที่ซึ่งมีความเป็นไปได้หรือไม่ได้ ในการเห็นดวงจันทร์กับอีกเมืองหนึ่ง และต้องอยู่ในระดับเดียวกัน
การพิสูจน์เดืนใหม่ในเมืองต่างๆ ที่อยู่เส้นขอบฟ้าเดียวกัน
27. ถ้าหากเมืองใดเมืองหนึ่งเห็นดวงจันทร์เดือนรอมฎอน เมืองอื่นที่อยู่เส้นขอบฟ้าเดียวกัน หรือมีเวลาต่างกัน 2 ชั่วโมง จะถือว่าเป็นวันแรกของเดือนด้วยหรือไม่?
คำตอบ ถ้าหาก 2 ประเทศมีความเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นไปได้ที่จะเห็นดวงจันทร์ เป็นที่ชัดเจน ฉะนั้น สำหรับเมืองอื่น ก็ถือว่าเพียงพอเช่นกัน ซึ่งความต่างกันในเรื่องดวงอาทิตย์ตก ไม่อาจนำมาเป็นบรรทัดฐานได้
การมั่นใจในเส้นขอบฟ้าของพื้นที่อื่น
28. ถ้าหากวันที่ 29 ของเดือน ในเตหะราน และโคราซานเป็นวันอีด สำหรับประชาชนที่อยู่ในเมืองอื่น เช่น บูชะฮฺร์ อนุญาตให้ละศีลอดได้ไหม? ขณะที่เส้นขอบฟ้าของเตหะราน และโคราซาน กับจังหวัดบูชะฮฺร์แตกต่างกัน
คำตอบ โดยทั่วไปแล้วถ้าหาก 2 เมืองมีความแตกต่างกันมาก ในเรื่องเส้นขอบฟ้า สมมติว่าเมืองหนึ่งเห็นดวงจันทร์ แต่อีกเมืองไม่อาจเห็นได้ ดังนั้น การเห็นดวงจันทร์ของเมืองหนึ่ง ถือว่าไม่เพียงพอ สำหรับอีกเมืองที่การเห็นดวงจันทร์ ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอน
การเห็นดวงจันทร์ในประเทศตะวันตก
29. ถ้าเห็นดวงจันทร์ในประเทศอังกฤษ ประชาชนที่อยู่ประเทศใกล้เคียง ในแถบตะวันตกด้วยกัน จะถือว่าเห็นด้วยไหม?
คำตอบ ถ้าหากเห็นดวงจันทร์ในประเทศหนึ่ง ผลที่ตามมาจากการเห็น หรือเป็นไปได้ที่จะเห็นดวงจันทร์ในอีกประเทศหนึ่ง ดังนั้น ถือว่าเพียงพอ สำหรับประเทศดังกล่าวด้วย แต่เนื่องจากมีความแตกต่างกันมาก ด้านภูมิศาสตร์ ฉะนั้น การเห็นดวงจันทร์ในประเทศตะวันออก ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องเห็นในประเทศตะวันตกด้วย
30. ถ้าเห็นดวงจันทร์ในประเทศแถบตะวันออก จะถือว่าประเทศแถบตะวันตก เห็นโดยอัตโนมัติหรือไม่? ขอบเขตเป็นอย่างไร?
คำตอบ การเห็นดวงจันทร์ในประเทศแถบตะวันออก โดยปกติแล้วจะทำให้ประเทศแถบตะวันตกเห็นดวงจันทร์โดยปริยาย แต่บางครั้งเมื่อพิจารณาความต่างกันด้านภูมิศาสตร์ ทำให้ความเป็นปกตินั้นหมดไป ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป สำหรับ 2 ประเทศใกล้เคียงกันคือ ความเป็นไปได้ในการเห็นดวงจันทร์
การเห็นดวงจันทร์ในประเทศที่อยู่ในละติจูดเดียวกัน
31.ทางตอนเหนือของแคนนาดาอยู่ในละติจูดเดียวกับอังกฤษ ดังนั้น ถือว่าแคนนาดาอยู่ในเส้นขอบฟ้าเดียวกัน กับอังกฤษหรือไม่?
