Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
การอิจญฺติฮาด

อิจญฺติฮาด

2016/06/28

อิจญฺติฮาด

อิจญฺติฮาด

 “สำหรับทุก ๆ ประชาชาติเราได้บันดาลจากพวกเจ้า ซึ่งบทบัญญัติและแนวทางไว้”                                                                      (อัล-มาอิดะฮฺ/๔๘)

สถานภาพของศาสนบัญญัติในอิสลาม

อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายและสมบูรณ์ที่สุด  กฎเกณฑ์ปฏิบัติต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความเหมาะสมและตรงกับสัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ทั้งสิ้น หากผู้ใดนำเอากฎเกณฑ์เหล่านี้มายึดถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของเขาแล้วไซร้ ความสมบูรณ์แบบก็จะประสบแก่เขาอย่างหลีกเลี่ยงเสียมิได้

องค์ประกอบของศาสนาอิสลามแบ่งออกเป็น ๓ ด้านด้วยกัน คือ

หลักความเชื่อ หรือหลักอุซุลุดดีน หมายถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเชื่อศรัทธา ที่มุสลิมจะต้องยอมรับด้วยเหตุและผลอันเป็นพื้นฐานสำคัญแห่งอิสลาม ซึ่งจะต้องไม่เชื่อหรือคล้อยตามความเชื่อของบุคคลอื่น    (ตักลีด)  

หลักการปฏิบัติ  หรือหลักฟุรูอุดดีน หมายถึงหลักศาสนบัญญัติต่าง ๆ ที่มุสลิมทุกคนต้องนำมาปฏิบัติหรือละเว้นการกระทำ ซึ่งถูกเรียกว่า อะฮฺกาม  และสำหรับบุคคลที่ไม่ได้เป็นมุจญ์ตะฮิด (ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจญ์ตะฮิดขั้นสูงสุด

จริยธรรมศาสตร์ (อัคลาก) หมายถึงการปฏิบัติตัวเองให้สอดคล้องกับหลักการศาสนา (ชะริอะฮฺ) โดยเน้นไปที่การพัฒนาและยกระดับจิตใจ

หลักการปฏิบัติ

ดังนั้นผู้มีหน้าที่ในการปฏิบัติศาสนกิจ (มุกัลลัฟ) ทุกคนจำเป็นต้องรักษาภารกิจอันเป็นภาคปฏิบัติ  (อะฮฺกาม)  ของตนให้สอดคล้องตรงกับหลักศาสนบัญญัติอย่างสมบูรณ์ ซึ่งการที่จะบรรลุไปถึงเกณฑ์ดังกล่าวนั้นมีอยู่ด้วยหลายวิธีด้วยกันกล่าวคือ

หลักการ อิจติฮาด หมายถึงการนำเอากฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติมาวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยความออกมาโดยความรู้,ความสามารถและความเข้าใจจากพื้นฐานอันเป็นแหล่งที่มาของการวินิจฉัยทั้ง ๔ ได้แก่ อัลกรุอาน ซุนนะฮ (ฮะดีซหรือแบบฉบับของท่านศาสดา) อิจญะมะฮฺ (ความเห็นชอบและสอดคล้องกันของมุจญ์ตะฮิดร่วมสมัยหรือสมัยก่อน) และอักล์ (สติปัญญา)

การตักลีด  หมายถึงการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดในสมัยของตน นักปราชญ์ของอิสลามที่สามารถค้นคว้าหาเหตุผล และวินิจฉัยอะฮฺกามของศาสนาได้เรียกว่า “มุจญ์ตะฮิด” หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญนิติศาสตร์อิสลาม ส่วนการค้นคว้าของท่านเรียกว่า “การอิจติฮาด” ผู้ที่ย้อนกลับไปหามุจญตะฮิดเพื่อตรวจสอบหน้าที่ของตนเรียกว่า “มุก็อลลิด” ส่วนการย้อนไปหามุจญ์ตะฮิดเพื่อดูคำวินิจฉัยและนำมาปฏิบัติเรียกว่า “การตักลีด” ดังนั้น การตักลีดจึงหมายถึงการปฏิบัติตามมุจญ์ตะฮิดเฉพาะในเรื่องฟุรูอุดดีน (การอิบาดะฮฺ นะมาซ ศีลอด ซะกาต คุมซฺ ฮัจญ์ และญิฮาด) การค้าขายและรวมไปถึงอะฮฺกามเรื่องอื่น ๆ เท่านั้น โดยไม่รวมไปถึงเรื่องอุซูลุดดีน (หลักความศรัทธา) เพราะไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามบุคคลใด ต้องเกิดจากพลังแห่งความเชื่อมั่นที่ไม่สงสัยของตน มิใช่เกิดจากการกระทำและความเชื่อมั่นของคนอื่น และนำมาเป็นเหตุผลของตน

