Languages فارسی فارسى درى English اردو Azəri Bahasa Indonesia پښتو français ไทย Türkçe Hausa Kurdî Kiswahili Deutsche РУС Fulfulde Mandingue
Scroll down
การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ

ฆุซลฺ การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ

2016/06/30

ฆุซลฺ การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ

ฆุซลฺ การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ

           บางครั้งสำหรับนะมาซหรือทุกภาระหน้าที่ ๆ มีวุฎูอฺเป็นเงื่อนไข ต้องฆุซลฺแทน หมายถึงเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ฉันจึงทำการชำระล้างร่างกาย และลำดับต่อไปจะอธิบายถึงประเภทและวิธีการฆุซลฺ ซึ่งฆุซลฺวาญิบมีทั้งสิ้น ๖ ประเภทดังต่อไปนี้

ฆุซลฺวาญิบร่วมระหว่างชายกับหญิง

           .ฆุซลฺญินาบะฮฺ

           .ฆุซลฺมัยยิต (อาบน้ำคนตาย)

           .ฆุซุล มัซฮฺมัยยิต (สัมผัสคนตาย)

ฆุซลฺวาญิบสำหรับผู้หญิง

           .ฆุซุลหลังหมดประจำเดือน (ฮัยฏฺ)

           .ฆุซลฺอิสติฮาเฏาะฮฺ (ระดูเกินกำหนด)

           .ฆุซลฺนิฟาส (เลือดภายหลังการคลอดบุตร)

ฆุซลฺญินาบะฮฺ                     

ฆุซลฺญินาบะฮฺ หมายถึงการอาบน้ำชำระร่างกาย ภายหลังจากการร่วมหลับนอนกับภรรยา หรือการนอนหลับฝันจนอสุจิได้เคลื่อนออกมา หรืออีกนัยหนึ่งการ อาบน้ำตามศาสนบัญญัติภายหลังจากอสุจิได้เคลื่อนออกมา

๑. มนุษย์จะมีญูนุบได้อย่างไร

สิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดญูนุบกล่าวคือ

           ๑. การหลั่งของอสุจิ

           -ไม่ว่ามากหรือน้อย

           -หลับหรือตื่นก็ตาม (ฝัน หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง)

           ๒. ร่วมเพศ

-ไม่ว่าจะฮะลาล (อนุมัติ) กับภรรยาตนเอง หรือฮะรอม (ไม่อนุมัติ) เช่นผิดประเวณี

           -อสุจิจะเคลื่อนออกมาหรือไม่ก็ตาม[1]                                      

           .หากอสุจิได้เคลื่อน แต่ไม่ได้ออกมาข้างนอกไม่เป็นสาเหตุทำให้มีญูนุบ[2]

           .บุคคลที่แน่ใจว่าอสุจิได้เคลื่อนออกมา หรือรู้ว่าสิ่งที่เคลื่อนออกมานั้นเป็นอสุจิอย่างแน่นอน ถือว่ามีญูนุบ ต้องฆุซลฺญินาบะฮฺ[3]

           .บุคคลที่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เคลื่อนออกมาเป็นอสุจิหรือไม่ ถ้ามีสัญลักษณ์ของอสุจิถือว่ามีญูนุบ แต่ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ของอสุจิไม่ถือว่ามีญูนุบ [4]

           .สัญลักษณ์ที่บ่งว่าเป็นอสุจิ

           - ออกมาด้วยกับความใคร่ (ชะฮฺวัต)

           - ไหลพุ่งและอุ่น

           - หลังจากอสุจิเคลื่อนออกมาร่างกายจะอ่อนเพลีย

           ด้วยเหตุนี้ หากมีน้ำเคลื่อนออกมา โดยไม่รู้ว่าเป็นอสุจิหรือไม่ ถ้ามีลักษณะตามที่กล่าวมา ถือว่าเป็นญูนุบ ถ้าไม่เช่นนั้นจะไม่ถือว่าเป็นญูนุบ

