Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
ปฐมบทนมาซ และนมาซ

นมาซ

2016/06/30

นมาซ

ปฐมบทของนะมาซ

            โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกเจ้ามุ่งหมายที่จะนะมาซ  พวกเจ้าก็จงทำวุฏูอฺ โดยล้างใบหน้า และมือทั้งสองของพวกเจ้าจนถึงข้อศอก และพวกเจ้าจงเช็ดศีรษะ และเท้าทั้งสองของพวกเจ้าจนถึงกระดูกเนินหลังเท้า  (อัล-มาอิดะฮฺ/๖)

การทำวุฏูอฺ

            ผู้นะมาซทุกท่านก่อนที่จะนะมาซต้องทำวุฏูอฺ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่  และในบางครั้งทำวุฏูอฺอย่างเดียว ไม่เพียงพอต้องทำฆุซลฺด้วย หมายถึงอาบน้ำตามหลักการของศาสนา หรือบางครั้งไม่อาจทำได้ทั้งวุฎูอฺและฆุซลฺ ต้องทำ ตะยัมมุม เพื่อเป็นการทดแทน ชึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในบทต่อไป

วิธีการทำวุฏูอฺ

            การทำวุฏูอฺ  อันดับแรก ต้องล้างใบหน้า หลังจากนั้นให้ล้างแขนขวาและแขนซ้าย และให้ใช้น้ำที่ติดมืออยู่นั้นเช็ดศีรษะและหลังเท้าขวาและซ้ายตามลำดับ  เพื่อความกระจ่างชัดโปรดพิจารณาขั้นตอนต่อไปนี้

การทำวุฎูอฺ[1]

๑. การล้าง

-ล้างหน้า จากด้านบนลงสู่ด้านล่าง เริ่มจากไรผมจนถึงปลายคาง (ความ      ยาวของหน้า) ส่วนความกว้างของใบหน้า อยู่ระหว่างปลายนิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้วกลาง

- ล้างแขนขวา จากข้อศอกจนถึงปลายนิ้ว

- ล้างแขนซ้าย ทำเหมือนแขนขวา

๒. ให้เช็ด

- เช็ดศีรษะ ส่วนบนของศีรษะจากไรผมจนถึงกระหม่อม

- เช็ดเท้าขวา

- เช็ดเท้าซ้าย จากปลายนี้วเท้าจนถึงโหนกบนหลังเท้า*

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี จากปลายนิ้วเท้านจนถึงข้อเท้า

 

ขั้นตอนการทำวุฏูอฺ

การล้าง

            .ขอบเขตที่เป็นวาญิบของการล้าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เพื่อความมั่นใจว่าได้ล้างส่วนที่เป็นวาญิบทั่วถึงทั้งหมดให้ล้างเกินขอบเขตที่กำหนดไว้เล็กน้อย อย่างเช่น การล้างมือทั้งสอง ให้เริ่มจากบริเวณเหนือข้อศอกเล็กน้อย[2]

            .อิฮฺติยาฏวาญิบ การล้างใบหน้าและมือทั้งสอง ให้ลูบจากด้านบนลงสู่ด้านล้าง ดังนั้น ถ้าลูบจากด้านล่างสู่ด้านบนฏูอฺโมฆะ (บาฏิล)[3]

            .หากใบหน้าหรือมือทั้งสองของบุคคลหนึ่งเล็กกว่าคนปรกติทั่วไป หรือเป็นคนศีรษะล้าน ให้ทำเหมือนกับคนปรกติทั่วไปทำ

            ๔.ถ้ามีร่างกายผิดปรกติจากคนทั่วไป แต่มีความเหมาะสมกับตนเอง ดังเวลาทำวุฎูอฺให้ทำดังที่ได้อธิบายไว้ในขั้นตอนการทำวุฎูอฺ[4]

            ๕. ถ้าเป็นคนที่มีหนวดเคราหนาแต่มองเห็นผิวหน้าได้ เวลาทำวุฏูอฺต้องให้น้ำโดนผิวหน้าด้วย แต่ถ้ามองไม่เห็นผิวหน้าให้ล้างไปบนหนวดเคราก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำโดนผิวหน้า[5]

            ๖.การล้างในรูจมูก ปาก มุมปาก และขอบตา ซึ่งเวลาหลับตาแล้วมองไม่เห็น ไม่เป็นวาญิบต้องล้าง แต่เพื่อความมั่นใจว่าได้ล้างทุกส่วนตามที่กำหนดไว้ เป็นวาญิบต้องล้างบริเวณดังกล่าวด้วย[6]

๗.ถ้าผิวหนังหรือเนื้อส่วนที่เป็นวาญิบต้องทำวุฎูอฺ ได้ถูกตัดขาดไป ถ้าหากขาดหมดสิ้นต้องล้างบริเวณด้านล่างตรงรอยที่ขาดหายไปด้วย แต่ถ้าขาดไม่หมดเหลือแค่ไหนก็ล้างเท่านั้น[7]

๘. รอยผุพองที่เกิดจากไฟหรือน้ำร้อนรวก ถ้ายังติดอยู่เวลาทำวุฎูอฺ ต้องล้างด้วย (เพียงแค่ลูบผ่านเท่านั้น) ถึงแม้ว่าบางส่วนจะหลุดไปแล้ว และบางส่วนยังติดอยู่ให้ล้างเฉพาะส่วนที่ติดอยู่เท่านั้นเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องดึงหนังส่วนนั้นออก หรือราดน้ำเข้าไปข้างใต้ผิวหนังที่ผุพอง แต่ถ้าผิวหนังที่พองนั้นปิด ๆ เปิด ๆ จำเป็นต้องราดน้ำเข้าไปให้ถึงข้างใต้[8]