การอิฮฺติยาฏ หมายถึงการปฏิบัติศาสนกิจไปตามความเชื่อมั่นของตนเองสำหรับบุคคลที่เป็นมุจญ์ตะฮิด โดยต้องมั่นใจว่าไม่มีความผิดพลาดใด ๆ ในการปฏิบัติ

มุกัลลัฟ หมายถึงใคร

มุกัลลัฟ คือบุคคลผู้ที่จำเป็น (วาญิบ) ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สอดคล้องตามศาสนบัญญัติย่างครบสมบูรณ์ โดยมิให้ขาดตกบกพร่อง มุกัลลัฟ ต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการดังต่อไปนี้

๑. ต้องมีอายุครบตามศาสนบัญญัติ (บาลิฆ)

๒. ต้องมีสติสัมปชัญญะ มิใช่คนวิกลจริต

๓. ต้องมีความสามารถที่จะปฏิบัติในภารกิจนั้น ๆ

ดังนั้น บุคคลที่มีเงื่อนไขทั้ง ๓ ประการดังกล่าวมา จำเป็น (วาญิบ)  ต้องปฏิบัติภารกิจของตนให้สอดคล้องตามศาสนบัญญัติอย่างเข้มงวด แต่ถ้าไม่ปฏิบัติถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า จะต้องถูกลงโทษไปตามบทบัญญัติ

บุคคลที่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ

บุคคลที่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (หรือ มุกัลลัฟ) ต้องมีสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จาก  ๓ ประการดังต่อไปนี้

๑. อสุจิได้เคลื่อนออกมาไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม

๒. มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ  

๓. มีอายุอยู่ในเกณฑ์บังคับทางศาสนบัญญัติ ถ้าเป็นผู้ชายต้องมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์  ส่วนผู้หญิงต้องมีอายุครบ ๙ ปีบริบูรณ์

ข้อพึงสังเกต  การบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติไม่จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์ครบทั้ง ๓ ประการ แค่มีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งอย่างใดก็เพียงพอ อย่างเช่น ถ้ามีน้ำอสุจิเคลื่อนออกมาตอนอายุ ๑๓ ปี ให้เริ่มนับว่าเด็กคนนั้นได้เข้าสู่วัยบาลิฆแล้วไม่จำเป็นต้องรอ จนอายุครบ ๑๕ ปี

ประเภทของอะฮฺกาม

ทุกอิริยาบถและการกระทำของคนเรา วางอยู่ ๑ ใน ๕ กฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้

วาญิบ  หมายถึงสิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ หากละเว้นถือว่ามีความผิด ต้องถูกลงโทษตามศาสนบัญญัติ เช่น นะมาซ การถือศีลอดและอื่น ๆ เป็นต้น

ฮะรอม หมายถึงสิ่งจำเป็นต้องละเว้น ถ้าหากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิด ต้องถูกลงโทษ เช่น การพูดโกหก การลักขโมย, การนินทาว่าร้าย และอื่น ๆ

มุซตะฮับ หมายถึงสิ่งที่สมควรปฏิบัติ หรือสนับสนุนให้ปฏิบัติ ซึ่งมีผลบุญมากมาย แต่ถ้าไม่ปฏิบัติจะไม่ถูกลงโทษ เช่น การบริจาคทาน

มักรูฮฺ หมายถึงสิ่งที่ไม่สมควรปฏิบัติและไม่สนับสนุนให้ปฏิบัติ แต่ถ้าหากปฏิบัติจะไม่ถูกลงโทษ  เช่น การหัวเราะเสียงดัง

มุบาฮฺ   หมายถึงการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติมีผลเท่าเทียมกัน เช่น การเดิน การนั่งยามปกติทั่ว ๆ ไป