           .เป็นมุซตะอับหลังจากอสุจิเคลื่อนออกมาให้ปัสสาวะ ถ้าไม่ปัสสาวะหลังจากฆุซลฺแล้วหากมีน้ำเคลื่อนออกมา โดยไม่รู้ว่าเป็นอสุจิหรือเป็นน้ำอย่างอื่น ถือว่าเป็นอสุจิ[5]  

ภารกิจที่ฮะรอมสำหรับผู้มีญูนุบ

           .สัมผัสอักษรอัล-กุรอาน พระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) และอิฮฺติยาฏวาญิบนามของบรรดาศาสดา (อ.)  บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) และนามของท่านหญิง ฟาติมะฮฺ (อ.)

           .เข้าไปในมัสญิดอัล-ฮะรอมและมัสญิดนบี (ซ็อลฯ) แม้จะว่าจะเดินผ่านจากประตูหนึ่งและไปออกอีกประตูหนึ่งก็ตาม

           .เข้าไปหยุดในมัสยิด แต่ถ้าเดินผ่านจากประตูหนึ่งและไปออกอีกประตูหนึ่ง ไม่เป็นไร[6]

           ๔.นำสิ่งของไปวางในมัสยิด หรือแม้แต่จะอยู่นอกมัสญิดก็ตาม

           ๕.เข้าไปหยุด ณ ฮะรัมของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ

           .อ่านอัล-กุรอานซูเราะฮฺซัจญ์ดะฮฺวาญิบ (จำเป็นต้องกราบเมื่อได้อ่าน)  

 ซูเราะฮฺซัจญ์ดะฮฺวาญิบประกอบด้วย

           .ซูเราะฮฺ ที่ ๓๒  (อัซ-ซะญะดะฮฺ) โองการที่ ๑๕

           .ซูเราะฮฺ ที่ ๔๑  (ฮามีมโองการที่ ๓๗

           .ซูเราะฮฺ ที่ ๕๓  (อัล-นัจมุ) โองการสุดท้าย

           .ซูเราะฮฺ ที่ ๙๖  (อัล-อะลักโองการสุดท้าย

การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ (ฆุซลฺ)

           ฆุซลฺ จำเป็นต้องชำระล้างให้ทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า บางครั้งฆุซลฺเป็นวาญิบ เช่น ฆุซลฺญินาบะฮฺ บางครั้งเป็นมุซตะฮับ เช่น ฆุซลฺญุมุอะฮฺ อีกนัยหนึ่งวิธีการฆุซลฺทั้งหมดเหมือนกัน ยกเว้นเนียต (เจตนา)

            การฆุซลฺตามหลักคำสอนของศาสนามี ๒ วิธีกล่าวคือ 

-ฆุซลฺไปตามขั้นตอน เรียกว่า ตัรตีบี

-ฆุซลฺแบบดำลงไปในน้ำครั้งเดียวเรียกว่า อิรติมาซียฺ

           . ฆุซลฺตัรติบี  หมายถึงการทำไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการสลับทำก่อนหน้าหลัง กล่าวคือ

           - ตั้งเจตนา (เนียต)

           -ล้าง ศีรษะและต้นคอ

           - ล้างซีกขวาของร่างกาย

           - ล้างซีกซ้ายของร่างกาย

           .ฆุซลฺอิรติมาซียฺ  หมายถึงเนียตฆุซลฺแล้วดำลงใต้น้ำเพียงครั้งเดียว โดยให้น้ำผ่านร่างกายทั้งหมด

หรือหลังจากเนียตฆุซลฺแล้วค่อย ๆ ดำไปใต้น้ำโดยให้ร่างกายทั้งหมดอยู่ใต้น้ำ

หรือดำไปใต้น้ำแล้ว จึงเนียตฆุซลฺหลังจากนั้นให้ขยับตัวเล็กน้อย

เงื่อนไขเกี่ยวกับฆุซลฺ

           .เงื่อนไขที่ถูกต้องทั้งหมดของวุฎูอฺ ถือเป็นเงื่อนไขที่ถูกต้องของฆุซลฺด้วย ยกเว้นความต่อเนื่อง และไม่จำเป็นต้องล้างจากข้างบนลงสู่ข้างล่าง[7]       