๙. การล้างซ้ำขณะทำวุฏูอฺ ล้างครั้งแรกเป็นวาญิบ  ล้างครั้งที่สองอนุญาต ล้างครั้งที่สามบิดอะฮฺและฮะรอม*

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี การล้างหน้าและมือทั้งสองครั้งแรกเป็นวาญิบ ครั้งที่สอง อนุญาต มากกว่านี้ไม่อนุญาต ส่วนการนับว่าเป็นครั้งแรกหรือครั้งที่สองนั้นขึ้นอยู่กับเนียต (ตั้งเจตนา) ของผู้ทำวุฏูอฺ หมายถึงสามารถเนียตว่าเป็นครั้งแรกแต่อาจราดน้ำหลายครั้งได้

            ๑๐.การล้างถึงครั้งที่สามโดยเนียตว่าเป็นการทำวุฏูอฺ นอกจากจะฮะรอมและบิดอะฮฺแล้ว บางครั้งอาจเป็นเหตุทำให้วุฏูอฺโมฆะอีกต่างหาก เนื่องจากการเช็ดศีรษะได้ใช้น้ำที่เหลือจากการล้างครั้งที่สามซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะการเช็ดต้องใช้น้ำที่เหลือจากการล้างที่ถูกต้องเท่านั้น[9]

การเช็ดศีรษะ

            .บริเวณที่เช็ดศีรษะคือ ๑ใน ๔ ส่วนของศีรษะหมายถึงส่วนเหนือของศีรษะหรือตรงบริเวณกระหม่อมนั่นเอง

            .ขอบเขตวาญิบในการเช็ดไม่มีขนาดจำกัด เช็ดแค่ไหนก็ได้เมื่อมีคนเห็นสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการเช็ดศีรษะ

            .ขอบเขตมุซตะฮับในการเช็ดคือ ให้มีความกว้างเท่ากับสามนิ้วมือเรียงติดกัน ยาวเท่ากับหนึ่งนี้ว

            .อนุญาตให้เช็ดศีรษะด้วยมือซ้ายได้*

            *อายะตุลลอฮฺคอะลีคอเมเนอี การเช็ดศีรษะและเท้าให้ใช้น้ำที่เหลือจากการล้าง และอิฮฺติยาฏให้เช็ดศีรษะด้วยมือขวา และไม่จำเป็นต้องลูบจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง

            .การเช็ดศีรษะไม่จำเป็นต้องโดนหนังศีรษะอนุญาตให้เช็ดลงบนผมได้ นอกเสียจากว่ามีผมยาวจนเกินไป หมายถึงเมื่อหวีผมจะยาวลงมาปิดใบหน้าลักษณะเช่นนี้ เวลาเช็ดจำเป็นต้องโดนหนังศีรษะด้วย

            .ไม่อนุญาตให้เช็ดลงบนผมส่วนอื่นที่ได้หวีมาปิดตรงส่วนหน้าของศีรษะ[10]

การเช็ดเท้า

            .บริเวณที่เช็ด คือหลังเท้า

            .ขอบเขตวาญิบที่ต้องเช็ดคือ ตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าจนถึงโหนกหลังเท้า* ส่วนความกว้างเท่าใดก็ได้ถือว่าเพียงพอ แม้จะมีขนาดเท่ากับหนึ่งนิ้วมือก็ตาม

            *อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี ตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าจนถึงข้อเท้า อิสติฟตาอาต คำถามที่ ๑๓

            .ขอบเขตมุซตะฮับ ทั่วทั้งหลังเท้า

            .จำเป็นต้องลูบเท้าขวาก่อนเท้าซ้าย แต่ไม่จำเป็นว่าเท้าขวาต้องลูบด้วยมือขวา และเท้าซ้ายต้องลูบด้วยมือซ้าย[11]

ปัญหาร่วมระหว่างการเช็ดศีรษะและเท้า

            .การเช็ด ต้องลากมือเช็ดไปบนศีรษะหรือหลังเท้า ไม่ใช่เอาศีรษะหรือหลังเท้า เช็ดไปบนฝ่ามือ วุฏูอฺบาฏิล แต่ขณะที่เช็ด ศีรษะหรือเท้าขยับเล็กน้อยไม่เป็นไร[12]

            .หากฝ่ามือไม่มีความเปียกชื้นหลงเหลืออยู่ ไม่อนุญาตให้ใช้น้ำใหม่ แต่ให้ลูบน้ำจากอวัยวะส่วนที่ได้ล้างผ่านมา เพื่อเช็ดศีรษะหรือเท้าทั้งสอง[13]

            .ความเปียกของฝ่ามือ ต้องมีปริมาณพอที่จะมองเห็นร่องรอยเมื่อเช็ดศีรษะหรือหลังเท้า[14]

            .บริเวณที่จะเช็ด (ศีรษะและหลังเท้าทั้งสอง) ต้องแห้ง ดังนั้น ถ้าบริเวณดังกล่าวเปียกต้องเช็ดให้แห้งก่อน หรือถ้าชื้นเล็กน้อยโดยที่ไม่มีผลต่อน้ำที่ฝ่ามือที่จะเช็ดลงไป ไม่เป็นไร[15]

            .จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางขณะเช็ด เช่น  ถุงเท้า หมวกและอื่น ๆ ถึงแม้สิ่งนั้นจะบาง  มากก็ตาม และน้ำสามารถผ่านไปถึงผิวหนังได้ก็ตาม (ยกเว้นในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้)[16]

            .บริเวณที่จะเช็ดต้องสะอาด ฉะนั้นถ้าเปื้อนนะยิซและไม่สามารถใช้น้ำล้างได้ ต้องทำตะยัมมุม[17]

