Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
ความสำคัญของศาสนา

มนุษย์มีความต้องการในศาสนาหรือ

2016/06/12

มนุษย์มีความต้องการในศาสนาหรือ

มนุษย์มีความต้องการในศาสนาหรือ
ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าวจำเป็นต้องกล่าวถึงความต้องการของมนุษย์เสียก่อน กล่าวคือ
ความต้องการของมนุษย์ทุกคนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1-ความต้องการส่วนตัว
2-ความต้องการด้านสังคม
3- ความต้องการขั้นสูงสุด
ความต้องการส่วนตัวได้แก่ ความต้องการในอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และภรรยาหรือสามี
ความต้องการด้านสังคม หมายถึงภารกิจหนึ่งอันเนื่องมาจากมนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคม มนุษย์จึงมีความต้องการนั้น เช่น กฎหมาย หรือกฎระเบียบของสังคม และผู้นำ
ความต้องการขั้นสูงสุด หมายถึงความต้องการในการรู้จัก ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับตัวเอง การมีอยู่ของสรรพสิ่งอื่น และมีความปรารถนาที่จะรู้จักสรรพสิ่งอื่นอีกมากมาย และต้องการมีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นไว้ในมือ เช่น การรู้การมีอยู่ การเริ่มต้นของสิ่งนั้น การรู้จักเป้าหมายของการมีอยู่ และจุดหมายปลายทาง การรู้จักแนวทางในการดำเนินชีวิต การรู้จักสัจธรรมความจริง สิ่งที่เป็นโมฆะ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นความต้องการของมนุษย์ทั้งสิ้น

มนุษย์ต้องการศาสนาเพื่ออะไรหรือ
คำตอบ ในหมู่ความต้องการทั้งหลายแหล่เหล่านั้น ศาสนาคือคำตอบสำหรับความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์ทุกคนหากต้องการค้นหาคำตอบสำหรับคำถามขั้นสูงสุดของตน จำเป็นต้องพึ่งศาสนา เพราะศาสนาเท่านั้นที่สามารถให้คำตอบที่สมบูรณ์แก่คำถามข้างต้นได้ ศาสนาสามารถอธิบายตอบคำถามแก่เราได้ว่า จุดเริ่มต้นของการมีอยู่นั้นมาจากที่ใด พระผู้ทรงสร้างมวลสรรพสิ่งทั้งหลายนั้นเป็นใคร เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิตคืออะไร มาตรฐานในการรู้จักสัจธรรมคืออะไร และสุดท้ายบทบาทหน้าที่ของเราต่อสิ่งเหล่านี้คืออะไรหนทางใดหรือ
เราผู้เป็นมนุษย์ทั้งหลายต้องการโครงสร้างหนึ่งที่สามารถนำพาชีวิตของเราไปสู่ความสุขสมบูรณ์ และความเจริญเติบโตขั้นสูงสุดแก่ตนเอง ซึ่งโดยปกติแล้วมีอยู่ 3 แนวทางที่สามารถทำให้ความต้องการของมนุษย์ประสบความสำเร็จได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่ามนุษย์มีอยู่ 3 แนวทางที่อยู่ ณ เบื้องหน้าของเขา ได้แก่
มนุษย์จะกระทำทุกสิ่งบนความต้องการและรสนิยมของตนเอง
มนุษย์จะกระทำทุกสิ่ง หรือวางโครงการบนพื้นฐานของความต้องการของประชาชน
มนุษย์ยอมจำนนต่อพระเจ้า และดำเนินชีวิของตนไปตามแนวทางที่พระองค์ทรงชีนำไว้

ทางของตนเอง
ทางที่ตนเป็นผู้สร้างขึ้นมาไม่อาจมั่นใจได้เลย เนื่องจากความรู้ และข้อมูลของมนุษย์นั้นมีน้อยนิดและอยู่ในขอบเขตจำกัด ตนเห็นความผิดพลาดของตนในอดีตที่ผ่านมาอย่างมากมาย การสำนึกผิดหลายต่อหลายครั้งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ย่อมเป็นเหตุผลที่ยืนยันในเห็นถึงความผิดพลาดในหนทางที่เราเดินทางไป ซึ่งเราได้รับรู้ถึงความผิดพลาดในภายหลังไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดด้านความคิด การตัดสินปัญหาต่าง ๆ และบทสรุป
นอกจากนั้นพายุอารมณ์ยังได้ฉุดกระชากลากจูงมนุษย์จากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้าน พยายามเรียกร้องสิ่งใหม่ ๆ แก่เขาในสภาพเช่นนี้สมแล้วหรือที่มนุษย์จะเลือกแนวทางที่จะไปสู่ความผาสุกถาวรด้วยตนเอง ตามพื้นฐานความคิดที่อ่อนแอและสติปัญญาที่อยู่ในขอบเขตจำกัด