           .ถ้ามีฆุซลฺหลายประเภทเป็นวาญิบสำหรับตน สามารถเนียตหลายฆุซลฺและทำพร้อมในคราวเดียวกันได้

           .ผู้ที่ได้ฆุซลฺญินาบะฮฺแล้วไม่จำเป็นต้องทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซ แต่สำหรับฆุซลฺอื่น ๆ ไม่สามารถนะมาซได้[8]

           . การฆุซลฺอิรติมาซียฺ ร่างกายต้องสะอาด แต่ฆุซลฺตัรตีบียฺไม่จำเป็น ส่วนใดของร่างกายสกปรกก่อนฆุซลฺส่วนนั้นให้ทำความสะอาดก่อนถือว่าเพียงพอ[9]

           ๕.ฆุซลฺแบบมีบาดแผลให้ทำเหมือนกับวุฎูอฺที่มีบาดแผล แต่อิฮฺติยาฏวาญิบให้ทำแบบตัรตีบียฺ[10]

           .บุคคลที่ถือศีลอดวาญิบ ไม่สามารถทำฆุซลฺอิรติมาซียฺได้ เนื่องจากเงื่อนไขที่ถูกต้องประการหนึ่งของศีลอดคือ ต้องไม่ดำน้ำ แต่ถ้าลืมและได้ทำฆุซลฺอิรติมาซียฺ ถือว่าถูกต้อง[11]

           .การฆุซลฺ ไม่จำเป็นต้องลูบให้ทั่วตัว เพียงแค่เนียตฆุซลฺแล้วน้ำได้ไหลไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย ถือว่าเพียงพอ[12]

           .ขณะฆุซลฺญินาบะฮฺอยู่นั้น ถ้าได้ปัสสาวะหรือผายลมออกมาไม่เป็นสาเหตุทำให้ฆุซลฺเสีย แต่จำเป็นต้องทำวุฏูอฺเพื่อนะมาซ

           .การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง (อิสติมนาอฺ) เป็นฮะรอม ถ้าหากอสุจิได้เคลื่อนออกมาต้องฆุซลฺญินาบะฮฺด้วย[13]

           ๑๐. เป็นไปได้ที่ผู้หญิงอาจจะฝันเปียกเหมือนกับผู้ชาย ดังนั้น ถ้ามั่นใจว่ามีการหลั่งวาญิบต้องฆุซลฺญินาบะฮฺด้วย  แต่ถ้าไม่มั่นใจไม่มีสิ่งใดเป็นวาญิบสำหรับเธอ[14]

           ๑๑.หน้าที่ของบุคคลที่รู้ว่า มีบางส่วนของร่างกายน้ำไหลไปไม่ถึง หลังจากฆุซลฺเสร็จแล้ว      

           * ถ้าเป็นฆุซลฺอิรติมาซียฺ ต้องทำฆุซลฺใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะรู้บริเวณที่โดนน้ำ หรือไม่ก็ตาม

           * การเป็นฆุซลฺตัรตีบียฺมีอยู่ ๒ ลักษณะกล่าวคือ

           ๑.ไม่รู้ว่าอวัยวะส่วนใดที่น้ำไปไม่ถึง จำเป็นต้องฆุซลฺใหม่อีกครั้ง

            ๒. รู้ว่าอวัยวะส่วนใดที่น้ำไปไม่ถึง

           -ถ้าเป็นด้านซ้าย ให้ล้างส่วนนั้นใหม่ถือว่าเพียงพอ

-ถ้าเป็นด้านขวา ให้ล้างส่วนนั้นใหม่หลังจากนั้นให้ล้างด้านซ้ายอีกครั้ง

-ถ้าเป็นศีรษะและต้นคอ ให้ล้างส่วนนั้นหลังจากนั้นให้ล้างด้านขวา และด้านซ้ายตามลำดับ

