Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
คำวินิจฉัยอายะตุลลออฺ อัลอุซมา ซัยยิดอะลี คอเมเนอี

ความหมายของศีลอด

2016/06/13

ความหมายของศีลอด

วินิจฉัยของฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี

ความหมายของศีลอด
1. ศีลอด ในบทบัญญัติอิสลามหมายถึง การที่ได้ปฏิบัติตามคำบัญชาของ อัลลอฮฺ (ซบ.) โดยหลีกเลี่ยงไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่กระทำในสิ่งต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล จากอะซานซุบฮฺจนถึงอะซานมัฆริบ ตามเงื่อนไขดังที่จะอธิบายต่อไป
ประเภทของศีลอด
2. ศีลอดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- ศีลอดวาญิบ เช่น ศีลอดเดือนรอมฎอน
- ศีลอดมุซตะฮับ เช่น ศีลอดเดือนเราะญับ และชะอฺบาน
- ศีลมักรูฮฺ เช่น ศีลอดวันอาชูรอ
- ศีลอดฮะรอม เช่น ศีลอดวันอีดฟิฏรฺ (วันแรกของเดือนเชาวาล) อีดกุรบาน (วันที่ 10 เดือนซิลฮิจญฺ)
ศีลอดวาญิบต่าง
3. ศีลอดวาญิบต่างๆ ประกอบด้วย
- ศีลอดเดือนรอมฎอน
- ศีลอดเกาะฎอ (ทดแทน)
- ศีลอดกะฟาเราะฮฺ
- ศีลอดเกาะฎอแทนบิดาและมารดา
- ศีลอดมุซตะฮับกลายเป็นวาญิบ เนื่องจากการบนบาน สัญญา และสาบาน
- ศีลอดวันที่สามของการอิอฺติกาฟ
- ศีลอดแทนการกุรบานสัตว์ในฮัจญฺตะมัตตุอ์ (ถ้าหากฮุจญาตไร้ความสามารถในการกุรบานสัตว์ หรือยืมทรัพย์จากผู้อื่น ในช่วงพิธีกรรมฮัจญฺ จำเป็นต้องทดแทนการกุรบาน ด้วยการถือศีลอด 10 วัน ซึ่งให้ถือ 3 วัน ในช่วงเทศกาลฮัจญฺ และอีก 7 วัน หลังจากกลับมายังภูมิลำเนา)
ศีลอดวันอาชูรอ
4. อนุญาตให้ถือศีลอดในวันอาชูรอหรือไม่?
คำตอบ เป็นมักรูฮฺ
ศีลอดเงียบ
5. ได้ยินว่าการถือศีลอดเงียบ ฮะรอม แต่บางคนกล่าวว่า ถ้าเป็นการบนบานถือว่า ฮะลาล ดังนั้น คำกล่าวเช่นนี้ถูกต้องหรือไม?
คำตอบ ฮะรอม
ศีลอดของภรรยาและบุตร
6. ฯพณฯท่านกล่าวในช่วงศีลอดฮะรอมว่า ศีลอดของภรรยา ถ้าหากเป็นการก้าวก่ายสิทธิของสามี และศีลอดของบุตร ถ้าเป็นเหตุรบกวน หรือสร้างความยากลำบากให้แก่บิดา มารดา คำถามคือ ศีลอดเหล่านี้ครอบคุมเฉพาะศีลอดมุซตะฮับเพียงอย่างเดียว หรือครอบคุมศีลอดวาญิบประเภทอื่นด้วย?
คำตอบ ไม่ครอบคุมศีลอดวาญิบ

เงื่อนไขวาญิบของศีลอด
7. ศีลอดจะเป็นวาญิบเหนือบุคคล ต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (บาลิฆ)
- มีสติสัมปชัญญะ
- มีความสามารถ
- ไม่สลบหรือหมดสติ
- ไม่ได้เดินทางไกล
- ปราศจากระดู และโลหิตหลังการคลอดบุตร
- ศีลอดมิได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
- ศีลอดมิได้เป็นความลำบาก