เงื่อนไขของวุฎอฺ

            เงื่อนไขดังต่อไปนี้ เป็นเงื่อนไขที่วุฎูอฺถูกต้อง และการปราศจากบางเงื่อนเป็นสาเหตุทำให้วุฏูอฺเสีย (บาฏิล)

                        ๑. เงื่อนไขของน้ำและภาชนะใส่น้ำทำวุฎูอฺ

                        -น้ำต้องสะอาด (ไม่เป็นนะยิซ)

                        -น้ำต้องได้รับอนุญาต (ไม่ใช่น้ำที่ขโมย)

                        -น้ำต้องบริสุทธิ์ (ไม่ใช่น้ำผสม)

                        -ภาชนะใส่น้ำต้องได้รับอนุญาต

                        -ภาชนะใส่น้ำต้องไม่ใช่เงินหรือทองคำ

            ๒. เงื่อนไขของอวัยวะที่ทำวุฎูอฺ

                        - ต้องสะอาด

                        - ต้องไม่มีอุปสรรคกีดขวางน้ำ

            ๓. เงื่อนไขการทำวุฏูอฺ

                        - ต้องทำเป็นขั้นตอนตามลำดับตามที่กล่าวไปแล้ว

                        - ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ทิ้งระยะให้ห่างจนเกินไประหว่างอมัลวุฎูอฺ

                        - ต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง

            ๔. เงื่อนไขคนทำวุฏูอฺ

                        - การใช้น้ำไม่เป็นอุปสรรคสำหรับเขา

                        -ต้องเนียตเพื่อแสวงหาความใกล้ชิด (กุรบัต) ไม่ใช่เพื่อโอ้อวด

 เงื่อนไขของน้ำและภาชนะที่ใช้ทำวุฏูอฺ

            .การทำวุฏูอฺด้วยน้ำนะยิซหรือน้ำผสมบาฏิล (โมฆะ) ถึงแม้จะรู้ว่าน้ำนั้นเป็นนะยิซหรือน้ำผสม หรือจะไม่รู้หรือหลงลืมก็ตาม

            .น้ำที่ใช้ทำวุฏุอฺต้องได้รับอนุญาต ดังนั้น ถ้าทำวุฏูอฺด้วยน้ำต่อไปนี้บาฏิล

                        - ทำวุฏูอฺด้วยน้ำที่เจ้าของไม่อนุญาต (ซึ่งการไม่อนุญาตเป็นที่รู้กัน)

                        - ทำวุฏูอฺด้วยน้ำที่ไม่แน่ใจว่าเจ้าของอนุญาตหรือไม่

                        - ทำวุฏูอฺด้วยน้ำที่ถูกวะกัฟให้คนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น สระน้ำภายในโรงเรียน หรือสถานที่ทำวุฏูอฺเฉพาะของโรงแรม หรือสถานที่อื่น ๆ ที่คล้ายกัน[18]

            .ทำวุฏูอฺด้วยน้ำจากแม่น้ำที่ไม่แน่ใจว่าเจ้าของจะอนุญาตหรือไม่ ไม่เป็นไร  แต่ถ้าเจ้าของได้ขัดขวางการทำวุฏูอฺ อิฮฺติยาฏวาญิบ ไม่ให้ทำวุฏอฺ[19]

            .ถ้าน้ำทำวุฎูอฺอยู่ในภาชนะที่ขโมยมา และได้ทำวุฎูอฺกับน้ำนั้นบาฏิล[20]

เงื่อนไขของอวัยวะต้องทำวุฏูอฺ

            .อวัยวะที่ต้องทำวุฏูอฺ  ขณะที่ล้างหรือเช็ดต้องสะอาด[21]

            .ถ้ามีสิ่งกีดขวางบนอวัยวะที่จะต้องล้าง หรือเช็ดขณะทำวุฏูอฺ ซึ่งเป็นอุปสรรคขวางน้ำไม่ให้ไปโดนผิวหนัง หรือไม่ได้กีดขวางน้ำเวลาเช็ดก็ตาม เวลาทำวุฏูอฺต้องขจัดออก[22]

            .น้ำหมึก สี ครีม และอื่น ๆ ที่อยู่ในประเภทนี้ หากไม่มีน้ำมันผสมอยู่ถือว่าไม่เป็นอุปสรรคสำหรับวุฏูอฺ แต่ถ้ามีน้ำมันผสมอยู่ (เมื่อเวลาใช้จะติดที่ผิวหนัง) ดังนั้นก่อนทำวุฏอฺ      ต้องขจัดออก[23]

เงื่อนไขการทำวุฏูอฺ

๑. ต้องทำเป็นขั้นตอน[24] หมายถึงวุฏูอฺต้องทำไปตามลำดับต่อไปนี้

                        - ล้างหน้า

                        - ล้างแขนขวา

                        - ล้างแขนซ้าย

                        - เช็ดศีรษะ

                        - เช็ดหลังเท้าขวา

                        - เช็ดหลังเท้าซ้าย

            ถ้าไม่ทำวุฏูอฺไปตามขั้นตอน หรือทำสลับกันวุฏูอฺบาฏิล

            . มุวาลาต

- มุวาลาต หมายถึงการทำอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ทิ้งระยะให้ห่างจนเกินไประหว่างการทำวุฏูอฺ

- ขณะทำวุฏูอฺ ถ้าทิ้งระยะเวลาให้ห่างออกไปหมายถึงก่อนที่จะทำขั้นตอนต่อไป อวัยวะส่วนที่ล้างหรือเช็ดแล้วก่อนหน้านี้ได้แห้งลง วุฏูอฺบาฏิล[25]