           ๑๒. บางกรณีฆุซลฺบาฏิล (เสีย) เช่น

-ตั้งใจว่าจะไม่จ่ายค่าเช่าห้องอาบน้ำ แต่จะฆุซลฺในสถานที่นั้น แม้ว่าหลังจากฆุซลฺเจ้าของจะยินยอมก็ตาม

- ไม่รู้ว่าเจ้าของห้องอาบน้ำจะยินยอมหรือไม่ แต่ตั้งใจว่าจะผ่อนจ่ายค่าเช่าห้องอาบน้ำ แม้ว่าหลังจากฆุซลฺเจ้าของจะยินยอมก็ตาม

- ตั้งใจว่าจะเอาสตางค์ที่ฮะรอมหรือสตางค์ที่ยังไม่ได้จ่ายคมซฺ จ่ายให้เจ้าของห้องอาบน้ำ

ความสงสัยเกี่ยวกับฆุซุล

๑.หากสงสัยว่าได้ฆุซลฺแล้วหรือยัง ต้องฆุซลฺใหม่ และสำหรับนะมาซที่ผ่านมาแล้ว ถูกต้อง ส่วนนะมาซถัดไปต้องฆุซลฺใหม่อีกครั้ง

           ๒.กรณีที่สงสัยในความถูกต้องของฆุซลฺ (ไม่รู้ว่าทำถูกหรือไม่) มี ๒ ลักษณะดังนี้

๒.๑.หลังจากฆซลฺเสร็จแล้วได้สงสัย กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องใส่ใจต่อความสงสัย (ฆุซลฺถูกต้อง)

           ๒.๒.สงสัยระหว่างฆุซลฺ (ก่อนที่จะเสร็จ)

           ก. สงสัยการล้างบางส่วนทางด้านขวา

๑.ขณะนั้นกำลังล้างด้านซ้ายอยู่ ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับความสงสัยนั้น

.ยังไม่ได้ล้างด้านซ้าย ดังนั้น ให้ล้างส่วนที่สงสัยก่อน เมื่อเสร็จแล้วจึงล้างด้านซ้าย

           ข. สงสัยการล้างบางส่วนศีรษะและต้นคอ

๑.กำลังล้างด้านขวาอยู่ ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับความสงสัยนั้น ๒.ยังไม่ได้ล้างด้านขวา ดังนั้น ให้ล้างส่วนที่สงสัยก่อน เมื่อเสร็จแล้วจึงล้างด้านขวาและด้านซ้ายตามลำดับ

           ๓.สงสัยบางส่วนของร่างกายว่า เป็นบริเวณภายนอกหรือภายในของร่างกาย เช่นรูจมูก รูหู หรือขอบตาด้านใน ไม่จำเป็นต้องล้าง

           ๔. ระหว่งฆุซลฺสงสัยว่า มีสิ่งกีดขวางน้ำอยู่บนร่างกายหรือไม่ ถ้าเป็นความสงสัยที่สังคมยอมรับ จำเป็นต้องพิสูจน์เพื่อหาสิ่งนั้น แต่ถ้าไม่เช่นนั้น ไม่จำเป็นต้องค้นหา[15]

ฆุซุลมัซมัยยิต (สัมผัสผู้ตาย)

ฆุซุลมัซมัยยิต หมายถึงการสัมผัสคนตายขณะที่ร่างเย็นแล้ว และยังไม่ได้ฆุซลฺมัยยิตแก่เขา

           .ถ้าได้สัมผัสคนตายหลังจากร่างเย็นแล้ว แต่ยังมิได้ฆุซลฺมัยยิต เป็นวาญิบต้องฆุซลฺมัซมัยยิต  [16]

