ศาสนาธรรมชาติคืออะไร
ศาสนาธรรมชาติคืออะไร
เมื่อเรากล่าวถึงศาสนาธรรมชาติ นั้นหมายถึงราก
รากและกิ่งก้านของศาสนา จริยธรรม วิชาการ และพื้นฐานของศาสนาซึ่งเข้ากันได้กับธรรมชาติของมนุษย์ได้ ฉะนั้น รอยยิ้มก็คือรางวัลส่วนความโกรธก็คือ การลงโทษต่อการกระทำของท่าน และสิ่งนี้ตรงกันข้าม
แน่นอน แนวทางในการแสดงความเคารพภักดี เช่น นมาซ สมควรปฏิบัติอย่างไร มีขั้นตอนการปฏิบัติ และสมควรกล่าวด้วยภาษาอะไร จำเป็นต้องปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว หมายถึงพิจารณาดูว่าบรรดา ผู้ชี้นำศาสนาปฏิบัติอย่างไร หรือทำแบบอย่างอันใดไว้ให้เราปฏิบัติตาม ฉะนั้น ตามหลักการของศาสนาที่มีพื้นฐานเป็นธรรมชาติจำเป็นต้องมี 2 หลักการควบคู่กัน กล่าวคือ การเชื่อฟังโดยดุษณี และการใช้สติปัญญาหยั่งคิดหาเหตุผลและเหตุปัจจัยต่าง ๆ
ธรรมชาติในมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน
คำว่า ธรรมชาติ หรือฟิฏรัต ปรากฏใน อัล-กุรอานเพียงครั้งเดียว แต่อัล-กุรอาน หลายโองการกล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับฟิฏรัต (ธรรมชาติ) ซึ่งจะขอนำเสนอเป็นสังเขปดังนี้
1. โองการที่กล่าวว่า ผู้ที่ซื้อทางหลงผิด ด้วยทางแห่งทางนำ
أُوْلَئِكَ الَّذِينَ اشْتَرُوُاْ الضَّلاَلَةَ بِالْهُدَى
(อัล-กุรอาน บท อัลบะเกาะฮฺ โองการที่ 16) เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีมีหนทางแห่งทางนำอันเป็นธรรมชาติอยู่ในตัว แต่น่าเสียดายว่าพวกเขาได้เปลี่ยนมันด้วยหนทางแห่งการหลงผิด
2. โองการที่กล่าวว่า พวกเขาได้ลืมพระเจ้า
نَسُواْ اللّهَ فَنَسِيَهُمْ
(อัล-กุรอาน บท อัตเตาบะฮฺ โองการที่ 67) เป็นการบ่งบอกให้เห็นว่าพวกเขามีความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแต่พวกเขาได้หลงลืม
3. โองการที่กล่าวให้มนุษย์หันกลับมาพิจารณาตนเอง เช่น กล่าวว่า โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย สูเจ้าจำเป็นต้องปกป้องตัวเอง
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ عَلَيْكُمْ أَنفُسَكُمْ
(อัล-กุรอาน บท อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 105)
หรือโองการที่กล่าวคล้ายกันว่า สูเจ้ากำชับให้ผู้อื่นกระทำความดีโดยที่สูเจ้าลืมตัวเองกระนั้นหรือ
أَتَأْمُرُونَ النَّاسَ بِالْبِرِّ وَتَنسَوْنَ أَنفُسَكُمْ
(อัล-กุรอาน บท อัลบะเกาะฮฺ โองการที่ 44)
4. โองการที่กล่าวอธิบายถึงการสำนึกผิดของมนุษย์ เช่น โอ้ ความวิบัติพึงมีแก่ฉัน หากฉันไม่คบกับ (คนหลงผิด) เป็นเพื่อน
يَا وَيْلَتَى لَيْتَنِي لَمْ أَتَّخِذْ فُلَانًا خَلِيلًا
(อัล-กุรอาน บท อัลฟุรกอน โองการที่ 28)
5. โองการที่กล่าวถึงการตักเตือน และการเตือนสำทับต่าง ๆ เช่น จงเตือนพวกเขาให้รำลึกถึงวันของอัลลอฮฺ
وَذَكِّرْهُمْ بِأَيَّامِ اللّهِ
(อัล-กุรอาน บท อิบรอฮีม โองการที่ 5)
หรือที่กล่าวว่า และจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงการตักเตือนจะให้ประโยชน์แก่บรรดาผู้ศรัทธา
وَذَكِّرْ فَإِنَّ الذِّكْرَى تَنفَعُ الْمُؤْمِنِينَ
(อัล-กุรอาน บท อัซซารียาต โองการที่ 55)