อิจติฮาด และการตักลีด

ฮิจติฮาด ( اجتهاد ) ตามหลักภาษาหมายถึง การเพียรพยายาม ความเหนื่อยยาก ลำบาก   แต่ตามหลักศาสนบัญญัติหมายถึง  การนำเอากฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติมาวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยความออกมาบนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังนั้น บุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาเรียกว่า มุจญ์ตะฮิด (ผู้วินิจฉัยบทบัญญัติอิสลาม)

พื้นฐานสำคัญ ๔ ประการในการวินิจฉัย

๑. พระมหาคัมภีร์อัล-กรุอาน

๒. แบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์ (อาจเป็นคำพูด การกระทำ และการนิ่งเฉย)

๓. สติปัญญา ( العقل )

๔. การเห็นพร้องต้องกันของเหล่าบรรดา  ฟุเกาะฮา (นักปราชญ์ผู้วินิจฉัยปัญหาศาสนาขั้นสูงสุด)

ปฐมบทการอิจติฮาด

ความรู้ที่เป็นพื้นฐานในฐานะของบทนำการอิจติฮาด ที่ต้องเรียนรู้ก่อนที่จะไปถึงขั้นการอิจติฮาดได้แก่

๑. ความรู้ด้านภาษาอาหรับ ซึ่งครอบคลุมวิชาเหล่านี้

- อิลมุล ซะรอฟ วิชาที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในปรโยคและวะลี

- อิลมุลนะฮฺวุ การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา

- อิลมุลมะอานี ศิลปะการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารได้อย่างถูกต้อง (วาทศาสตร์) หรือบางครั้งก็เรียก วาทศิลป์ เหมือนกัน

-อิลมุลลุเฆาะฮฺ การเข้าใจความหมายของคำอย่างถูกต้อง

๒.อิลมุล มันติก วิชาที่สอนให้คิดอย่างถูกต้อง (ตรรกศาสตร์)

๓.อิลมุลอุซูล  หลักการ หรือกฎที่ใช้เป็นมูลฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแนวคิด หรือกฎที่ใช้พิสูจน์อะฮฺกามชัรอียฺ

๔.อิลมุลริญาล วิชาที่สอนให้รู้จักบุคคล ฮะดีซ (สายสืบ และผู้รายงานฮะดีซ)

๕.อิลมุลดิรอยะฮฺ วิชาทีสอนให้รู้จักความหมาย และความเข้าใจเกี่ยวกับฮะดีซ และการแยกแยะระหว่างฮะดีซแท้กับฮะดีซปลอม

๖.อุลูมกุรอาน ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัลกุรอาน ตัฟซีร และสาเหตุที่ประทานโองการ..

๗. นอกจากนั้นยังต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของสังคม ภาษาของประชาชานที่อัล-กุรอานและซุนนะฮฺกล่าวถึง

๘.ต้องเข้าใจทัศนะของนักปราชญ์รุ่นก่อน เพื่อจะได้ไม่เกิดความแตกต่างในสังคม

๙. ต้องศึกษาและวิเคราะห์คำวินิจฉัยของนักปราชญ์ฝ่ายอฮฺลิซซุนนะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่มีความขัดแย้ง

๑๐. มีความเพียรพยายามสูงในการศีกษาค้นคว้า และพิสูจน์อฮฺกามชัรอียฺจนเป็นความสามารถพิเศษที่เคยชิน

การศึกษาวิชาการข้างต้น กับเงื่อนไขที่จำเป็น บุคคลที่เป็นมุจญ์ตะฮิดต้องปฏิบัติตามการวินิจฉัยของตน ถ้าหากว่ามุจญ์ตะฮิดเกิดความผิดพลาดในการพิสูจน์หลักฐานและการวินิจฉัยของตน ถือว่าตกการเป็นมุจตะฮิด

ประเภทของการอิจติฮาด

การอิจติฮาด  (การวินิจฉัยปัญหาศาสนา) ของมุจญ์ตะฮิด ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะกล่าวคือ

๑.การวินิจฉัยอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือการนำกฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติมาวิเคราะห์

วิจัยได้ทั้งหมด ซึ่งเรียกท่านเหล่านี้ว่า  มุจญ์ตะฮิดมุฏลัก   (ผู้เชี่ยวชาญที่สมบูรณ์)