           .บางกรณีถ้าได้สัมผัสผู้ตาย แต่ไม่เป็นวาญิบต้องฆุซลฺมัซมัยยิต

           -ถ้าผู้ตายถูกสังหารในสมรภูมิรบและได้ชะฮีด

           -สัมผัสผู้ตายก่อนที่ร่างจะเย็น

           -สัมผัสผู้ตายหลังจากฆุซลฺมัยยิตครบ  ๓ น้ำแล้ว

           .ฆุซลฺมัซมัยยิตทำเหมือนกับฆุซลฺญินาบะฮฺ แต่ถ้าผู้ทำฆุซลฺมัซมัยยิตต้องการนะมาซต้องทำวุฎูอฺด้วย[17]

           .อนุญาตสำหรับผู้ที่ได้สัมผัสร่างมัยยิต ให้นั่งหรือยืนในมัสญิด อ่านอัล-กุรอานซูเราะฮฺซัจญ์ดะฮฺวาญิบ  แต่สำหรับนะมาซ และภารกิจที่มีความสะอาดเป็นเงื่อนไข จำเป็นต้องฆุซลฺ และทำวุฏูอฺ

ฆุซลฺมัยยิต (การอาบน้ำแก่คนตาย)

การอาบน้ำแก่คนตาย มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

           ๑.ทุกครั้งที่ผู้ศรัทธาคนหนึ่งได้สิ้นชีวิตาลง เป็นวาญิบ (กิฟายะฮฺ) สำหรับมุสลิมทุกคนต้องฆุซลฺ กะฟั่น และฝังร่างของผู้ตาย ฉะนั้น ถ้ามีใครสักคนได้ทำ หน้าที่นี้เป็นอันหมดไปจากมุสลิมคนอื่น[18]

           ๒.เป็นวาญิบต้องอาบน้ำให้แก่ผู้ตายครบ ๓ น้ำดังต่อไปนี้

           -น้ำใบพุทรา

           -น้ำพิมเสน

           -น้ำเปล่า[19]

           .ฆุซลฺมัยยิตเหมือนกับฆุซลฺญินาบะฮฺ อิฮฺติยาฏวาญิบ ถ้าสามารถทำฆุซลฺตัรตีบียฺ (ทำไปตามขั้นตอน) ได้ไม่อนุญาตให้ทำฆุซลฺอิรติมาซียฺ

ฆุซลฺเฉพาะสำหรับผู้หญิง

ฆุซลฺที่เฉพาะสำหรับผู้หญิงมีดังนี้

           .ระดู (ฮัยฏฺ) หมายถึงเลือดที่มาเป็นประจำทุกเดือน อย่างน้อย ๓ วันมากไม่เกิน ๑๐ วัน

           .นิฟาส หมายถึงโลหิตหลังการคลอดบุตร มีความเคยชินเท่ากับประจำเดือน

           .อิสติฮาเฏาะฮฺ    หมายถึงระดูเกินกำหนด มี ๓ ชนิด กล่าวคือ

           .๑ ชนิดมาก  หมายถึงเมื่อหญิงได้สอดสำลีเข้าไปทางช่องคลอดเพื่อพิสูจน์เลือด เลือดต้องชุ่มสำลีจนเปียกถึงอีกด้านหนึ่ง

.     ชนิดปานกลาง  หมายถึงเลือดแค่ชุ่มสำลี แต่ไม่เปียกไปถึงอีกด้านหนึ่ง

.๓  ชนิดน้อย  หมายถึงเลือดแค่เปื้อนสำลีเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับชุ่ม

           เงื่อนไขสำหรับหญิงที่มีอิสติฮาเฎาะฮฺ

            ๑. สำหรับอิสติฮาเฏาะฮฺชนิดมาก ต้องฆุซลฺ ๓ ครั้ง ครั้งแรกเพื่อนะมาซซุบฮฺ  ครั้งที่สองเพื่อนะมาซซุฮริและอัซริ (กรณีนะมาซรวมกัน) และครั้งที่สามเพื่อนะมาซมัฆริบและอีชา (กรณีนะมาซรวมกันแต่ถ้านะมาซแยก เช่นซุฮริเวลาหนึ่ง และอัซรฺอีกเวลหนึ่ง ฉะนั้นทุก ๆ เวลานะมาซต้องฆุซลฺด้วย