ความลำบากในการถือศีลอด
ไม่สามารถถือศีลอดเมื่อย่างเข้าสู่วัยบาลิฆ
8. เด็กหญิงเมื่อย่างเข้าสู่วัยบาลิฆ แต่เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถถือศีลอดได้ และหลังจากเดือนรอมฎอนผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่สามารถถือศีลอดกะฎอได้อีก จนกระทั่งถืงเดือนรอมฎอนปีถัดไป กรณีนี้เงื่อนไขเป็นอย่างไร?
คำตอบ การไม่สามารถถือ หรือกะฎอศีลอด เพราะร่างกายอ่อนแอเพียงอย่างเดียว หรือไร้ความสามารถ ไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้การกะฎอศีลอด หมดสภาพลง ทว่าการกะฎอศีลอดเดือนรอมฎอนที่ไม่ได้ถือ ยังเป็นวาญิบสำหรับเขา
9. เด็กหญิงที่เพิ่งย่างเข้าสู่วัยบาลิฆ และการถือศีลอดเป็นเรื่องลำบาก กรณีนี้เงื่อนไขเป็นอย่างไร? และวัยบาลิฆของเด็กหญิง เมื่อมีอายุครบ 9 ปี บริบูรณ์ตามปีจันทรคติกระนั้นหรือ?
คำตอบ ทัศนะของนักปราชญ์ทั่วไป วัยบาลิฆตามชัรอียฺ ของเด็กหญิงเมื่อมีอายุครบ 9 ปี บริบูรณ์ตามปีจันทรคติ ซึ่งการถือศีลอดเป็นวาญิบสำหรับพวกเขา ไม่อนุญาตให้ละเว้นการถือศีลอด เพราะมีอุปสรรคบางประการ แต่ถ้าการถือศีลอดเป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือถ้าถือศีลอดต้องอดทนต่อความยากลำบากอย่างยิ่ง อนุญาตให้ละศีลอดได้
10. สำหรับเด็กหญิงอายุครบ 9 ปีบริบูรณ์ ศีลอดเป็นวาญิบสำหรับเขา แต่เนื่องจากความลำบาก เขาได้ละศีลอด ดังนั้น วาญิบต้องกะฎอศีลอดหรือไม่?
คำตอบ การกะฎอศีลอดเดือนรอมฎอน ที่ได้ละขณะถือ เป็นวาญิบสำหรับเขา
11. เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ ข้าพเจ้าไม่ได้ถือศีลอดตั้งแต่ย่างเข้าสู่วัยบาลิฆ จนกระทั่งอายุ 12 ปี และตอนนี้ข้าพเจ้าต้องทำอย่างไร?
คำตอบ วาญิบต้องกะฎอ ศีลอดเดือนรอมฎอนที่ไม่ได้ถือ ขณะย่างเข้าสู่วัยบาลิฆ และถ้าตั้งใจละศีลอด ทั้งที่ไม่มีอุปสรรคทางชัรอียฺ วาญิบต้องกะฟาเราะฮฺศีลอดด้วย
12. บุคคลที่ย่างเข้าสู่วัยบาลิฆ เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ หรือไร้ความสามารถ จึงไม่ได้ถือศีลอด ดังนั้น วาญิบต้องกะฎอศีลอดเพียงอย่างเดียว หรือวาญิบต้องกะฎอและจ่ายกะฟาเราะฮฺด้วย?
คำตอบ ถ้าการถือศีลอดไม่ลำบากสำหรับเขา แต่ตั้งใจละศีลอด นอกจากวาญิบต้องกะฎอแล้ว ต้องจ่ายกะฟาเราะฮฺด้วย แต่ถ้ากลัวว่าถือศีลอดแล้วจะไม่สบาย ดังนั้น วาญิบให้กะฎอเพียงอย่างเดียว
การละศีลอดตอนกลางวันเนื่องจากความลำบาก
13. ถ้าบุคคลที่มีอาชีพ ที่ไม่อาจละทิ้ง หรือปล่อยวางได้ และเนื่องจากความหิวกระหาย การถือศีลอดเป็นความลำบากสำหรับเขาอย่างยิ่ง ในทำนองเดียวกันบุคคลที่อายุยังน้อยอยู่ ซึ่งการถือศีลอด เป็นความยากลำบากสำหรับเขา ดังนั้น เขาสามารถละศีลอดตั้งแต่เช้าได้หรือไม่ หรือว่ามีเงื่อนไขอย่างอื่น?
คำตอบ ตามสมมติของคำถาม ทุกครั้งที่ถือศีลอด ถ้าประสบความลำบาก เขาสามารถละศีลอดได้ แต่ในกรณีที่กระหายน้ำมาก อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ละศีลอดและดื่มน้ำในปริมาณที่จำเป็น และให้อิมซาก (หลีกเลี่ยง) การกินการดื่มตลอดทั้งวัน และทั้งสองกรณี ต้องกะฎอศีลอดของวันนั้น ภายหลังจากนั้น