            ๓. ต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง 

- ผู้ที่สามารถทำวุฏูอฺได้ด้วยตัวเอง ต้องไม่ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ฉะนั้น ถ้ามีคนอื่นล้างหน้าหรือมือหรือเช็ดศีรษะและเท้าให้เขา วุฏูอฺบาฎิล[26]   

- ถ้าไม่สามารถทำวุฏูอฺได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องหาตัวแทนทำวุฏูอฺให้เขา  แม้ว่าเขาเรียกร้องค่าใช้จ่าย ถ้าสามารถจ่ายได้ต้องจ่าย แต่ตนต้องเป็นผู้เนียตวุฏูอฺเอง[27]

เงื่อนไขคนทำวุฏูอฺ

            ๑.การใช้น้ำต้องไม่เป็นอุปสรรคสำหรับเขา ถ้าผู้ทำวุฏูอฺรู้ว่าการใช้น้ำจะทำให้ไม่สบาย หรือเกรงว่าอาจทำให้ไม่สบายได้  ดังนั้น ต้องทำตะยัมมุมแทน ถ้าทำวุฏูอฺถือว่าบาฏิล แต่ถ้าไม่รู้ว่าน้ำเป็นอันตรายกับตัวเอง และได้ทำวุฏูอฺ หลังจากนั้นรู้ว่าน้ำเป็นอันตราย วุฏูอฺถูกต้อง[28]

            ๒.วุฏูอฺต้องเนียตเพื่อแสวงหาความใกล้ชิด (กุรบัต) หมายถึงเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาองค์พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกจึงได้ทำวุฏูอฺ[29]

            .การตั้งเจตนา (เนียต) ไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูด หรือตั้งมั่นอยู่ในใจตลอดเวลา เพียงแค่ให้รู้ว่ากำลังทำวุฎูอฺเท่านั้นก็เพียงพอ หมายถึงถ้ามีใครถามว่า กำลังทำอะไร สามารถตอบได้ทันทีว่า กำลังทำวุฏูอฺ[30]

            .ถ้าเวลานะมาซเหลือน้อยมาก หากทำวุฎูอฺจะทำให้นะมาซทั้งหมดหรือบางส่วนต้องทำนอกเวลา ดังนั้น ต้องทำตะยัมมุมแทน[31]

 

วุฎูอฺญะบีเราะฮฺ (วุฎูอฺเมื่อมีบาดแผล)

 ญะบีเราะฮฺ หมายถึงยาใส่แผล หรือสิ่งที่ใช้พันแผล

            .ถ้าอวัยวะที่ต้องทำวุฎูอฺเป็นแผล หรือหัก หากสามารถทำวุฎูอฺได้เหมือนคนปรกติ ให้ทำวุฎูอฺเช่นนั้น[32] เช่น

                        - บาดแผลเปิดและน้ำไม่เป็นอันตรายต่อแผล

                        - แผลปิด แต่สามารถเปิดได้และน้ำไม่เป็นอันตรายต่อแผล

            .หากเป็นแผลที่ใบหน้าหรือแขน ซึ่งไม่ได้ปิดบาดแผลแต่ถ้าราดน้ำลงไปจะเป็นอันตราย ดังนั้น ให้ล้างบริเวณรอบ ๆ บาดแผลเพียงพอ*

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี อิฮฺติยาฏ ถ้าหากเอามือเปียกลูบลงไปแล้วไม่เป็นอันตราย ต้องลูบ 

            ๓. ถ้าบริเวณหลังเท้าหรือศีรษะเป็นแผลหรือแตก (บริเวณที่เช็ด) แต่ไม่ได้ปิดบาดแผล ถ้าไม่สามารถเช็ดลงบนนั้นได้ ให้หาผ้าที่สะอาดปิดบาดแผลและเอามือที่เปียกน้ำวุฎูอฺเช็ดลงไป*

*อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี บริเวณบาดแผล ที่ไม่สามารถเอามือเปียกเช็ดลงไปได้ ต้องทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ แต่ถ้าสามารเอาผ้าที่สะอาดปิดบนแผลแล้วเอามือที่เปียกเช็ดลงบนนั้นได้ อิฮฺติยาฎ นอกจำทำตะยัมมุมแล้ว ต้องทำวุฎูอฺในลักษณะดังกล่าวด้วย

วิธีการทำวุฎูอฺที่มีบาดแผล

การทำวุฎูอฺที่มีบาดแผล บริเวณที่ต้องล้างหรือเช็ดถ้าสามารถใช้น้ำได้ตามปรกติให้ปฏิบัติไปตามปรกติ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้เอามือที่เปียกลูบไปบนบาดแผล ถือว่าเพียงพอ

            ๑. ถ้าผ้าพันแผลใหญ่กว่าปรกติและครอบคลุมบริเวณรอบ ๆ บาดแผล ซึ่งไม่สามารถเปิดออกได้ ต้องทำวุฎูอฺแบบมีบาดแผล และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ทำตะยัมมุมด้วย[33]

            .บุคคลที่ไม่รู้หน้าที่ของตนว่าต้องทำตะยัมมุม หรือต้องทำวุฏูอฺแบบมีบาดแผล อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ทำทั้งสองอย่าง[34]

            .ถ้าใบหน้า หรือแขนข้างใดข้างหนึ่งมีบาดแผลทั่วไปหมด ให้ทำวุฎูอฺแบบมีบาดแผล ถือว่าเพียงพอ[35]

            .บุคคลที่มีบาดแผลที่ฝ่ามือ หรือนิ้วขณะทำวุฎูอฺได้เอามือที่เปียกลูบลงไปบนบาดแผล   สามารถใช้มือที่เปียกนั้นเช็ดศีรษะและหลังเท้า หรือลูบน้ำจากบริเวณมาเช็ดได้[36]