           ๒. อิสติฮาเฏาะฮฺชนิดปานกลาง ถ้าเห็นเลือดก่อนนะมาซซุบฮฺ ให้นางทำวุฏูอฺ หลังจากนั้นให้ฆุซลฺ แล้วจึงนะมาซซุฮรฺ   ส่วนะมาซอื่น ๆ ให้ทำวุฏูอฺเพียงอย่างเดียว ถ้าเห็นเลือดอิสติฮาเฏาะฮฺก่อนนะมาซซุฮรฺ  ให้นางทำวุฏูอฺและฆุซลฺสำหรับนะมาซซุฮรฺ ส่วนนะมาซอื่น ๆ ให้ทำวุฏูอฺเพียงอย่างเดียว และให้ทำอย่างนี้เสมอไป

           ๓. อิสติฮาเฏาะฮฺชนิดน้อย ไม่ต้องฆุซลฺ แค่ชำระล้างบริเวณดังกล่าวให้สะอาดและทำวุฎูอฺทุกครั้งก่อนที่จะนะมาซ

วิธีทำตะยัมมุม

           ขั้นตอนการทำตะยัมมุมมี ดังต่อไปนี้

           ๑.ตั้งเจตนา (เนียต)

           ๒.ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างตบพร้อมกันลงบนพื้นดิน หรือบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมถูกต้อง

           ๓.ใช้ฝ่ามือทั้งสองลูบหน้าผากจากไรผมขึ้นมาบนโหนกคิ้วลงไปจนถึงปลายจมูก

           ๔.ใช้มือซ้ายลูบหลังมือขวา จากข้อมือจนถึงปลายนิ้ว

๕.ใช้มือขวาลูบหลังมือซ้าย ทำเหมือกัน*

*อายะตุลลอฮฺอะลีตอเมเนอี อิฮฺติยาฏวาญิบ หลังจากทำเสร็จแล้วให้ตบฝ่ามือทั้งสองลงบนฝุ่นดินอีกครั้ง แล้วให้เอามือซ้ายลูหลังมือขวา และเอามือขวาลูบหลังมือซ้าย การทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺหรือฆุซลฺเหมือนกัน (มุนตะคับอิสติฟตาอาต คำถามที่ ๑๙)

ทุกขั้นตอนการทำตะยัมมุมต้องมีเจตนาเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ และต้องรู้ว่าทำแทนวุฎูอฺหรือฆุซลฺ 

สิ่งที่อนุญาตให้ทำตะยัมมุมได้  มีดังนี้

           ๑.ฝุ่นดิน

           ๒.ทราย

           ๓.หินชนิดต่างๆ  เช่น หินดำ หินอ่อน อิฐก่อนการเผา หินปูนและอื่น ๆ

อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี ถูกต้องถ้าตะยัมมุมบนปูนขาวที่เผาแล้ว หรืออิฐมอญ และอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (มุนตะคับอิสติฟตาอาต คำถามที่ ๑๗)

           ๔.ดินเผา เช่น อิฐ

เงื่อนไขการทำตะยัมมุม

           ๑.การตะยัมมุมแทนการวุฏูอฺ หรือฆุซลฺไม่ได้มีความแตกต่างกัน เว้นแต่เรื่องการตั้งเจตนา (เนียต) เท่านั้น 

           ๒.บุคคลที่ทำตะยัมมุมแทนวุฏูอฺ ถ้าสิ่งใดที่ทำให้วุฏูอฺเสียได้เกิดกับเขา ตะยัมมุมของเขาจะเสียไปด้วย