แนวทางของประชาชน
แนวทางของประชาชนเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ไม่อาจมั่นใจได้เหมือนกับแนวทางแรก เนื่องจากความผิดพลาด ความคิดที่อยู่ในขอบเขตจำกัดและความรอบรู้ที่ไม่คอบคลุม ซึ่งสิ่งนี้ก็มีอยู่ในทัศนะของบุคคลอื่นด้วยเช่นกัน
ฉันเคยตกเป็นทาสของอำนาจฝ่ายต่ำมาแล้ว บุคคลอื่นก็เช่นเดียวกัน
ฉันเคยสำนึกผิดมาแล้วหลายต่อหลายครั้งและปัจจุบันก็ยังสำนึกผิดอยู่ บุคคลอื่นก็อยู่ในสภาพเดียวกันกับฉัน
และทั้งหมดที่กล่าวมาไม่มีเหตุผลใดที่จะทำให้ข้าเปลี่ยนใจ หรือเปลี่ยนรสนิยมของข้า และไปนิยมรสนิยมต่าง ๆ ของคนอื่น ปล่อยอิสรภาพของตนให้หลุดลอยมือไปและไปเป็นทาสทางความคิดของบุคคลอื่น ทั้งที่เขาไม่รู้จักแก่นแท้ของฉัน ไม่รู้จักความสุขอันแท้จริงของฉัน และยังไม่รู้ว่าเขาจะหวังดีกับฉันจริงหรือไม่
แนวทางของศาสนาหรือแนวทางที่ดีที่สุดคือแนวทางของศาสนา
แนวทางที่พระเจ้าทรงมอบแก่เราเป็นที่รู้กันดีว่า พระผู้ทรงสร้างสรรค์สรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งไปตามความเหมาะสมและความต้องการ ที่สำคัญไปกว่านั้นทรงทราบถึงความต้องการมากกว่าบุคคลใดทั้งสิ้น และทรงสามารถกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ หรือการดูแลรักษาสิ่งนั้นดีกว่าบุคคลอื่น
ถามว่าการมีอยู่ของมนุษย์ เป็นสิ่งเล็กน้อยหรือเรียบง่ายกว่าผลิตภัณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองหรือ ดังนั้น แนวทางและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตของเราจำเป็นต้องให้พระผู้ทรงสร้างเราขึ้นมา หมายถึงพระเจ้าผู้ทรงเกริกเกียรติและเกรียงไกร เป็นผู้กำหนดเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้และทรงเมตตากว่าบุคคลใดทั้งหมดนั่นเอง
การเลือกแนวทางของศาสนาเป็นคำแนะนำของสติปัญญา
นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าการเลือกสรรแนวทางของศาสนาเป็นสิ่งที่เข้ากับสติปัญญาและเหตุผลมากที่สุด เนื่องจากมนุษย์ที่ฉลาดและมีสติปัญญานั้นจะคิดถึงภยันตรายอย่างจริงจังตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นสิ่งที่มีความสลักสำคัญ ดังจะเห็นว่าเวลาเดินทางสำหรับบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนเมื่อคาดว่าอันตรายอยู่ข้างหน้า เขาจะนำสัมภาระเดินทางติดตัวไปด้วยเพื่อแก้ไขปัญหายามคับขัน
มนุษย์ผู้มีสติปัญญาเมื่อคาดว่ามีอันตรายอยู่ตรงหน้าเขาจะจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้อย่างคราบครัน ต่างกับบุคคลที่ไม่คิดหรือบุคคลที่โง่เขลาเมื่อตัดสินใจเดินทางเขาก็จะไปทั้งอย่างนั้น โดยไม่จัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ใด ๆ ทั้งสิ้น และในระหว่างที่เดินทางถ้าไม่มีเหตุการณ์หรืออันตรายใด ๆ เกิดขึ้นผู้ที่นำสัมภาระติดตัวไปมิได้เสียหายแต่อย่างใด มิหนำซ้ำยังรู้สึกมั่นใจในตลอดการเดินทาง แต่ถ้าระหว่างทางเกิดต้องการอุปกรณ์ของใช้เหล่านั้นขึ้นมา ผู้ที่มิได้นำอุปกรณ์ของใช้ติดตัวไปจะทำอย่างไร
ทำนองเดียวกันเหตุการณ์บนโลกนี้ สำหรับบุคคลที่เลือกแนวทางของศาสนาได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด กับบุคคลที่ทอดทิ้งศาสนาไม่สนใจในคำสอนเหล่านั้น หลังจากที่ทุกอย่างจนเสร็จสิ้นลงเขาจะทำอย่างไรเมื่อเขาไม่มีความพร้อมแต่สักประการเดียว
มนุษย์ที่สติปัญญาเขาได้เจริญรอยตามคำสั่งสอนของบรรดาศาสดา บ่าวที่เป็นกัลญาณชน และเหล่าชนผู้มีความสัจจริง เพื่อให้ผ่านพ้นหนทางที่เต็มไปด้วยภยันตรายต่าง ๆ บรรดาท่านเหล่านั้นกล่าวกับเขาว่า แล้ววันหนึ่งจะมาถึงซึ่งวันนั้นพวกเจ้าจะต้องตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าที่ผ่านมา ถ้าเป็นความดีงามเจ้าจะได้รับรางวัลเป็นการตอบแทน แต่ถ้าเป็นความชั่วหรือการทรยศหักหลังเจ้าจะถูกลงโทษ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พยายามตักเตือนและเน้นย้ำพวกเขามิให้กระทำบาป ท่านแนะนำเขาให้สร้างสรรค์แต่คุณงามความดี
ศาสดากล่าวกับพวกเขาว่า
- ปีหนึ่งให้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นเวลา 1 เดือน
-ให้รับประทานองุ่นแทนการดื่มสุรา
-วันหนึ่งให้ขอบคุณพระผู้ทรงสร้างสรรค์ ผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เราสัก 4-5 นาที (นมาซประจำวัน 5 เวลา)
-แทนการล่วงเกินหญิงสาวคนอื่นด้วยการแต่งงาน
- ปกป้องพรมจารีและความบริสุทธิ์ของตนไว้
ถ้าสมมุติว่าคำมั่นสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เป็นความจริง วันแห่งกาลอวสานของโลก (กิยามะฮฺ) ไม่เกิดขึ้นจริง การสืบสวนสอบสวนไม่มีอยู่จริง ผลรางวัลตอบแทนและการลงโทษไม่เป็นความจริง
ถามว่า บนโลกนี้ถ้าบุคคลที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด เมื่อจากโลกไปเขาจะขาดทุนหรือได้รับความเสียหายอันใดหรือไม่ หรือว่าไม่มีผลเสียใด ๆ แก่เขาสักประการเดียว แน่นอน เขาย่อมไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ทว่าส่วนมากของคนไม่มีศาสนาเขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับสิ่งไร้สาระไม่คุณค่าใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนบุคคลที่มีศาสนาจะนมาซ ถือศีลอด และปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอย่างจริงจัง
แต่ถ้าวันแห่งการอวสานของโลก (กิยามะฮฺ) มีอยู่จริงตามหลักฐานที่ปรากฏ ในวันนั้นบุคคลที่ไม่มีศาสนา หรือไม่ใส่ใจต่อคำสอนของศาสนาเขาจะทำอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามบุคคลที่ยึดมั่นในศาสนาย่อมได้เปรียบและเป็นผู้ชนะอยู่เสมอ ส่วนผู้ที่ไม่มีศาสนาย่อมเป็นผู้ขาดทุนและตกอยู่ในอันตรายเสมอ
แน่นอน เป็นที่ประจักษ์ว่าการยึดมั่นและการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาโดยเคร่งครัด ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้นอย่างสูง ที่สำคัญต้องอดทนต่อพฤติกรรมยั่วยุของกลุ่มชนที่ไม่มีศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่บุคคลที่ต้องอยู่ร่วมหรือไปเยี่ยมเยือนกลุ่มชน หรือพรรคพวกเพื่อนพ้องที่ไม่เคร่งครัดต่อศาสนาจะต้องใช้ความอดทนอดกลั้นมากกว่า
อัล-กุรอาน กล่าวถึง แนวทางของกลุ่มชนที่ชอบทำบาปหรือฝ่าฝืนคำสั่งสอนว่า พวกเขาชอบเย้ยหยันมวลผู้ศรัทธา ทุกครั้งที่เดินผ่านกลุ่มชนที่ยึดมั่นในศาสนา พวกเขาจะแสดงการเย้ยหยันทั้งคำพูดและสายตา แต่เมื่อไปอยู่กับชนประเภทเดียวกันพวกเขาจะตลกคึกคะนอง