6. คำถามต่าง ๆ ที่อัล-กุรอานได้ถามมนุษย์ ซึ่งคำถามต่าง ๆ เหล่านั้นบ่งชี้ให้เห็นว่าจิตใจด้านในของมนุษย์รู้เรื่องราวและมีความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้นอย่างดี อัล-กุรอานจึงทวงถามพวกเขา เช่น บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่ใคร่ครวญ
هَلْ يَسْتَوِي الَّذِينَ يَعْلَمُونَ وَالَّذِينَ لَا يَعْلَمُونَ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُوا الْأَلْبَابِ
(อัล-กุรอาน บท อัซซุมัร โองการที่ 9)
7. โองการที่กล่าวถามในเชิงปริศนาว่า สูเจ้าจะเดินทางไปไหนกัน เช่น ทำไมพวกเจ้าจึงถูกหันเหออกจากพระองค์เล่าว่า
فَأَنَّى تُؤْفَكُونَ
(อัล-กุรอาน บท อัลฆอฟิร โองการที่ 62) โองการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นไม่เหมือนกับภาชนะว่างเปล่าที่จะนำสิ่งของจากภายนอกไปเติมให้เต็ม ทว่ามนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดด้านในมีจิตใจที่สูงส่ง
8. โองการที่กล่าวว่ามนุษย์นั้นรู้จักจิตใจของตนเป็นอย่างดี เช่นกล่าวว่า ทว่า มนุษย์นั้นรู้สภาพตัวของเขาเอง
بَلِ الْإِنسَانُ عَلَى نَفْسِهِ بَصِيرَةٌ
(อัล-กุรอาน บท อัลกิยามัต โองการที่ 14)
9. โองการที่กล่าวถึงพันธะสัญญาที่มนุษย์ได้ให้ไว้แก่พระองค์ว่า พวกเจ้ามิได้ให้สัญญาแก่เราดอกหรือ
أَلَمْ أَعْهَدْ إِلَيْكُمْ يَا بَنِي آدَمَ
(อัล-กุรอาน บท ยาซีน โองการที่ 60 )
คำถาม อาจมีผู้ถามว่า ถ้าหากการเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวเป็นฟิฏรัต (ธรรมชาติ) ของมนุษย์แล้ว ทำไมมนุษย์บางจำพวกจึงไม่เชื่อในพระเจ้า และไม่นับถือศาสนา
คำตอบ ศาสนาเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ แต่อาจเป็นไปได้ที่ว่ามนุษย์นั้นผิดพลาดในการจำแนกแหล่งที่มาของการมีอยู่ เหมือนกับเด็กทารกที่ค้นหาน้ำนมมารดาจากทรวงอก แต่ดูดน้ำนมจากเต้านมมารดา
นอกจากนั้นแล้วบางที่ภารกิจอันเป็นธรรมชาติอาจอยู่ภายใต้ความเข้าใจที่หลากหลาย
ฟิฏรัตที่คลุมเครือ
ฟิฏรัต (ธรรมชาติ) บางครั้งเปิดเผยเห็นได้อย่างชัดเจนแต่บางครั้งก็คลุมเครือและไม่ใสสะอาด ตรงนี้จะกล่าวสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเปล่งประกายของธรรมชาติ เนื่องจากหมู่มวลเมฆและฝุ่นละอองต่างได้ครอบคลุมอยู่เหนือธรรมชาติของมนุษย์ เช่น
1.การปฏิบัติตามผู้อื่นเยี่ยงคนตาบอด
2. มุ่งหวังความเป็นอยู่ที่ดีและความเติบโตด้านวัตถุ
3. การตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ศาสดามูซา (อ.) พร้อมกับประชาชาติของท่านเข้าไปยังสถานที่แห่งหนึ่งที่ยังเคารพรูปปั้นบูชา ประชาชาติของมูซา (อ.) ได้มองไปยังประชนเหล่านั้น ทำให้เทวรูปต่าง ๆ ที่ซ่อนไว้ล่วงหล่นลงมา พวกเขากล่าวแก่ศาสดามูซา ว่า
يَا مُوسَى اجْعَل لَّنَا إِلَهًا كَمَا لَهُمْ آلِهَةٌ قَالَ إِنَّكُمْ قَوْمٌ تَجْهَلُونَ
โอ้ มูซาจงประดิษฐ์พระเจ้าแก่พวกเราสักองค์หนึ่ง เช่นเดียวกับที่พวกเขามีสิ่งเคารพสักการะ (อัล-กุรอาน บท อัลอะอฺรอฟ โองการที่ 138)
4. มิตรไม่ดี ตั้งมากน้อยเพียงใดที่บุคคลหนึ่งเข้าใจว่าความดีและความชั่วเป็นอย่างไร แต่ว่ามิตรไม่ดีได้ชักจูงให้หลงผิดออกไป อัล-กุรอาน กล่าวถึงมนุษย์ที่หลงทางและผิดว่า ในวันแห่งการตัดสินพวกเขาจะโอดครวญว่า
يَا وَيْلَتَى لَيْتَنِي لَمْ أَتَّخِذْ فُلَانًا خَلِيلًا لَقَدْ أَضَلَّنِي عَنِ الذِّكْرِ