คำตอบ การอยู่ในละติจูดเดียวกันถือว่าไม่เพียงพอ ทว่ามาตรฐานของความข้องเกี่ยว เรื่องการเห็นดวงจันทร์ ในประเทศหนึ่ง ต้องสามารถเห็นในอีกประเทศหนึ่งได้ด้วย
สองพื้นที่มีเขตร่วมกันตอนกลางคืน
32. ถ้ามั่นใจและเชื่อว่าเดือนใหม่ปรากฏแล้ว และมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นเดือน ในอีกประเทศหนึ่ง ที่ไม่ใช่ประเทศตน ซึ่งประเทศดังกล่าว กับประเทศตนมีบางช่วงของกลางคืนร่วมกัน ฉะนั้น การเห็นดวงจันทร์ในประเทศหนึ่ง จะมีผลกับอีกประเทศหนึ่งไหม?
คำตอบ กรณีที่ 2 ประเทศ มีบางช่วงของการคืนร่วมกัน ไม่อาจนำมาเป็นเหตุ เพื่อใช้กฏเกณฑ์ร่วมกันได้ ถือว่าไม่เพียงพอ
เกณฑ์การเห็นดวงจันทร์
33. การเห็นดวงจันทร์ผ่านอุปกรณ์มีกฏเกณฑ์อย่างไร การเห็นภาพดวงจันทร์ใหม่ ด้วยการใช้กล้องเฉพาะพิเศษ การสะท้อนแสง และการดึงเอาข้อมูลที่บันทึกไว้ โดยคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบ สำหรับการพิสูจน์เดือนใหม่ถือว่าเพียงพอไหม?
คำตอบ การเห็นดวงจันทร์ผ่านอุปกรณ์ กับการเห็นดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ไม่แตกต่างกัน เชื่อถือได้ ซึ่งเกณฑ์ของการเห็นต้องถูกรักษาไว้ ดังนั้น การเห็นดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ด้วยแว่นขยาย หรือกล้องโทรทรรศน์ อยู่ในกฎเดียวกัน ส่วนการสะท้อนภาพไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งการยืนยันสถานะของการเห็น ไม่ได้เป็นที่ชัดเจน และยังมีปัญหาอยู่

คำยืนยันเห็นดวงจันทร์ ของผู้อาดิล 2 คน
ผู้อาดิล 2 คนยืนยันว่าเห็นดวงจันทร์
34. ถ้าหากมีผู้อาดิลหลายคนยืนยันว่า มีผู้อาดิล 2 คนเห็นดวงจันทร์ ดังนั้น ถือว่าพิสูจน์วันแรกของเดือนรอมฎอน หรือเดือนเชาวาลได้หรือไม่?
คำตอบ ไม่ได้..ผู้อาดิล 2 คนต้องยืนยันด้วยตัวเองว่า เห็นดวงจันทร์ ถ้าการเห็นดวงจันทร์ของเขาบอกโดยคนอื่น ถือว่าไม่เพียงพอ นอกเสียจากว่าเชื่อมั่นในคำพูดของพวกเขาว่า เห็นดวงจันทร์จริง
อธิบายแตกต่างกันในการเห็นดวงจันทร์
35. ถ้าผู้รู้ของเมืองหนึ่ง อธิบายการเห็นดวงจันทร์ หรือไม่เห็นต่างกัน ซึ่งความยุติธรรมของผู้รู้เป็นที่ยอมรับของประชาชน และเมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ผู้รู้เหล่านั้นมีความมั่นใจในการพิสูจน์ของตนเอง ดังนั้น หน้าที่อันเป็นวาญิบสำหรับผู้ปฏิบัติคืออะไร?