إِنَّ الَّذِينَ أَجْرَمُوا كَانُواْ مِنَ الَّذِينَ آمَنُوا يَضْحَكُونَ وَإِذَا مَرُّواْ بِهِمْ يَتَغَامَزُونَ وَإِذَا انقَلَبُواْ إِلَى أَهْلِهِمُ انقَلَبُواْ فَكِهِينَ وَإِذَا رَأَوْهُمْ قَالُوا إِنَّ هَؤُلَاءِ لَضَالُّونَ 

แท้จริงบรรดาผู้กระทำผิดนั้น เคยหัวเราะเยาะบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อบรรดาผู้ศรัทธาเดินผ่านพวกเขาไปพวกเขาจะหลิ่วตาเย้ยหยัน เมื่อพวกเขากลับไปยังพวกพ้องของพวกเขา พวกเขาก็กลับไปอย่างตลกคะนอง เมื่อพวกเขาเห็นบรรดาผู้ศรัทธาพวกเขาก็กล่าวว่า แท้จริงชนเหล่านี้เป็นผู้หลงทางแน่นอน
จะเห็นว่าโองการข้างต้นกล่าวถึงพฤติกรรมที่ชั่วร้าย และฝ่าฝืนของพวกเขาไว้ 4 ประการด้วยกัน กล่าวคือ หัวเราะเยาะ หลิ่วตาเย้ยหยัน พูดกระแทกแดกันผู้ศรัทธาว่าหลงทาง
หลังจากนั้นโองการกล่าวต่ออีกว่า ในวันนั้นบรรดาผู้ศรัทธาจะหัวเราะเยาะพวกปฏิเสธบ้าง แน่นนอน ในวันนั้นจะเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ขาดทุนที่แท้จริง