            ๕. ถ้าบนใบหน้าหรือแขนมีบาดแผลอยู่สองสามที่ เวลาทำวุฎูอฺต้องล้างบริเวณระหว่างบาดแผลด้วย หรือบนศีรษะหรือหลังเท้าถ้ามีบาดแผลในลักษณะเดียวกัน ต้องเช็ดบริเวณระหว่างบาดแผล ส่วนบริเวณแผลให้ทำตามเงื่อนที่กล่าวมาแล้ว[37]

เงื่อนไข  ๒ ประการเกี่ยวกับผ้าพันแผลกล่าวคือ 

            ประการแรก ต้องมีความสะอาด กล่าวคือถ้าเฝือกหรือผ้าพันแผลเปื้อนนะยิซและไม่อาจเปลี่ยนเฝือกหรือผ้าพันแผลใหม่ได้ ไม่เป็นวาญิบต้องทำวุฏูอฺ แต่เป็นวาญิบให้ทำตะยัมมุมแทน หรือบางครั้งต้องทำตะยัมมุมควบคู่กับการทำวุฏูอฺแบบมีบาดแผล

            ประการที่สอง เฝือกหรือผ้าพันแผลต้องได้รับอนุญาต กล่าวคือ ไม่อนุญาตให้ใช้มือที่เปียกลูบบนเฝือกหรือผ้าพันแผล ถ้าเป็นของที่ไม่ได้รับอนุญาต   ดังนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนเฝือกหรือผ้าพันแผลใหม่ หรือต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของเสียก่อน                                                                                                                    

   ความสงสัยเกี่ยวกับวุฎูอฺ

            ๑. ถ้าสงสัยว่าทำวุฎูอฺแล้วหรือยัง ให้ทำวุฎูอฺใหม่

            ๒.ระหว่างนะมาซ ถ้าสงสัยว่าทำวุฎูอฺหรือไม่นะมาซบาฏิล ต้องทำวุฎูอฺใหม่และเริ่มนะมาซใหม่ตั้งแต่ต้น

๓. หลังจากนะมาซเสร็จเรียบร้อยแล้ว สงสัยว่านะมาซที่ทำมีวุฎูอฺหรือไม่ นะมาซที่ทำแล้วถูกต้อง ส่วนนะมาซที่จะทำต่อไปต้องทำวุฎูอฺใหม่

            ๔.มั่นใจว่าทำวุฎูอฺแล้ว แต่สงสัยว่าวุฎูอฺบาฏิลแล้วหรือยัง (เช่นไม่รู้ว่าได้ผายลมหรือปัสสาวะหรือไม่) ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับความสงสัย ถือว่ายังมีวุฎูอฺอยู่

            ๕.รู้ว่าทำวุฎูอฺแล้ว และรู้ว่าได้ผายลมหรือปัสสาวะแล้วด้วยเช่นกัน แต่ไม่รู้ว่าทำสิ่งใดก่อน ฉะนั้น ถ้าไม่รู้สถานภาพก่อนทำวุฏูอฺและผายลมว่าเป็นอย่างไร ต้องทำวุฎูอฺใหม่ แม้จะรู้ว่าได้ทำวุฎูอฺเมื่อไหร่ แต่เป็นเพราะไม่รู้ว่าได้ผายลมก่อนหรือหลังทำวุฎูอฺ ในทางกลับกันถ้ารู้สภาพก่อนทำวุฎูอฺและผายลมว่าเป็นอย่างไร ให้ปฏิบัติตรงกันข้าม

            ๖. ระหว่างทำวุฎูอฺสงสัยว่าได้ล้างหรือเช็ดอวัยวะก่อนหน้านั้นหรือไม่ ดังนั้น สงสัยอวัยวะส่วนใดให้ย้อนกลับไปทำใหม่ เช่น ระหว่างที่เช็ดเท้าสงสัยว่าเช็ดศีรษะแล้วหรือยัง

            ๗.หลังจากทำวุฎูอฺเสร็จแล้ว สงสัยว่าทำรายละเอียดปลีกย่อยของวุฎูอฺถูกต้องไหม ไม่จำเป็นต้องใส่ใจในความสงสัย ถือว่าวุฎูอฺถูกต้อง เช่น หลังจากวุฏูอฺสงสัยว่าได้ล้างแขนขวาหรือไม่[38]

๘.หลังจากทำวุฎูอฺ สงสัยว่ามีสิ่งกีดขวางน้ำบนอวัยวะที่ต้องทำวุฎูอฺหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องใส่ใจในความสงสัย วุฎูอฺถูกต้อง[39]

            ๙.รู้ว่ามีสิ่งหนึ่งติดอยู่บนอวัยวะส่วนที่ต้องทำวุฎูอฺ แต่สงสัยว่าเป็นอุปสรรคกีดขวางน้ำหรือไม่ จำเป็นต้องขจัดออก หรือราดน้ำให้ถึงข้างใต้ของสิ่งนั้น[40]

            ๑๐. ก่อนทำวุฎูอฺรู้ว่ามีสิ่งกีดขวางอยู่บนอวัยวะที่ต้องทำวุฎูอฺ แต่หลังจากวุฎูอฺสงสัยว่าได้ราดน้ำไปถึงบริเวณนั้นหรือไม่ มีความเป็นไปได้ ๓ กรณีดังนี้

                        - รู้ว่าขณะทำวุฏูอฺได้ใส่ใจต่อสิ่งกีดขวาง วุฎูอฺถูกต้อง

                        -ไม่รู้ว่าขณะทำวุฎูอฺ ได้ใส่ใจต่อสิ่งกีดขวางหรือไม่ วุฎูอฺถูกต้อง

                        - รู้ว่าขณะทำวุฎูอฺ ไม่ได้ใส่ใจต่อสิ่งกีดขวาง ต้องทำวุฎูอฺใหม่[41]