คำตอบ ถ้าคำอธิบายทั้งสองขัดแย้งกันในลักษณะทีเป็น การปฏิเสธกับการยืนยัน กล่าวคือคนหนึ่งบอกว่ามีหลักฐานพิสูจน์การเห็นดวงจันทร์ ส่วนอีกคนบอกว่าไม่มี ความแตกต่างลักษณะนี้ เป็นเหตุนำไปสู่ ความขัดแย้งของสองคำอธิบาย ดังนั้น คำพูดของทั้งสองจึงตกไป หน้าที่ของผู้ปฏิบัติตามคือ นำเอาทัศนะทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งการละศีลอด หรือจะถือศีลอดต่อไป ให้พิจารณาดูว่าทัศนะใดใกล้ความจริงที่สุด แล้วให้ปฏิบัติไปตามนั้น
แต่ระหว่างการเห็นดวงจันทร์ กับการไม่เห็น มีการขัดแย้งกันในลักษณะที่ว่า บางคนพูดว่าเห็นดวงจันทร์ แต่บางคนพูดว่าไม่เห็น คำพูดของผู้ที่บอกว่าเห็นดวงจันทร์ ในกรณีที่อาดิล (อาดิล ตรงนี้หมายถึงเป็นคนดี และกรณีที่มีเหตุผล องค์ประกอบต่างๆ ที่เชื่อถือได้) เป็นเหตุผลชัรอียฺสำหรับผู้ปฏิบัติตาม ซึ่งต้องปฏิบัติไปตามนั้น ทำนองเดียวกันถ้าฮากิมชัรอฺ (ฮากิมชัรฺ นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาผู้ออกกฏตามเงื่นอไขของอิสลาม) ประกาศเห็นดวงจันทร์ คำประกาศของท่านเป็นเหตุผลชัรอียฺ สำหรับผู้ปฏิบัติทุกคน ซึ่งต้องปฏิบัติไปตามนั้น
ตรวจสอบให้แน่ใจเรื่องการเห็นดวงจันทร์
ประกาศการเห็นดวงจันทร์ทางวิทยุและโทรทัศน์
36. ถ้าเมืองหนึ่งไม่เห็นดวงจันทร์วันแรกของเดือนเชาวาล แต่โทรทัศน์และวิทยุประกาศการเห็นดวงจันทร์ ถือว่าเพียงพอหรือไม่ หรือเป็นวาญิบต้องตรวจสอบให้มากกว่านั้น?
คำตอบ ถ้ามั่นใจว่าเห็นดวงจันทร์ หรือมีคำประกาศเห็นดวงจันทร์จาก วิลายะตุลฟะกีฮฺ เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบอีก
คาดเดาการเห็นดวงจันทร์จากคำพูดคนอื่น
37. ถ้าคาดเดาจากคำพูดของคนบางกลุ่มว่า พรุ่งนี้เป็นวันอีดฟิฏรฺ สามารถถือศีลอดได้หรือไม่?
คำตอบ ตราบที่ตนยังไม่แน่ใจว่า พรุ่งนี้เป็นวันอีดฟิฏรฺ หรือวันแรกเดือนเชาวาล ไม่สามารถละศีลอดได้
แน่ใจความถูกต้องการคำนวณของนักดาราศาสตร์
38. ถ้าบุคคลหนึ่งแน่ใจความถูกต้อง การคำนวณของนักดาราศาสตร์ว่า เดือนใหม่ปรากฏแล้ว และสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ไม่ผ่านอุปกรณ์) ฉะนั้น ในการพิสูจน์เดือนรอมฎอน หรือวันอีดฟิฏรฺ สามารถเชื่อมั่นการคำนวณได้หรือไม่? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคำพูดนั้นออกมาจากผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ
คำตอบ ความมั่นใจในความถูกต้อง ของการคำนวณทางดาราศาสตร์เพียงอย่างเดียว เชื่อถือไม่ได้ ส่วนการเชื่อว่าสามารถเห็นดวงจันทร์ได้ บุคคลนั้นต้องให้เหตุผลในความมั่นใจของตนด้วย
การปฏิบัติตามรัฐที่ไม่ใช่อิสลามเรื่องการเห็นดวงจันทร์
39. ถ้าอนุญาตให้ปฏิบัติตาม คำประกาศการเห็นดวงจันทร์ โดยรัฐบาลหนึ่ง ซึ่งคำประกาศนั้นมีหลักเกณฑ์ทางวิชาการ สำหรับการพิสูจน์ดวงจันทร์ในประเทศอื่นด้วย เป็นเงื่อนไขหรือไม่ ที่รัฐบาลต้องเป็นอิสลาม หรืออาจปฏิบัติตามได้ แม้ว่ารัฐบาลนั้นจะอธรรมชั่วร้ายก็ตาม?