โอ้ความวิบัติพึงมีแก่ฉัน หากฉันไม่คบกับ (คนหลงผิด) เป็นมิตร แน่นอน เขาได้ทำให้ฉันหลงผิดจากการตักเตือน (อัล-กุรอาน บท อัลฟุรกอน โองการที่ 28 - 29)
5. การเผยแผ่เชิญชวนที่ในทางผิด อาจเป็นไปได้ที่บุคคลหนึ่งอาจหลงผิดไปเนื่องจากการเชิญชวนที่เลวร้าย ทำให้สิ่งผิดกลายเป็นสิ่งถูก หรือทำสิ่งถูกให้กลายเป็นความผิด เช่น การการเผยแผ่ของฟาโรห์ที่อ้างตนเองว่าเป็นพระเจ้า โดยกล่าวว่า ข้าคือพระเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันของประชาชาติในยุคนั้น
6. การขู่บังคับและสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้น จนกระทั่งเบี่ยงเบนจิตใจออกไปจากคำสอนของศาสนา
7. ตนเองพ่ายแพ้ต่อแนวความคิดของแนวทางอื่น
8. การปฏิบัติตามนักนักมายกลหรือนักแสดงที่หลงทาง เช่น ขณะที่ท่านศาสดามูซา (อ.) เดินทางไปยังเขาซิไน เพื่อวิงวอนขอพรและรอรับวิวรณ์จากพระผู้เป็นเจ้า ซามิรีย์ ซึ่งเป็นนักมายากล เขาหยิบฉวยโอกาสในตอนนั้นปั้นลูกวัวขึ้นมาเพื่อเคารพบูชา อัล-กุรอาน กล่าวว่า ซามิรีย์ได้ปั้นลูกวัวขึ้นมาเป็นรูปร่างมีเสียงร้อง พวกเขาจึงกล่าวว่านี่ คือ พระเจ้าของพวกท่านและพระเจ้าของมูซา แต่เขาลืมหมดสิ้น
9. การยอมรับชนส่วนมาก บางครั้งรู้ว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด แต่เนื่องจากชนส่วนใหญ่ยอมรับ และเพื่อให้เข้ากับคนอื่นได้โดยไม่ต้องการให้ตนเป็นแกะดำแต่เพียงผู้เดียว จึงได้ทำตามชนส่วนใหญ่
10. การยุแหย่ของชาตาน
11. การได้ยินคำร่ำลือ บางครั้งเสียงร่ำลือของบุคคลอื่นก็มีอิทธิพลกับตนเองถึงขนาดที่ว่ายอมละทิ้งการรับข้อมูลที่ถูกต้อง
12. อำนาจใฝ่ต่ำ การตกอยู่ภายใต้อำนาจใฝ่ต่ำและการปฏิบัติตามอารมณ์ของตนเอง ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญทีขัดขวางการยอมรับสิ่งที่เป็นธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์
ปัจจัยที่ทำให้ธรรมชาติเปล่งบาน
สิ่งสำคัญที่อยู่ตรงกันข้ามกับปัจจัยที่ทำให้ธรรมชาติของมนุษย์สูญสิ้นไป คือ ปัจจัยหนึ่งที่เสริมสร้างให้ธรรมชาติของมนุษย์เปล่งบาน สิ่งนั้นพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้ประทานแก่มนุษย์ ทรงสร้างสรรค์มันให้มีความบรรเจิด ซึ่งจะขอนำเสนอบางประการ เช่น
1. ความหยั่งรู้ถึงภยันตราย บางครั้งมนุษย์เราตราบที่ยังสัมพันธ์อยู่กับมวลมิตร อำนาจ บารมี ทรัพย์สินและลาภยศต่าง ๆ หรือได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนฝูงเสมอ เขาจะไม่ใส่ใจต่อการรำลึกถึงพระเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของตน แต่ถ้าเมื่อใดที่เขาถูกตัดขาดจากสิ่งเหล่านี้ หรือสิ้นหวังจากการช่วยเหลือของมวลมิตร เขาจะหยั่งรู้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตนทันที่ และเมื่อนั้นเขาจะย้อนกลับไปหาธรรมชาติดั้งเดิมทันที่
2. อุปสรรคต่าง ๆ การเผชิญหน้ากับอุปสรรคปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ย้อนกลับไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมของตน
3. การรำลึกถึงความโปรดปรานของพระเจ้า การเอาใจใส่ การคิดใคร่ครวญ และพิจารณาในความโปรดปรานของพระเจ้าก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ธรรมชาติของมนุษย์เปล่งบาน