๑๑. หลังจากวุฎูอฺได้เห็นสิ่งกีดขวางน้ำอยู่บนอวัยวะส่วนที่ทำวุฎูอฺ แต่ไม่รู้ว่ามีอยู่ก่อนหรือหลังทำวุฎูอฺ วุฎูอฺถูกต้อง แต่ถ้ารู้ว่าขณะที่ทำวุฎูอฺไม่ได้ใส่ใจต่อสิ่งนั้น อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องทำวุฎูอฺใหม่[42]

๑๒.บุคคลที่มีความสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับอมัลและเงื่อนไขของวุฎูอฺ เช่น สงสัยว่าน้ำที่ใช้ทำวุฎูอฺสะอาดไหม บนอวัยวะมีสิ่งกีดขวางน้ำหรือเปล่า  ต้องไม่ใส่ใจในความสงสัยนั้น[43]

ภารกิจที่จำเป็นต้องมีวุฏูอฺ                                                                                                             

            .เพื่อนะมาซต่าง ๆ ยกเว้น นะมาซมัยยิต (คนตาย)

            ๒. เพื่อการเฏาะวาฟวาญิบรอบกะอฺบะฮฺ  (การเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ)                                             

            . เพื่อสัมผัสอัล-กุรอาน เขียนโองการอัล-กุรอานและพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.)[44] 

ข้อพึงระวัง

            ๑. ถ้านะมาซและเฏาะวาฟวาญิบโดยปราศจากวุฎูอฺ บาฏิล

            ๒.ผู้ที่ไม่มีวุฎูอฺ ต้องระวังอย่าให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสกับข้อเขียนต่อไปนี้

                        - อักษรอัล-กุรอาน ยกเว้นคำแปลไม่เป็นไร

            -พระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษาใดก็ตาม เช่น อัลลอฮฺ โคดา ALLAH หรือ الله 

                        -อิฮฺติยาฏวาญิบ นามของท่านนะบี (ซ็อลฯ)

-อิฮฺติยาฏวาญิบ นามของบรรดาอิมามมะอฺซูม(อ.)

                        -อิฮฺติยาฏวาญิบ นามของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) [45]

๓. การเป็นฮะรอมในการสัมผัสอักษรอัล-กุรอาน พระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) และอื่น ๆ (โดยปราศจากวุฎูอฺ) ไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม เช่น

                        -สัมผัสด้วยมือหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (ยกเว้นผม)

            -สัมผัสตั้งแต่ต้น หรือเพราะความต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ถ้ามือได้สัมผัสอยู่กับอักษรอัล-กุรอานและนึกได้ว่าไม่มีวุฎูอฺ ถ้าไม่เอามือออกเท่ากับได้ทำฮะรอม

         -ลายอักษรจะเป็นที่รู้หรือไม่ก็ตาม เช่น การเขียนแบบกูฟียฺ

         -เขียนด้วยปากกา หรือพิมพ์ หรือเขียนด้วยชอล์ก และอื่น ๆ

         -ไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเขียนไว้บนกระดาษ ไม้ หิน เสื้อผ้า บนกำแพง และอื่น ๆ

         -เป็นภาษาอาหรับหรือภาษาอื่นเช่น  ALLAH  หรือ MOHAMMAD แต่คำแปลไม่เป็นไร

         -คำที่ดีของอัล-กุรอาน เช่น มุอฺมิน หรือ ซับรฺ หรือคำที่ไม่ดี เช่น อิบลิซ ชัยฎอนเป็นต้น[46]

๔. การสัมผัสอัล-รอานต่อไปนี้ไม่เป็นฮะรอม

         -สัมผัสลายเส้นอัล-กุรอานด้วยผม (แม้ว่าเป็นอิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้ละเว้น)

         -สัมผัสการเขียนที่มองไม่ออกว่าเป็นลายเส้น เช่นวิธีการเขียนด้วยน้ำหมึกอย่างหนึ่งจะอ่านได้ต่อเมื่อต้องนำไปแช่น้ำ หรือรนกับความร้อน

         -สัมผัสโดยผ่านกระจก หรือพลาสติก ซึ่งในความเป็นจริงไม่ได้โดนตัวอักษร

         -สัมผัสช่องว่างระหว่าคำ หรือตัวอักษร

         -สัมผัสกระดาษ คำอธิบาย ช่องว่างระหว่างบรรทัด หรือปกอัล-กุรอาน (แม้ว่าจะเป็นมักรูฮฺ)

         -สัมผัสคำแปลอัล-กุรอานทุกภาษา ยกเว้นพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษาใดก็ตามสำหรับผู้ที่ไม่มีวุฎูอฺเป็นฮะรอม  เช่นเขียนว่า อัลลอฮฺ โคดา หรือ ก็อด[47]

๕. คำที่ใช้ร่วมกันระหว่างอัล-กุรอานกับภาษาอื่น ถ้าผู้เขียนมีเจตนาเขียนอัล-กุรอานไม่อนุญาตให้สัมผัส แต่ถ้าไม่ได้มีเจตนาเขียนอัล-กุรอานไม่เป็นไร อนุญาตให้สัมผัส[48]

๖. การสัมผัสสัญลักษณ์ของรัฐอิสลามแห่งอิหร่านถ้าไม่มีวุฎูอฺ อิฮฺติยาฏวาญิบไม่อนุญาต[49]

๗. สร้อยคอ หรือแหวนที่สลักพระนามอัลลอฮฺ (ซบ.) ถ้าสัมผัสโดยปราศจากวุฎูอฺฮะรอม[50]