           ๓.บุคคลที่ทำตะยัมมุมแทนฆุซลฺ ถ้าสิ่งที่เป็นเหตุให้ต้องฆุซลฺ เช่น การมีญูนุบ หรือการสัมผัสคนคายได้เกิดขึ้น ตะยัมมุมของเขาจะเสียไปด้วย

           ๔.ตะยัมมุมจะถูกต้องต่อเมื่อ ไม่สามารถทำวุฏูอฺหรือฆุซลฺได้ ดังนั้น ถ้าไม่มีอุปสรรคได้ทำตะยัมมุม ถือว่าไม่ถูกต้อง หรือมีอุปสรรคแต่ต่อมาอุปสรรคได้หมดไป เช่นไม่มีน้ำ และได้พบน้ำในเวลาต่อมา ตะยัมมุมเสีย

           ๕.ถ้าทำตะยัมมุมแทนฆุซลฺญินาบะฮฺ ไม่จำเป็นต้องทำวุฏูอฺเพื่อนะมาซ  แต่ถ้าทำตะยัมมุมแทนฆุซุลอื่น ๆ  ไม่สามารถนะมาซได้ถ้าต้องการนะมาซต้องทำวุฎูอฺด้วย แต่ถ้าไม่สามารถทำวุฎูอฺได้ให้ทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺแล้วจึงนะมาซ

           ๖.ถ้าทำตะยัมมุมแทนฆุซลฺ หลังจากนั้นสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺเสียได้เกิดกับเขา และสำหรับนะมาซเวลาถัดมาไม่สามารถฆุซลฺได้ ดังนั้น ให้ทำวุฎูอฺ ถ้าไม่สามารถทำวุฎูอฺได้ให้ทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ

เงื่อนไขที่ถูกต้องของตะยัมมุม

           ๑.ส่วนที่ใช้ทำตะยัมมุมต้องสะอาด หมายถึงหน้าผากและฝ่ามือทั้งสอง

           อายะตุลลอฮฺคอเมเนอี อิฮฺติยาฏ หน้าผากและหลังมือต้องสะอาด ถ้าไม่สามารถทำความสะอาดอวัยวะส่วนที่จะทำตะยัมมุมให้ทำตะยัมมุมไปเช่นนั้น แม้ว่าความสะอาดจะไม่ใช่เงื่อนไขก็ตาม

           ๒.หน้าผากและหลังมือทั้งสองจำเป็นต้องลูบจากด้านบนลงล่าง

           ๓.สิ่งที่จะทำตะยัมมุมลงบนนั้นต้องสะอาด และได้รับอนุญาต

           ๔.ต้องทำไปตามขั้นตอน

           ๕.ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

           ๖.ต้องไม่มีสิ่งใดทำให้เกิดช่วงเวลาระหว่างมือกับหน้าผาก และระหว่างมือกับหลังมือขณะทีลูบ

  [1] ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๖

[2] เล่มเดิม หน้าที่ ๓๖ ข้อที่ ๑

[3] เล่มเดิม หน้าที่ ๑๓๖, อ้ลอุรวะตุลวุซกอ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๗๘

[4] เล่มเดิม

[5] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๓๔๘

[6] ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๘-๓๙

[7] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๓๘๐

[8] เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๓๙๑

[9] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๗๒

[10] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๓๙

[11] เล่มเดิม ข้อที่ ๓๗๑

[12] อิซติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๕๖ คำถามที่ ๑๑๗

[13] อิซติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๕๑ คำถามที่ ๙๔-๙๕

[14] เล่มเดิม หน้าที่ ๕๐ คำถามที่ ๙๐-๙๑

[15] เตาฏีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๓๖๖, ๓๗๕, ๓๗๘, ๓๘๕, ๓๘๘

[16] เตาฏีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๕๒๑

[17] เล่มเดิม ข้อที่ ๕๓๐

[18] เล่มเดิม ข้อที่ ๕๔๒

[19] เล่มเดิม ข้อที่ ๕๕๐