๒.การวินิจฉัยในระดับรอง หมายถึงการนำกฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติมาวิเคราะห์วิจัยได้เพียงบางส่วน ซึ่งเรียกท่านเหล่านี้ว่า มุจญ์ตะฮิดมุตะยัซซิฮ์ (ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่สมบูรณ์)

ข้อพึงสังเกต

๑.การ อิจติฮาด เป็นวาญิบกิฟาอียฺ หมายถึง ถ้าหากมีบุคคลหนึ่งทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นสำหรับคนอื่นที่ต้องทำอีกต่อไป แต่ถ้าทั้งหมดละเว้นถือว่าต้องได้รับโทษโดยเท่าเทียมกัน

๑.บุคคลที่ไม่มีความสามารถออกฟัตวาได้ (วินิจฉัยปัญหาศาสนา) เป็นฮะรอม หากเขาได้ออกฟัตวา

การตักลีด

การตักลีด ตามปทานุกรมหมายถึง การปฏิบัติตาม ในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติศาสนกิจตามคำวินิจฉัยของผู้มุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด ซึ่งมีกฎเกณฑ์  ดังต่อไปนี้

๑.บุคคลใดก็ตามที่ไม่ได้เป็นมุจญ์ตะฮิด และไม่สามารวินิจฉัยปัญหาศาสนบัญญัติได้   เป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามมุจญ์ตะฮิด

๒.หน้าที่ของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัญหาศาสนบัญญัติคือ ต้องปฏิบัติตามคำวินิฉัยของมุจญ์ตะฮิด เพราะคนส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถวินิจฉัยปัญหาศาสนาได้ด้วยตัวเอง

๓. มุจญ์ตะฮิดที่วินิจฉัยปัญหาศาสนาขั้นสูงสุดได้ และมีผู้ปฏิบัติตามท่าน เรียกว่า มัรญิอฺตักลีด

มุจญ์ตะฮิดที่วินิจฉัยปัญหาศาสนา (มัรญิอฺตักลีด) ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

๓.๑ ต้องเป็นผู้มีความยุติธรรมและมีคุณธรรม (ไม่ทำบาปทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่)

๓.๑ ต้องมีชีวิต

๓.๓ ต้องเป็นเพศชาย

๓.๔ ต้องบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ

๓.๕ ต้องเป็นมุสลิมในนิกายชีอะฮฺอิมามียะฮฺ

๓.๖ เป็น อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องเป็นผู้มีความรู้สูงสุดในทางศาสนา*

*อายะตุลลอฮฺอะลี คอเมเนอี เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบต้องมีอำนาจเหนืออารมณ์ใฝ่ต่ำ และการละเมิดของตน กรณีที่ฟัตวาของมุจญ์ตะฮิดอะอฺลัมขัดแย้งกับการอิฮฺติยาฏวาญิบ และฟัตวาของมุจญ์ตะฮิดไม่อะอฺลัมสอดคล้องกับหลักอิฮฺติยาฏ ในกรณีเช่นี้ไม่จำเป็นต้องตักลีดตามมุจณ์ตะฮิดที่อะอฺลัม

๓.๗ ต้องไม่มีความละโมบ ต่อลาภยศสรรเสริญ

คุณสมบัติของมุจญ์ตะฮิด

๑.ต้องมีความยุติธรรม หมายถึงระดับหนึ่งของตักวา (ยำเกรง) ต่อพระผู้เป็นเจ้า พึงระวังความประพฤติปฏิบัติไปตามกฎข้อบังคับของศาสนาอย่างเคร่งครัด และออกห่างจากสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย สัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีคุณธรรมคือ การไม่ทำบาปทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง*

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี อาดิล หมายถึงผู้ยับยั้งตนเองให้ออกห่างจากการทำบาปไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือหลงลืมก็ตาม

๒. ผู้รู้ขั้นสูงสุด หมายถึง  ผู้ที่รอบรู้ที่สุดในการวินิจฉัยศาสนบัญญัติทางศาสนา (จากอัล-กรุอาน และซุนนะฮฺ) *

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี ผู้ที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงบุคคลที่นอกจากจะมีความรอบรู้ในเรื่องศาสนาแล้ว ยังต้องรอบรู้ทันโลกและทันเหตุการณ์