๘. ภารกิจต่อไปนี้ เป็นมุซตะฮับ ให้ทำวุฎูอฺ

                        - เข้าไปในมัสยิดและฮะรัม(สถานที่ฝังศพ) ของบรรดาอิมามมะอฺซูม ()

                        - อ่านอัล-กุรอาน

                        - พกพาอัล-กุรอาน ติดตัว

                        - สัมผัสปก หรือคำอธิบายอัล-กุรอาน

                        - เข้าไปซิยาเราะฮฺ  (เยียม) สุสานคนตาย (กุบูร)[51]  *

            *อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี เป็นมุซฮับให้มีวุฎูอฺติดตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเข้าไปในมัสญิด อ่านอัล-กุรอาน ก่อนนอนและเวลาอื่น ๆ

วุฏูอฺบาฎิล (เสีย) ได้อย่างไร

สาเหตุที่ทำให้วุฎูอฺเสียมี ๗ ประการดังต่อไปนี้

            .การปัสสาวะ

            .การอุจจาระ

            .การผายลม

            .การนอนหลับสนิททั้งปราสาทหูและปราสาทตา

            .การสลบหมดสติเช่น เป็นลม  เป็นบ้า เมา และอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

            .ระดูเกินกำหนด (อิสติฮาเฏาะฮฺ)

            .สาเหตุที่ทำให้ต้องฆุซลฺ เช่น การมีญุนุบ  หรือการสัมผัสซากศพ[52]

มุซตะฮับและมักรูฮฺขอวุฏูอฺ

สิ่งที่เป็นมุซตะฮับสำหรับวุฏูอฺ

            .ต้องใช้น้ำไม่เกิน ๑ มุด ( ๑ มุดเท่ากับ ๗๕๐ กรัม)

            .แปรงฟันก่อนการทำวุฏูอฺ ถึงแม้ว่าจะแปรงด้วยนิ้วมือก็ตาม

            ๓. ถ้าทำวุฎูอฺด้วยน้ำจากภาชนะ ควรตั้งภาชนะไว้ทางด้านขวามือ

            .ล้างมือทั้งสองก่อนการทำวุฏูอฺ

            .บ้วนปาก ก่อนการทำวุฏูอฺ

            .เอาน้ำล้างช่องจมูกก่อนทำวุฎูอฺ

            . กล่าว บิสมิลลาฮฺ ขณะที่เอื้อมมือไปยังน้ำ หรือราดน้ำใส่มือ แต่เป็นการดีกว่าให้ กล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ วะบิลลาฮฺ  อัลลอฮุมมัจญ์อัลนี  มินัตเตาวาบีน  วัจญ์อัลนีมินัลมุเฏาะฮิรีน (ด้วยพระนาแห่งอัลลอฮฺ และด้วยอัลลอฮฺ โอ้ข้าฯแต่พระองค์ โปรดทำให้ฉันเป็นหนึ่งในหมู่ผู้ที่กลับใจ และโปรดทำให้ฉันเป็นหนึ่งในหมู่ผู้ที่ทำความสะอาด)

            .ให้เทน้ำใส่มือขวาแม้ว่าจะเป็นการล้างมือขวาก็ตาม หมายถึงตอนแรกให้เทน้ำใส่มือขวา หลังจากนั้นให้ เทจากมือขวาใส่มือซ้าย แล้วจึงเทจากมือซ้ายราดแขนขวา

            .การอ่านดุอาอฺต่าง ๆ  ตามที่ได้ระบุไว้ขณะทำวุฏูอฺ

            ๑๐.ถ้าเป็นผู้ชาย ขณะที่จะล้างแขนให้ราดน้ำด้านนอกข้อศอก ส่วนผู้หญิงให้ราดด้านในข้อศอก (ข้อพับแขน)

            ๑๑.ให้เปิดตาทั้งสองข้าง ขณะล้างใบหน้า

            ๑๒.ขณะทำวุฏูอฺให้อ่าน ซูเราะฮฺ อัล-ก็อดรฺ (อินนาอันซัลนาฮุ)

            ๑๓.หลังจากการวุฏูอฺเสร็จ ให้อ่าน อายะตุลกุรซียฺ

            ๑๔.จิตใจต้องมีสมาธิตลอดการทำวุฎูอฺ

            ๑๕. ขณะล้างให้ราดน้ำจากด้านบน

            ๑๖. ให้เอาน้ำราดบนอวัยวะ ไม่ใช่นำเอาอวัยวะไปจุ่มในน้ำ[53]

สิ่งที่เป็นมักรูฮฺสำหรับวุฏูอฺ

            .ขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น ในการจัดเตรียมปฐมบทของวุฎูอฺ 

            .ทำวุฏูอฺในสถานที่ขับถ่าย เช่น ในห้องน้ำ

            .ทำวุฏูอฺกับภาชนะที่เครือบทองคำหรือเงิน หรือมีลวดลายเป็นรูปภาพ

            .ทำวุฏูอฺ ด้วยน้ำดังต่อไปนี้

                        - น้ำร้อนจากความร้อนของแสงแดด

                        - น้ำที่ใช้ทำฆุซลฺวาญิบแล้ว

                        - น้ำที่มีกลิ่นเหม็น

                        - น้ำบ่อที่มีสัตว์ตกลงไปตาย และก่อนที่จะตักน้ำออกตามที่ได้กำหนดไว้

                        - น้ำที่มีงู แมลงป่อง และกบตกลงไปตาย

                        - น้ำที่เหลือจากการดื่มของหญิงรอบเดือน

                        - น้ำที่เหลือจากการกินของสัตว์บางชนิด เช่นหนู ม้า ลา ฬ่อ และสัตว์ที่กินนะยิซหรือซากศพเป็นอาหาร ทว่าสัตว์ที่เนื้อฮะรอมทุกประเภท[54]