คำตอบ หลักเกณฑ์ในเรื่องนี้คือ การแน่ใจการเห็นดวงจันทร์ในแถบพื้นที่นั้น ซึ่งเพียงพอแล้วสำหรับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตาม
การปฏิบัติตามอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เรื่องการเห็นดวงจันทร์
40. การปฏิบัติตามประเทศซาอุดิอารเบีย ในการกำหนดวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญฺ (อีดกุรบาน) เป็นวาญิบหรือไม่? หรือว่าเรื่องนี้สามารถปฏิบัติแตกต่างกันได้?
คำตอบ สำหรับบรรดาฮุจญาต อนุญาตให้ปฏิบัติตาม คำประกาศ การเห็นดวงจันทร์ของนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺได้
41. เสี้ยวเล็กและบางของดวงจันทร์คือ คุณลักษณะของดวงจันทร์ในค่ำคืนแรก และเป็นเหตุผลที่ว่า คืนก่อนหน้านี้ ไม่ใช่คืนแรกของเดือน ทว่าเป็นคืนที่ 30 ของเดือนก่อนใช่หรือไม่? และถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นวันอีดสำหรับบุคคลหนึ่ง โดยอีกด้านหนึ่งแน่ใจว่าวันก่อนหน้านี้ ไม่ใช่วันอีดแน่นอน ดังนั้น จำเป็นต้องกะฎอศีลอดวันที่ 30 เดือนรอมฎอนหรือไม่?
คำตอบ แค่ดวงจันทร์เล็กและอยู่ต่ำ หรือใหญ่และอยู่สูง หรือหนา หรือบาง เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เหตุผลทางชัรอียฺที่จะกำหนดว่า เป็นคืนแรกหรือคืนที่สองของเดือน แต่ถ้าความรู้นั้นทำผู้ปฏิบัติพบเห็นบางอย่าง ดังนั้น ต้องปฏิบัติตามข้อจำกัดของความรู้ของตน เกี่ยวกับประเด็นนี้
42. ถ้าจะอาศัยคืนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง (ค่ำที่ 14) และความหน้าเชื่อถือนั้น ประกอบเป็นเหตุผล สำหรับการคำนวณวันแรกของเดือน อนุญาตหรือไม่ เพื่อว่าวิธีนี้จะทำให้วันต้องสังสัย (เยามุลชักเยามุลชัก วันที่สงสัยว่าเป็นวันสุดท้าย หรือวันแรกของเดือน เช่น วันสุดท้ายเดือนชะอฺบานหรือวันแรกของเดือนรอมฏอน หรือวันสุดท้ายเดือนรอมฎอน หรือวันแรกของเดือนเชาวาล)
เป็นที่ชัดเจนขึ้น เช่น ถ้าเป็นวันที่ 30 เดือนรอมฎอน กฏการปฏิบัติของเดือนรอมฎอน ยังมีผลใช้อยู่ เช่น บุคคลหนึ่งไม่ได้ถือศีลอดในวันนี้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา เป็นเหตุให้เป็นวาญิบต้องกะฎอศีลอดภายหลัง และบุคคลที่ถือศีลอดในวันนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ยังเป็นเดือนรอมฎอนอยู่
คำตอบ สิ่งที่กล่าวมาไม่ถือเป็นเหตุผลทางชัรอียฺ แต่ถ้าสิ่งนั้นให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติ วาญิบต้องปฏิบัติไปตามนั้น