๓. ไม่อนุญาตให้เริ่มต้นตักลีดเป็นครั้งแรก (อิบติดาอี)  กับมุจญ์ตะฮิดที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว*   ถึงแม้ท่านจะเป็นผู้ที่มีความรู้สูงกว่ามุจญ์ตะฮิดท่านอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี  อิฮฺติยาฎวาญิบ ไม่อนุญาต

๔. อนุญาตให้คงสภาพการตักลีดกับมุจญ์ตะฮิดที่ถึงแก่กรรมไปแล้วได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากมุจตะ-ฮิดที่ยังมีชีวิตอยู่

๕.สำหรับบุคคลที่คงสภาพการตักลีดกับมุจญ์ตะฮิดที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ในกรณีที่มีปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้น  เซ่น   การทำฮัจญ์ ทำญิฮาดและอื่น ๆ   จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามคำฟัตวาของมุจญ์ตะฮิดที่ซีวิตอยู่

๖.อิสลามได้กำหนดหน้าที่ให้แก่บุรุษและสตรี ตามความเหมาะสมกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ และได้ยกหน้าที่การเป็นมัรญิอฺตักลีดออกจากสตรี แต่อิสลามก็มิได้ปฏิเสธสิทธิของสตรีแต่อย่างใด  ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงอนุญาตให้สตรีศึกษาถึงขั้นวินิจฉัยได้ เพื่อเป็นครรลองในการปฏิบัติกับตัวเองได้โดยไม่ต้องตักลีดตามผู้อื่นอีกต่อไป

๗. จำเป็นสำหรับมุกัลลัฟ ที่ต้องทำการรู้จักมุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด ไปตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ซึ่งจะกล่าวต่อไป 

๘. มุสลิมจะต้องไม่คล้อยตามกันในเรื่องการตักลีด เช่น ภรรยาไม่สามารถปฏิบัติตามสามีได้ในเรื่องการตักลีด  ดังนั้น ถ้าหากนางสามารถรู้จักมุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดได้   และตักลีดตามมุจญ์ตะฮิดนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับสามีตามก็ตาม ใช้ได้

การตักลีด 

มุจญ์ตะฮิด ที่มีความรู้ขั้นสูงสุด สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง  ดังต่อไปนี้

๑ มีความมั่นใจด้วยตัวเอง เช่น เป็นผู้รู้ที่สามารถรู้จักมุจญ์ตะฮิดผู้มีความรู้ขั้นสูงสุด ได้

๒ จากการบอกเล่าของมุจญ์ตะฮิดที่อาดิล ๒ ท่านโดยมีข้อแม้ว่ามุจญ์ตะฮิดที่อาดิลท่านอื่นจะต้องไม่มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับมุจญ์ตะฮิด ๒ ท่านนี้*

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี เพียงแค่ผู้นั้นมั่นใจว่าตนเองเป็นมัรญิอฺที่มีความรู้สูงสุด เป็นการเพียงพอ  

๓ จากการบอกเล่าของกลุ่มผู้รู้ที่สามารถแยกแยะ มุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้ขั้นสูงสุดได้ และเรามีความเชื่อมั่นในคำพูดเหล่านั้น

๒.แนวทางในการรู้จักฟัตวา (คำวินิจฉัย) และหลักปฏิบัติของมุจญ์ตะฮิด

๑. ได้ยินจากมุจญ์ตะฮิด

.ได้ยินจากคำบอกเล่าของมุจญ์ตะฮิดที่มีความอาดิล ๒ ท่าน

๓. ได้ยินจากการบอกเล่าของผู้ที่เชื่อถือได้ในคำพูดของเขา

๔. ได้เห็นฟัตวาในเอกสารหรือหนังสือริซาละฮฺของท่าน

. ถ้าหากมุจญ์ตะฮิด ทีมีความรู้สูงมิได้ออกคำวินิจฉัยในปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง อนุญาตให้ผู้ที่ตักลีดตามท่าน ปฏิบัติตามคำฟัตวาของมุจญ์ตะฮิดท่านถัดไปได้

.ถ้าหากมุจญ์ตะฮิดเปลี่ยนแปลงฟัตวา ผู้ปฏิบัติตามต้องปฏิบัติตามฟัตวาใหม่ ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามฟัตวาเดิม

การเปลี่ยนตักลีด  (อุดูล)

อุดูล ( عدولหมายถึง     การเปลี่ยนตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดท่านหนึ่งไปยังอีกท่านหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากมุจญ์ตะฮิดคนเดิม มีรายละเอียดและกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้

.เป็น อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดที่ไม่ใช่อะอฺลัม (ผู้ที่มีความรู้สูงสุด) ไปยังมุจญ์ตะฮิดที่อะอฺลัมกว่า

๒.ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดที่อะอฺลัม ไปยังมุจญ์ตะฮิดที่ไม่อะอฺลัม

. ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนการตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดท่านหนึ่งไปยังอีกท่านหนึ่ง ที่มีความรู้เท่าเทียมกัน*  ในลักษณะที่เคยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจญ์ตะฮิดท่านนั้นมาก่อนแล้ว

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี เป็นอิฮฺติยาฎวาญิบ ตราบเท่าที่มุจญ์ตะฮิดที่ตนตักลีดยังมีชีวิตอยู่ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตักลีดไปยังท่านอื่น เว้นเสียแต่ว่าขาดคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไป

.เป็นวาญิบ ต้องเปลี่ยนตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดที่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน เมื่อทราบว่าท่านไม่มีคุณสมบัติอีกต่อไป

.เป็นวาญิบ ต้องเปลี่ยนตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดท่านหนึ่งไปยังอีกท่านหนึ่งที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ ถ้าหากมุจญ์ตะฮิดที่ปฏิบัติตามขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง เช่น  โกหก ความจำเสื่อม หรือกลายเป็นคนวิกลจริต และคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่ได้กล่าวาแล้ว

. เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ ให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดในตอนแรกไปยังมุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้สูงกว่าในปัจจุบัน

. อนุญาต (เป็นอิฮฺติยาฏมุซตะอับ) ให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดที่ตักลีดอยู่  ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ไปยังมุจญ์ตะฮิดที่มีชีวิต *

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี เป็นอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ ให้คงสภาพตักลีดกับมุจตะฮิดที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่มีความรู้มากกว่ามุจตะฮิดที่มีชีวิต

. เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญ์ตะฮิดที่มีชีวิตไปยัง มุจญ์ตะฮิดที่ถึงแก่กรรมแล้ว ถึงแม้ว่าจะเคยตักลีดตามมุจญ์ตะฮิดท่านนั้นอยู่ก็ตาม     

ความแตกต่างระหว่าง อิฮฺติยาฏวาญิบกับอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ

อิฮฺติยาฏมุซตะฮับ (อิฮฺติยาฎหมายถึงข้อพึงระวัง) จะควบคู่กับคำฟัตวาเสมอกล่าวคือ หลังจากมุจญ์ตะฮิดได้ออกฟัตวาแล้ว  ท่านได้มีทัศนะให้อิฮฺติยาฏสำหรับผู้ที่ตักลีดตามท่าน หมายถึงผู้ปฏิบัติตามสามารถเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างคำฟัตวากับการอิฮฺติยาฏ แต่ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามคำฟัตวาของมุจญ์ตะฮิดท่านอื่น เช่น บุคคลหนึ่งไม่ทราบว่าร่างกายหรือเสื้อผ้าของเขาเป็นนะยิซก่อนนะมาซ  ซึ่งมาทราบหลังจากนะมาซเสร็จแล้วนะมาซถูกต้อง แต่เป็นอิฮฺติยาฏให้นะมาซใหม่ หากยังมีเวลาเหลือ

 อิฮฺติยาฏวาญิบ  จะไม่มาพร้อมกับฟัตวา  ดังนั้นมุกัลลิดต้องปฏิบัติตามคำฟัตวาเพียงอย่างเดียว หรือปฏิบัติตามคำฟัตวาของมุจญ์ตะฮิดท่านอื่น (กรณีที่มุจญ์ตะฮิดที่ตักลีดอยู่ไม่ได้ออกฟัตวาหรือให้อิฮฺติยาฎ) เช่นฟัตวาที่ว่าเลือดที่อยู่ในไข่ไก่ไม่เป็นนะยิซ แต่เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้หลีกเลี่ยงการบริโภค