ปัญหาปลีกย่อย

            ๑. การทำวุฏูอฺในห้องส้วมที่ท่อน้ำทิ้งได้ต่อติดกับส้วม ไม่เป็นไร[55]

            ๒.ขณะที่ทำวุฎูอฺมองผู้หญิง (หรือหญิงมองชาย) หรือพูดโกหก นินทา แม้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นบาป แต่วุฎูอฺถูกต้อง[56]

            ๓. บุคคลที่ตั้งใจทำวุฎูอฺเพื่ออ่านอัล-กุรอาน แต่หลังจากทำวุฎูอฺเสร็จได้เปลี่ยนใจ วุฎูอฺไม่บาฏิล[57]

            ๔. ถ้าทำวุฎูอฺโดยมีเนียตว่า ต้องการครองวุฎูอฺตลอดเวลา สามารถนะมาซกับวุฎูอฺนั้นได้ ถือว่าถูกต้อง[58]

            ๕.วุฎูอฺที่ถูกต้อง สามารถทำอมัลทั้งที่เป็นวาญิบและมุซตะฮับได้ หรืออมัลวาญิบหรือมุซตะฮับทุกประเภทที่มีความสะอาดเป็นเงื่อนไข[59]

            ๖. ทำวุฎูอฺก่อนเวลานะมาซโดยเนียตว่า เพื่อจะนะมาซ ไม่เป็นไร เช่น ก่อนนะมาซซุฮรฺได้ทำวุฎูอฺ โดยเนียตว่า ข้าฯทำวุฎูอฺเพื่อจะนะมาซซุฮรฺ[60]

 

[1] ตะรีรุลวะซีละฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑ ข้อที่ ๑

[2] ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑ ข้อที่ ๑ และ ๒

[3] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๔๓

[4] เล่มเดิม

[5]  เล่มเดิม ข้อที่ ๒๔

[6] เล่มเดิม ข้อที่ ๒๔๒

[7] อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๐๕ ข้อที่ ๑๔

[8]  อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๐๖ ข้อที่ ๑๖

[9] อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๗ ข้อที่ ๒๓, อิสติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๔

[10] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๔๙, ๒๕๐, ๒๕๑, ๒๕๗, ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๓ ข้อที่ ๑๔ อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี การเช็ดลงบนผมเทียมที่ไม่อาจถอดออกได้ ไม่เป็นไร อิสติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๕  คำถามที่ ๑๐๕, หน้ที่ ๔๑ คำถามที่ ๑๓๑

[11] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๕๒, ๒๕๓,, อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๐๙

[12] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๕๕

[13] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๕๗

[14] อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๒ ข้อที่ ๒๖

[15] เล่มเดิม

[16] เล่มเดิม ข้อที่ ๒๗

[17] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๖๐

[18] อัลอุรวะตุลวุวกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๒๕ ข้อที่ ๖, ๗, ๘, เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๖๗,๒๗๒

[19] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๗๑

[20] เล่มเดิม เงื่อนไขวุฏูอฺ เงื่อนไขที่ ๔

[21] เล่มเดิม หน้าที่ ๓๕ เงื่อนไขที่ ๖

[22] เล่มเกิม หน้าที่ ๓๗ เงื่อนไขที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๕๙

[23] อิสติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๖, ๓๗ คำถามที่ ๔๐-๔๕

[24] ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๘

[25] เล่มเดิม หน้าที่ ๒๘ ข้อที่ ๑๕, เตาฏีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๘๓

[26] อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๓๔

[27] เตาฏีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๘๖

[28] อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่๒๓๒, เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๗๗, ๖๗๒

[29] เตาฎีฮุลมะซาอิล หน้าที ๓๑ เงื่อนไขที่ ๘

[30] เล่มเดิม ข้อที่ ๒๘๒

[31] เล่มเดิม ข้อที่ ๒๘๐

[32] เตาฏีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๓๒๔, ๓๒๕

[33] เตาฏีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๓๓๕

[34] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๔๓

[35] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๓๐

[36] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๓๒

[37] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๓๔

[38] ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๒ ข้อที่ ๑

[39] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๒๙๘

[40] เล่มเดิม ข้อที่ ๒๙๐

[41] เล่มเดิม ข้อที่ ๒๙๕

[42] เล่มเดิม ข้อที่ ๒๙๗

[43] เล่มเดิม ข้อที่ ๒๙๙

[44] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๑๖

[45] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๑๗,๓๑๙

[46] อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๘๙ – ๑๙๑ ข้อที่ ๔-๙, อิสติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๗,๔๘, ๗๙,๘๔

[47] อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๘๙- ๑๙๑ ข้อที่ ๑๑-๑๗

[48] เล่มเดิม หน้าที่ ๑๙๐ ข้อที่ ๙

[49] อิสติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๗ คำถามที่ ๘๐

[50] เล่มเดิม หน้าที่ ๔๗, ๔๘ คำถามที่ ๘๑/๘๓

[51] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๓๒๒,

[52] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๓๒๓

[53] อัลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๙๘

[54] เล่มเดิม หน้าที่ ๒๐๐

[55] อิสติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที ๔๕ คำถามที่ ๖๙,๗๐

[56] เล่มเดิม คำถามที่ ๗๑,๗๒

[57] เล่มเดิม

[58] เล่มเดิม หน้าที่ ๔๖ คำถามที่ ๗๔,๗๘

[59] เล่มเดิม

[60] เล่มเดิม คำถามที่ ๗๖